หน้าหลัก รีวิวมือถือ - รีวิวโทรศัพท์
Samsung F480 ออกแบบมาให้ใช้งานผ่านปลายนิ้วสัมผัส จึงมีจอแสดงผลขนาดกว้างเป็นพิเศษ ตัวเครื่องขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีความบางเพียง 11.5 มิลลิเมตร ทำให้พกพา และถือใช้งานได้อย่างสะดวก รองรับเครือข่าย UMTS และ GSM Triband เสียงเรียกเข้า MP ด้านหน้า - แผงหน้าปัดสีดำ พื้นผิวสะท้อนเงา ส่วนบนมีลำโพงสำหรับสนทนาและใช้งานเป็นลำโพงเสียงในตัว ติดกันเป็นเลนส์กล้องหน้า สำหรับ Video Call ถัดลงมาเป็นพื้นที่ของจอแสดงผล ระบบสัมผัส วัดความกว้างได้ 7 เซนติเมตร ส่วนล่างมีปุ่มกดให้ใช้งาน 3 ปุ่ม คือ ปุ่มวางสาย, ปุ่มทางลัด (เครื่องเล่นเพลง, ข้อความ, เมนูหลัก, อินเตอร์เน็ต, โทรออก) และ ปุ่มวางสาย
ด้านหลัง - สว่างสดในด้วยสีบรอนซ์เงินแบบโลหะ มีสีดำแซมเล็กน้อยที่ส่วนล้างของฝาหลัง มุมบนติดเลนส์กล้อง ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช ถัดลงมาเป็นพื้นที่ของฝาหลัง ถอดออกโดยการกและเลื่อนลงด้านล้าง
เมื่อถอดฝาหลังออกแล้ว จะเห็นช่องใส่ซิมการ์ดอยู่เหนือช่องวางแบตเตอรี่ ด้านซ้ายของตัวเครื่อง - มีช่องเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่/ชุดหูฟัง/สายเคเบิ้ลเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ในช่องเดียวกัน และมีปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายภาพ ด้านขวาของตัวเครื่อง - มีปุ่มปรับระดับเสียง (เพิ่ม/ลด) ซึ่งใช้ควบคุมทิศทาง บน/ล่างได้ด้วย ถัดลงมาเป็นช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ microSD
ด้านบน - ด้านบนมีปุ่ม HOLD ติดอยู่ตรงส่วนมุม ใช้กดเพื่อ ล็อค/ปลดล็อค การใช้งานจอแสดงผล ด้านล่าง - มีรูไมโครโฟนสำหรับสนทนา หรือบันทึกเสียง หน้าจอสแตนด์บาย หรือโหมดพร้อมใช้งาน แสดงภาพพื้นหลังได้อย่างเต็มตา เพราะไม่มีอะไรมาบดบังรูปภาพ ด้านบนจะแสดงสัญลักษณ์รูปภาพไอคอนต่างๆ ที่บ่งบอกถึงการใช้งานโทรศัพท์ ด้านล่างที่เป็นแถบสีเทานั้น คือปุ่มทางลัดกดใช้งานได้ 3 ฟังก์ชั่น คือ Dial สำหรับเปิดปุ่มกดตัวเลข เพื่อโทรออก, Phonebook เปิดดูรายชื่อในสมุดโทรศัพท์ และ Menu เข้าสู่เมนูหลัก
ที่โหมดพร้อมใช้งานด้านซ้ายมือ จะเห็นปุ่มลูกศรสีขาว ชี้มาทางขวามือ เมื่อลองใช้นิ้วสัมผัสดู จะพบว่ามีแถบเลื่อนออกมา เรียกแถบนี้ว่า Widget โดยในแถบ Widget จะประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ แบ่งออกเป็น ฟังก์ชั่นเริ่มต้นที่ไม่สามารถลบออกจาก Widget ได้ ประกอบไปด้วย ชื่อเครือข่าย, กล่องแจ้งเตือน, เครื่องเล่นเพลง, วิทยุ FM และ รูปแบบหรือโปรไฟล์ สำหรับฟังก์ชั่นที่สามารถเลือกมาใส่หรือลบออกจาก Widget ได้ตามต้องการประกอบไปด้วย นาฬิกาอะนาล็อก, นาฬิกาดิจิตอล, นาฬิกาคู่สำหรับเทียบกับเวลาต่างประเทศ, ปฏิทิน, อัลบั้มรูปภาพ, เกมส์ และ ครบรอบวันเกิด สามารถเข้าไปเลือกใช้ฟังก์ชั่นได้ที่เมนู Settings > Display and light settings > Displaysettings > Widget
