บทความพิเศษ (หน้า 2) : มือถือไทย ... อดีต ปัจจุบัน
กับพัฒนาการสู่อนาคต โดย อ.ไพโรจน์ ไววานิชกิจ
- รายละเอียดเนื้อหาโดยหัวข้อ :
- สภาวะการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
- การเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทย
- เส้นทางสู่ยุค 3G ของเครือข่าย 2G ทั่วโลก
- Mobile Data : คลื่นร้อนของธุรกิจสื่อสารไร้สาย
(ต่อหน้า 2)
- EDGE ทางออกสำหรับการก้าวสู่ยุค 3G
- แนวทางการให้บริการเทคโนโลยี EDGE
- วิเคราะห์อนาคตเทคโนโลยี EDGE ในประเทศไทย
Mobile Data : คลื่นร้อนของธุรกิจสื่อสารไร้สาย
|
ของธุรกิจ Mobile Data เริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่การประกาศตัวเทคโนโลยี
WAP ในช่วงปี พ.ศ. 2543 การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชั่น
(Application) ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกระแสนิยมในการใช้เครื่อง |
ลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ WAP ท่องโลกอินเตอร์เน็ต หรือติดต่อดำเนินธุรกรรมหลากหลายชนิด
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นการเชื่อมโยงโลกสื่อสารโทรคมนาคมที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องซับซ้อนและเป็นเทคโนโลยีปิดเฉพาะกลุ่มคนหรือองค์กร
เข้ากับโลกของบรรดานักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกลุ่มเว็บมาสเตอร์
(WEB Master) ซึ่งส่วนใหญ่มีประสบการณ์ค่อนข้างมากในการผลักดันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้เกิดความสำเร็จทางธุรกิจจนถึงทุกวันนี้
การเปิดกว้างในเรื่องของข้อกำหนดและการออกแบบโปรแกรมกับบรรดานักพัฒนาซอฟท์แวร์เหล่านี้
ก่อให้เกิดความพร้อมระดับหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งความพร้อมดังกล่าวจะได้รับการขยับขึ้นเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่
GPRS และ 3G ในอนาคตอันใกล้
รูปที่ 4 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของห่วงโซ่ธุรกิจสำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำเป็นต้องคำนึงถึงการสร้างห่วงโซ่ในการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสม
สำหรับเตรียมพร้อมเปิดให้บริการ Mobile Internet การสร้างผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างสื่อข้อมูลจะช่วยทำให้เกิดสภาวะ
Win-Win-Win หรือความลงตัวในการประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ
ผู้เขียนไม่เชื่อว่าลำพังบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่เพียงผู้เดียวจะสามารถสร้างความหลากหลายจนถึงขั้นประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
Mobile Internet ได้ในเวลาอันสั้น เนื่องจากความชำนาญของบริษัทเหล่านี้นั้นเป็นเพียงผู้สร้างและให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
เห็นได้จากรูปแบบการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีรายได้จากการใช้วงจรสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการสนทนาของลูกค้าผู้ใช้บริการของตน
ความพยายามในการสรรหาบริการเสริมต่าง ๆ (Value Added Service) ที่พบเห็นในปัจจุบันนั้นก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่บ่อยขึ้น
ในขณะที่เราต้องยอมรับความจริงว่าอัตราค่าบริการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
ไม่ว่าจะเป็นค่าบริการรายเดือนหรือค่าใช้โทรศัพท์นั้นมีแต่จะลดลงเรื่อย
ๆ ตามสภาวะการแข่งขันทางการตลาด ถึงวันหนึ่งบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ย่อมต้องประสบกับปัญหารายได้รวมที่ลดลงอย่างแน่นอน
เนื่องจากขีดความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต
ซึ่งเริ่มต้นจากเทคโนโลยี GPRS ทำให้การสื่อสารไร้สายสามารถรองรับรูปแบบในการบริโภคชนิดใหม่
ๆ ได้ การผนึกกำลังระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายกับบริษัทหรือองค์กรต่าง
ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเนื้อหาข้อมูลแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น
กีฬา ดนตรี ข่าว รายการภาพยนตร์ รวมไปถึงสื่อข้อมูลเฉพาะด้านเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น
ทั้งนี้เพื่อสร้างความหลากหลายในการนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริโภค อันจะส่งผลกลับไปให้เกิดมูลค่าในการบริโภคข่าวสารข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น
เป็นการทดแทนรายได้ที่ลดลงจากการเปิดให้บริการเฉพาะสื่อสารทางเสียงแต่เพียงอย่างเดียว
ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ บรรดาบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อาจจะต้องกำหนดบทบาทของตนเองให้เป็นเสมือนกับสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์
ซึ่งจะมีรายได้ทั้งจากการใช้เครือข่ายของผู้ใช้บริการ รวมถึงรายได้พิเศษที่เป็นส่วนแบ่งจากการบริโภคสื่อข้อมูลประเภทต่าง
ๆ การจัดสรรส่วนแบ่งเหล่านี้ก็คงจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลแต่ละราย
อย่างไรก็ตามรายได้จากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารโดยใช้เสียงพูด
หรือการสนทนาแบบเห็นหน้ากันนั้น ก็ยังคงถือเป็นรายได้สำคัญที่เป็นของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่เพียงผู้เดียว
ของบรรดายักษ์ใหญ่ในแวดวงข่าวสารข้อมูลและการบันเทิงทั่วโลกต่อธุรกิจ
Mobile Internet ในปัจจุบัน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความคึกคักของธุรกิจผลิตข่าวสารข้อมูลในปี
พ.ศ. 2545 ได้เป็นอย่างดี การให้ความสนใจของผู้นำตลาดซอฟท์แวร์และการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นค่ายไมโครซอฟท์ ไปจนถึงค่ายเน็ตสเคป (Netscape) ล้วนเป็นการเริ่มต้นจุดกระแสการดำเนินการทางการตลาดผู้บริโภคเกี่ยวกับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียไร้สาย
เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ที่มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจะเริ่มทะยอยเข้าสู่ท้องตลาดมากขึ้นเรื่อย
ๆ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 การสนับสนุนของรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิตซอฟท์แวร์และการพัฒนาเว็บไซด์สำหรับธุรกิจ
Mobile Internet นั้นเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้นี้
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือการปรับเปลี่ยนบทบาทของบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่
ซึ่งคาดกันว่าหลังจากเสร็จสิ้นการสร้างเครือข่าย 3G แล้ว ปริมาณความต้องการอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารไร้สาย
รวมถึงโครงข่ายสื่อสัญญาณความเร็วสูง (High Speed Transmission Backbone)
ของตลาดสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลกจะลดลง ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมจะเริ่มเปลี่ยนเส้นทางไปรวมตัวกับธุรกิจอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย
ๆ ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเริ่มมีปัจจัยบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นนับตั้งแต่การออกแบบเทคโนโลยี
GPRS ให้สามารถใช้เครือข่าย GSM ได้โดยไม่ต้องการการลงทุนติดตั้งเครือข่ายสถานีฐานขึ้นใหม่
งบประมาณในการลงทุนติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ ๆ เริ่มลดลง
ยิ่งไปกว่านั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายก็สนใจแต่เพียงการเปิดให้บริการ
Mobile Internet โดยใช้เฉพาะเทคโนโลยี GPRS เท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า
3G เป็นการลงทุนที่สูงเกินไป และไม่เชื่อว่าตลาดผู้บริโภคจะให้ความสนใจอย่างจริงจังกับเทคโนโลยี