การใช้งานฟังก์ชั่นใน Widget ทำได้ง่ายมากเพียงใช้นิ้วจิ้มที่รูปไอคอนฟังก์ชั่นที่ต้องการแล้วลากออกมาตรงกลางจอแสดงผล จะเห็นว่ารูปไอคอนที่ลากออกมาจะขยายใหญ่ พร้อมใช้งานทันที ยกเว้นฟังก์ชั่นเกมส์ ที่ต้องกดเข้าไปในเมนูหลักอีกครั้งหนึ่ง ไม่สามารถเล่นบนหน้าจอสแตนด์บายได้โดยตรง การเปลี่ยนภาพพื้นหลังหรือดูอัลบั้มรูปภาพ เพียงลากฟังก์ชั่นอัลบั้มรูปภาพออกมาจากแถบ Widget ก็สามารถกดเลื่อนดูรูปภาพได้ทันที โดยใต้รูปภาพจะมีปุ่มรูปแฟ้มเอกสาร สามารถกดเพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บรูปภาพ ถ้าต้องการใช้รูปภาพเป็นวอลล์เปเปอร์หรือภาพพื้นหลังก็ให้กดที่ปุ่มมุมล่างขวา
การล็อคจอแสดงผล ด้วยพื้นที่หน้าจอขนาดใหญ่ ผู้ใช้อาจเกรงว่าจะสัมผัสหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจ Samsung F480 จึงมีปุ่มล็อคหน้าจอมาให้ ติดไว้ที่ด้านบนเครื่อง คือปุ่ม HOLD นั่นเอง ทุกครั้งที่กดล็อคจอแสดงผล ภาพพื้นหลังจะเปลี่ยนเป็นรูปอื่น แต่เมื่อปลดล็อคหน้าจอ ก็จะกลับมาเป็นภาพพื้นหลังเดิม
การโทรออก โดยการใช้ปุ่มตัวเลข ให้กดปุ่ม แล้วจะพบกับแผงปุ่มกดตัวเลขขึ้นมาบนหน้าจอ ให้กดเบอร์โทร แล้วกดปุ่มโทรออกได้ทันที หรือเมื่อกดเบอร์โทรเสร็จแล้ว จะเลือกโทรออกแบบเห็นหน้า ก็ให้กด Option และเลือกเมนู Video Call
เข้าสู่เมนูหลัก ได้โดยการกดที่ปุ่ม Menu มุมล่างขวาของหน้าจอ ในเมนูหลัก จะแสดงผลด้วยภาพไอคอน วางห่างกันพอสมควร เพื่อให้ใช้นิ้วสัมผัสได้อย่างสะดวก และจะเห็นว่าด้านล่างยังคงมีแทบสีเทาอยู่ พร้อมปุ่มใช้งาน 3 ปุ่มเช่นเดียวกับโหมดสแตนด์บาย เพียงแต่ปุ่มมุมล่างขวามือ ได้เปลี่ยนเป็นปุ่ม Widget สำหรับกดเปลี่ยนกลับมาที่หน้าจอสแตนด์บาย
Call log - เมนูบันทึกรายการโทร แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ รายการโทรทั้งหมด, สายที่ไม่ได้รับ, สายที่โทรออก และ สายที่ได้รับ เมื่อกดเข้าไปดูในแต่ละรายชื่อ หรือ เบอร์โทรในรายการ จะแสดงวันที่ และ เวลา ตอนใช้สาย ถัดลงมาแสดงเวลาที่สนทนา ค่าโทร (ถ้าตั้งค่าไว้) ด้านล่างยังมีปุ่มให้ใช้งานส่งข้อความ หรือลบรายการได้ทันที นอกจากนี้ถ้ากดปุ่ม Option ก็จะพบเมนูย่อยขึ้นมา ให้เลือกโทรออกในรูปแบบ Video Call, คัดลอกเบอร์ไปไว้บนหน้าจอโทรออก และ จัดเก็บรายชื่อไว้ใน Reject list (สายที่ไม่ต้องการรับ) Phonebook - เมนูสมุดโทรศัพท์ เมื่อเปิดเข้ามาจะพบรายชื่อที่บันทึกไว้ ในการเลื่อนดูรายชื่อที่อยู่ด้านล่าง หรือ ด้านบน สามารถใช้ปลายนิ้วสัมผัสที่หน้าจอ แล้ว ค่อยๆ ลาก ขึ้น หรือ ลง หรือจะใช้ปุ่มปรับระดับเสียงกดแทนก็ได้ ตามสะดวก เหนือรายชื่อจะมีช่องสำหรับค้นหารายชื่อ เมื่อใช้นิ้วจิ้มไปในกล่องสำหรับกรอกข้อความ หน้าจอจะเข้าสู่แผงปุ่มกดตัวเลข พร้อมตัวอักษร