3G สถานภาพทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารจึงก้าวเข้าสู่ภาวะที่เสี่ยงมากขึ้น
การลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลายโครงการถูกชะลอ บางโครงการถึงกับถูกยกเลิก
การกระโดดเข้าสู่ธุรกิจ Mobile Internet โดยเป็นผู้ผลิตแอปพลิเคชั่น
และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าสนใจในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์
(Electronics Commerce) เป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์บางรายกำลังพิจารณาอยู่
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวกลับสร้างคำถามให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทผู้ผลิตเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญ
และมีประสบการณ์เพียงใด เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในภาพโดยรวม ผู้อ่านจะเห็นว่าธุรกิจ Mobile Internet
ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มเติม (Value Added Application) ให้กับการสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ
GPRS และ 3G ย่อมเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกในปัจจุบัน
การทดลองเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ถือเป็นการทดสอบคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญในวงการสื่อสารโทรคมนาคม เกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยี
Mobile Data ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนยังคงมีข้อสงสัยอยู่บ้างว่า
พฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปมีความแตกต่างจากผู้บริโภคในประเทศอื่น
ๆ ในแง่ของกระแสความคลั่งไคล้เชิงแฟชั่น ดังจะเห็นได้จากผลสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
I-Mode ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งแม้จะสร้างความมหัศจรรย์ในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วสูงกว่าเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใด
ๆ ในโลก แต่ถึงวันนี้ทั่วโลกก็ยังไม่อาจทราบได้ว่าจะสามารถถ่ายโอนสูตรแห่งความสำเร็จของเครือข่าย
I-Mode ไปให้กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดในโลก โดยให้ได้ผลสำเร็จที่เทียบเคียงกับในประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่
อย่างไรก็ตามเนื่องจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงความพยายามอย่างมากในการสร้างเครือข่าย
3G ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบในประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้สำหรับการทดสอบตลาดผู้บริโภค
ไม่ว่าผลลัพธ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้จะออกมาในรูปแบบใด
ก็คาดกันว่าน่าจะนำมาใช้เป็นแม่แบบสำหรับการผลักดันเทคโนโลยีเครือข่าย
3G ให้กับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้พอสมควร
กลับขึ้นด้านบน - TOP
EDGE ทางออกสำหรับการก้าวสู่ยุค 3G
หรือ
Enhanced Data rate for GSM/GPRS Evolution เป็นข้อกำหนดทางเทคนิค
ที่ได้รับการออกแบบและกำหนดขึ้นโดยหน่วยงาน ETSI (European Telecommunications
Standard Institute) ซึ่งเป็นผู้สร้างมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM และ GPRS โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM/GPRS ให้รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้นเทียบเท่ากับมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่
UMTS แบบ W-CDMA แต่ใช้งบประมาณในการลงทุนที่ต่ำ ที่สำคัญก็คือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM ทั่วโลก ไม่ว่าจะใช้ความถี่ 900, 1800 หรือ 1900 เมกกะเฮิตรซ์
ต่างก็สามารถพัฒนาเครือข่ายของตนให้รองรับเทคโนโลยี EDGE ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความถี่ในย่าน
3G แต่อย่างใด ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียให้กับเครือข่าย
GSM/GPRS โดยใช้เวลาอันสั้น และด้วยงบประมาณที่ต่ำมาก
รูปที่ 5 เป็นการเปรียบเทียบขีดความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
ตามแนวทางการพัฒนาของมาตรฐาน GSM จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก
GPRS ซึ่งรองรับการสื่อสารข้อมูลได้สูงสุดเท่ากับ 171.2 กิโลบิตต่อวินาที
ให้กลายเป็นเครือข่าย EDGE จะสามารถเพิ่มอัตราเร็วในการสื่อสารได้สูงถึง
384 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราเร็วที่เท่ากับมาตรฐาน UMTS แบบ
W-CDMA ในทางปฏิบัติอัตราเร็วที่ผู้ใช้บริการแต่ละรายจะสามารถใช้ในการรับส่งข้อมูลได้นั้น
ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าตัวแปรและการวางแผนเครือข่ายของบริษัทผู้ให้บริการเป็นสำคัญ
ผู้เขียนจะกล่าวถึงรายละเอียดทางเทคนิคอื่น ๆ ที่สำคัญเป็นลำดับถัดไป
รูปที่ 5 การเปรียบเทียบอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล
จะเห็นว่า EDGE มีความสามารถที่เทียบเท่ากับ
ระบบ W-CDMA ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐาน UMTS แต่ใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่ามาก
พิจารณาในแง่ของผลประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พึงได้รับจากเทคโนโลยี
EDGE ก็คือความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมชนิดต่าง
ๆ ดังแสดงใน รูปที่ 6 แล้วก็จะพบว่าทั้งเครือข่าย
EDGE, UMTS แบบ W-CDMA หรือแม้กระทั่ง cdma2000 ซึ่งต่างมีขีดความสามารถในการรองรับการสื่อสารข้อมูลที่เทียบเท่ากัน
จะสามารถตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้ใกล้เคียงกัน จากรูปจะเห็นว่าผู้ใช้บริการสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มาตรฐาน
3G ดาวน์โหลดข้อมูลที่เป็น Video Clip ได้ในเวลาเพียงสิบกว่าวินาทีเท่านั้น
ในขณะที่ต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวผ่านเครือข่าย GPRS
นานถึง 2-3 นาที ยิ่งกว่านั้นในกรณีของการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเครือข่าย
GSM ซึ่งรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุดเพียง 9.6
กิโลบิตต่อวินาที อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารแบบสวิทช์วงจร ก็จะต้องใช้เวลานานถึงเกือบ
1 ชั่วโมง ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
EDGE สามารถใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถของเครือข่ายในการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง เช่น การรับส่งสัญญาณวิดีโอ
ฯลฯ ไปจนถึงการแบ่งสรรทรัพยากรช่องสื่อสารอัตราเร็วสูงดังกล่าวให้กับผู้ใช้บริการหลาย
ๆ รายได้ใช้งานร่วมกัน โดยผู้ใช้บริการแต่ละรายอาจไม่ต้องการความเร็วในการสื่อสารข้อมูลมากนัก
ซึ่งอาจเป็นการรับส่งอีเมล, การเข้าชมเว็บไซด์ หรือการรับส่งไฟล์รูปภาพต่าง
ๆ ฯลฯ
รูปที่ 6 เปรียบเทียบประสิทธิผลในการให้บริการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายชนิดต่าง
ๆ จะเห็นว่า
ทั้งมาตรฐาน W-CDMA, EDGE และ cdma2000 มีความสามารถที่เท่าเทียมกัน
กลับขึ้นด้านบน - TOP
แนวทางการให้บริการเทคโนโลยี EDGE
ในการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM ให้มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูง มีความชัดเจน
และมีความเป็นไปได้ในแง่การลงทุนมากขึ้น แนวคิดในการวางแผนการตลาด
เพื่อประชาสัมพันธ์และจูงใจผู้ใช้บริการ ให้หันมานิยมการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น
ก็มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รูปที่ 7 เป็นตัวอย่างแนวคิดในการเปิดให้บริการแบบ
Non-voice รูปแบบต่าง ๆ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลำดับขั้นตอนของการพัฒนาเครือข่าย
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปที่ 7 การเปิดให้บริการรูปแบบใหม่
ๆ ที่สัมพันธ์กับขีดความสามารถของเครือข่ายในแต่ละขั้นตอน
- เครือข่าย GPRS : สามารถเปิดให้บริการรับส่งอีเมล,
การอ่านและเขียนฐานข้อมูล ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานภายในกลุ่มพนักงานขององค์กรต่าง
ๆ และยังสามารถรองรับการทำธุรกรรมและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ
ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- เครือข่าย EDGE : ด้วยอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น
ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงสามารถให้บริการรายงานข่าว, การรับส่งไฟล์รูปภาพและเสียงเพลง,
พาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีสีสันมากขึ้น ไปจนถึงการเปิดให้บริการสนทนาโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากัน
(Video Telephony)
- เครือข่าย UMTS : สามารถให้บริการต่าง
ๆ ตามที่กล่าวถึงข้างต้น และยังสามารถเพิ่มบริการประชุมแบบเห็นหน้ากันได้อีก
สิ่งที่กลายเป็นประเด็นสำคัญ ต่อการผลักดันเทคโนโลยี EDGE ให้เป็นทางเลือกในการให้บริการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ประเด็นหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือความพร้อมของเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
EDGE ซึ่งคาดกันว่าภายในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 นี้ จะมีเครื่องลูกข่าย
GSM/GPRS/EDGE แบบ Triple Band ที่รองรับความถี่ 850, 1800 และ 1900
เมกกะเฮิตรซ์ออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากในท้องตลาด สาเหตุที่ต้องเป็นความถี่
850 เมกกะเฮิตรซ์ก็เพราะสหรัฐอเมริกา ซึ่งวางเครือข่าย GSM ในช่วงความถี่ดังกล่าว
จะเป็นตลาดหลักตลาดแรกของเครื่องลูกข่ายประเภทนี้ สำหรับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM/GPRS/EDGE แบบ Triple Band ที่ใช้งานกับความถี่ 900, 1800 และ
1900 เมกกะเฮิตรซ์ จะมีการวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากในท้องตลาด ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
และเป็นที่แน่นอนว่าเครื่องลูกข่ายแบบ
Triple Band ในลักษณะนี้ก็จะกลายเป็นมาตรฐานหลักภายในท้องตลาด แทนที่โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ
Dual Band ที่มีการวางจำหน่ายในปัจจุบัน สรุปว่าปัญหาในเรื่องความพร้อมของเครื่องลูกข่ายย่อมจะหมดไปก่อนสิ้นปี
พ.ศ. 2546 นี้อย่างแน่นอน
รูปที่ 8 การทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย
UMTS และเครือข่าย GSM/GPRS/EDGE
ประเด็นต่อไปซึ่งแม้จะไม่มีความสลักสำคัญต่อการพิจารณามากนัก แต่ก็มีบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM/GPRS หลายรายให้ความกังวลสงสัยอยู่ นั่นคือข้อสงสัยที่ว่าหากบรรดาบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายตัดสินใจพัฒนาเครือข่ายของตนให้รองรับเทคโนโลยี
EDGE แล้ว เมื่อมีโอกาสที่จะก้าวไปสู่เครือข่าย UMTS ในอนาคต การลงทุนพัฒนาเครือข่าย
EDGE ซึ่งกระทำไปก่อนหน้านี้จะมีปัญหาต่อการให้บริการ UMTS หรือไม่
และจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการรายเดิมมากน้อยเพียงใด คำตอบในเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยรูปที่
8 ซึ่งเป็นการแสดงมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย EDGE กับ
UMTS โดยสิ่งที่เป็นข้อกำหนดตายตัวก็คือ เครือข่ายหลัก หรือ Core
Network ซึ่งประกอบไปด้วยชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับอุปกรณ์ SGSN
และ GGSN นั้นสามารถได้รับการพัฒนาให้รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้งกับเครือข่ายสถานีฐาน
GSM/GPRS/EDGE และเครือข่าย UTRAN ในกรณีของมาตรฐาน UMTS ดังนั้นเผู้ให้บริการเครือข่ายจึงมีการลงทุนสร้างเฉพาะเครือข่าย
UTRAN ขึ้นใหม่เท่านั้น โดยอุปกรณ์เครือข่ายหลักจะสามารถให้รองรับผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นกลุ่ม
GSM และกลุ่ม UMTS ได้โดยไม่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน
เมื่อพิจารณาถึงเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์ในอนาคต ที่มีแนวโน้มจะเป็นเครื่องแบบ
Dual Mode ซึ่งรองรับการติดต่อสื่อสารทั้งเครือข่าย W-CDMA กับ GSM/GPRS/EDGE
ก็จะกลายเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ให้บริการเครือข่าย ทั้งนี้เนื่องจากตามข้อกำหนดมาตรฐานของหน่วยงาน
3GPP (3rd Generation Partnership Program) ซึ่งเป็นผู้วางข้อกำหนดโทรศัพท์เคลื่อนที่
UMTS กำหนดไว้ว่าเครือข่าย UTRAN จะต้องสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย
GERAN (GPRS/EDGE Radio Access Network) เพื่อให้มีบริการใช้งานข้ามเครือข่ายโดยอัตโนมัติ
(Automatic Network Roaming) ระหว่างเครือข่าย UMTS กับ เครือข่าย
GSM/GPRS/EDGE ได้ หากเครื่องลูกข่ายนั้น ๆ มีความสามารถในการทำงานแบบ
Dual Mode ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
สิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวมาจนถึงจุดนี้ คงจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของเทคโนโลยี
EDGE และแนวทางในการพัฒนาเครือข่าย GSM/GPRS เข้าสู่ยุค 3G ได้อย่างชัดเจนขึ้น
ในปัจจุบัน EDGE กลายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก
ในฐานะของตัวแทนในการนำพาเครือข่าย 2G และ 2.5G เข้าสู่ยุค 3G พร้อม
ๆ กับการสร้างข้อเสนอที่น่าสนใจซึ่งยากจะปฏิเสธ ให้กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM ทั่วโลก สำหรับการเปิดโลกการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ร่วมกับเทคโนโลยี Mobile Data Business ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
WAP (Wireless Application Protocol), Video Streaming, Payment,
J2ME (Java 2nd Micro Edition) ฯลฯ โดยบริษัทผู้ให้บริการมีต้นทุนในการพัฒนาเครือข่ายต่ำมาก
ในขณะที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเครื่องลูกข่ายซึ่งน่าจะความหลากหลายและราคาไม่แพงมาก
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการสร้างรายได้ประเภท Non-voice
ให้กับบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อทดแทน
ARPU ของการให้บริการสื่อสารทางเสียงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
กลับขึ้นด้านบน - TOP
วิเคราะห์อนาคตเทคโนโลยี EDGE ในประเทศไทย
ผู้เขียนขอปิดท้ายบทความเรื่องนี้ ด้วยการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตระกูล
GSM ในประเทศไทย กับทิศทางในการพัฒนาเครือข่ายเข้าสู่เทคโนโลยี EDGE
โดยในปัจจุบัน บริการแบบ Non-voice ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการ
ก็คือการดาวน์โหลดเสียงเพลงเรียกเข้า (Ringtone) และการส่งรูปภาพหากันระหว่างผู้ใช้บริการ
(Picture Messaging) รองลงมาคือการส่งรูปภาพที่เป็น Screen Saver
และการดาวน์โหลดโลโก้หน้าจอ ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงการส่งข้อความ SMS
ทั่ว ๆ ไปหากัน ข้อมูลเหล่านี้ทำให้สามารถคาดคะเนได้ว่า การพัฒนาบริการและแอปพลิเคชั่นต่าง
ๆ สำหรับผลักดันให้ธุรกิจการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-voice เติบโตขึ้น
น่าจะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมด้านความบันเทิง (Entertainment) และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสังคม
(Community) เป็นสำคัญ
ผู้ให้บริการระบบเครือข่าย |
เทคโนโลยี |
ความถี่ 3G |
การพัฒนาเครือข่ายสู่ GPRS
และ EDGE |
แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส
- AIS |
GSM900
GSM1800 |
ความถี่ 900 และ 1800 MHz ต้องประมูลความถี่
3G |
มีเครือข่าย GPRS ในกรุงเทพและจังหวัดสำคัญ
สามารถเข้าสู่ยุค EDGE ได้ทันที |
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส
คอมมูนิชั่น
- DTAC |
GSM1800 |
มีเฉพาะความถี่ 1800 MHz ต้องประมูลความถี่
3G |
มีเครือข่าย GPRS ในกรุงเทพและจังหวัดสำคัญ
สามารถเข้าสู่ยุค EDGE ได้ทันที |
ทีเอ-ออเรนจ์
- ORANGE |
GSM1800 |
มีเฉพาะความถี่ 1800 MHz ต้องประมูลความถี่
3G |
มีเครือข่าย GPRS ในกรุงเทพและจังหวัดสำคัญ
สามารถเข้าสู่ยุค EDGE ได้ทันที |
กิจการร่วมค้าไทยโมบาย
- THAI MOBILE |
GSM1900 |
ได้รับสิทธิ์อยู่แล้ว สร้างเครือข่าย
UMTS แบบ W-CDMA ได้ทันที |
มีเฉพาะ GSM แต่สามารถเข้าสู่ยุค
EDGE ได้ทันที
โดยลงทุนสร้างเครือข่ายหลักของ GPRS เพิ่มเท่านั้น |
ตารางที่ 1 สถานภาพของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM แต่ละรายในประเทศไทย
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้อ่านก็ย่อมจะมองเห็นแนวทางในการตัดสินใจพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
GSM ของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ซึ่งพฤติกรรมของผู้ใช้บริการก็ไม่น่าจะแตกต่างจากในกรณีของ
AIS มากนัก ให้รองรับเทคโนโลยี EDGE แม้จะเป็นการเสี่ยงลงทุนโดยไม่ยังไม่มั่นใจในผลตอบรับของผู้ใช้บริการนัก
แต่ก็เป็นการเสี่ยงที่มีต้นทุนต่ำมาก จึงน่าจะเป็นไปได้มากว่าภายในปี
พ.ศ. 2546 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย คงจะได้รับทราบการประชาสัมพันธ์ของบรรดาผู้ให้บริการรายต่าง
ๆ เกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่ยุคของ EDGE มากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพของผู้ประกอบการแต่ละรายในประเทศไทย
ดังแสดงในตารางที่ 1 ร่วมกับนโยบายการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุของภาครัฐ
ซึ่งยังคงไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ในปัจจุบัน ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นว่า
บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละรายน่าจะให้ความสนใจกับการพัฒนาเครือข่ายไปสู่เทคโนโลยี
EDGE แทนที่จะรอคอยเวลาประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2,000 เมกกะเฮิตรซ์
สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ UMTS
จากกรณีของกิจการร่วมค้าไทยโมบาย
ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุทั้งย่าน
1900 เมกกะเฮิตรซ์และ 2000 เมกกะเฮิตรซ์บางช่วง ตั้งแต่ พ.ศ. 2543
ปัจจุบันเปิดให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM 1900 เมกกะเฮิตรซ์
และมีการวางแผนขยายเครือข่ายเพื่อให้รองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น
ถือเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่มีความได้เปรียบ ในแง่ของการมีทางเลือกสำหรับก้าวสู่ยุค
3G ได้ทั้งการเข้าสู่เทคโนโลยี EDGE ก่อนเช่นเดียวกับคู่แข่งขันรายอื่น
ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในเรื่องของบริการและแอปพลิเคชั่นต่าง
ๆ จวบจนเมื่อมีความพร้อมทั้งในแง่ของฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ และความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ
Mobile Data Business ดีพอแล้ว ก็จะสามารถขยับตัวไปสู่เทคโนโลยี
UMTS แบบ W-CDMA โดยใช้สิทธิ์ในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุตามที่ได้รับมอบมาอย่างเหมาะสม
หรือมิฉะนั้นกิจการร่วมค้าไทยโมบายก็สามารถก้าวไปสู่การให้บริการเครือข่าย
UMTS โดยตรง ทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและการวางแผนทางกลยุทธ์ของไทยโมบายเป็นสำคัญ
ผู้เขียนขอฝากมุมมองต่อภาพของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยไว้แต่เพียงเท่านี้
พบกันใหม่ในโอกาสหน้าีครับ...
ไพโรจน์ ไววานิชกิจ
wpairoj@chula.com
ร่วมแสดงความเห็น มือถือไทย ... อดีต
ปัจจุบัน กับพัฒนาการสู่อนาคต
กลับหน้า 1 สภาวะการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
|