การเพิ่มรายชื่อไว้ในตัวเครื่อง สามารถใส่ข้อมูลได้ หลายรายการ ดังนี้ ชื่อ, นามสกุล, ชื่อที่ต้องการให้แสดงในสมุดโทรศัพท์, เบอร์มือถือ, เบอร์บ้าน, อีเมล, กลุ่มผู้โทร, รูปภาพผู้โทร, เสียงเรียกเข้า และ บันทึกเพิ่มเติม หากต้องการกรอกข้อมูลนอกจากนี้ ให้กด Option จะพบเมนูเพิ่มรายละเอียดขึ้นมา ซึ่งจะสามารถป้อนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ เช่น ที่ทำงาน, สายวีดีโอ, เบอร์แฟกซ์, ที่อยู่, วันคล้ายวันเกิด เป็นต้น
Music Player - เครื่องเล่นเพลง สามารถเปิดฟังได้ทันที เพราะมีอยู่ใน Widget แต่ถ้าเข้ามาเปิดทางเมนูหลัก ก็จะพบกับรายการค้นหาเพลงล่าสุด, รายชื่อเพลงทั้งหมด, รายชื่อเพลงที่เคยเปิดเล่นล่าสุด, รายการเพลงที่บันทึกไว้, เพลงที่นิยมฟัง, ค้นหาตามชื่อศิลปิน, ค้นหาตามแนวเพลง, ค้นหาตามอัลบั้ม, ค้นหาตามชื่อผู้แต่ง และ เปิดฟังพอดแคสต์
เมื่อเลือกเพลงได้แล้ว จึงจะเข้าสู่เครื่องเล่นเพลง โดยหน้าตาโปรแกรม จะแสดงหน้าปกอัลบั้ม, ชื่อเพลง, รายละเอียดของเพลง, สัญลักษณ์รูปดาว 5 ดวง สำหรับกดเพื่อจัดอันดับเพลงยอดนิยม จะมีผลในเมนู Most played, ปุ่มปรับอีควอไลเซอร์, ปุ่มสุ่มรายชื่อเพลง, ปุ่มวนซ้ำ, แถบเวลา, ปุ่มปรับความดัง, ปุ่มย้อนกลับเพลงที่แล้ว, ปุ่มเล่น/หยุด และ ปุ่มเล่นเพลงถัดไป
จุดเด่นในเครื่องเล่นเพลงของ Samsung F480 สามารถสร้างรายการเพลง, ส่งเพลงออกไปในรูปแบบ ข้อความ/อีเมล/บลูทูธ, ฟังเพลงต่อเนื่องขณะออกจากโปรแกรม, ปรับเสียงอีควอไลเซอร์ได้ แบบ คือ Normal, Rock, Pop, Dance, Classic, Jazz, Wide, Dynamic และ Surround Browser - เมื่อเข้าสู่เบราเซอร์จะพบเมนู Home - เข้าสู่เว็บหลักที่ตั้งค่าไว้, Enter URL - เปิดชื่อเว็บไซต์ โดยการกรอกที่อยู่เว็บ พร้อมทั้งกำหนดเป็นบุ๊คมาร์คได้, Bookmarks - สร้างบุ๊คมาร์คเพื่อบันทึกที่อยู่เว็บ, Saved pages - เว็บไซต์ที่บันทึกหน้าเว็บเพจไว้ เปิดดูภายหลังออฟไลน์, History - รายชื่อเว็บไซต์ ที่เคยเปิดเข้าไปชม, Settings - เมนูการตั้งค่า ลบ Cache / Cookies, ตั้งค่าเบราเซอร์ และ จุดเชื่อมต่อ
Messages - ฟังก์ชั่นข้อความ ประกอบไปด้วยเมนู สร้างข้อความ, กล้องรับข้อความ, กล่องรับอีเมล, ข้อความที่ยังไม่ได้ส่ง, กล่องเก็บข้อความที่ส่งออก, กล่องเก็บข้อความที่ส่งออกไปแล้ว, โฟลเดอร์ส่วนตัว, ตัวอย่างข้อความ MMS/SMS สามารถสร้างเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า โดยเฉพาะข้อความซ้ำๆ ที่ส่งเป็นประจำ, ลบข้อความในโฟลเดอร์ต่างๆ, ตั้งค่าข้อความ, ข้อความฉุกเฉิน และ สถานะหน่วยความจำข้อความ
การสร้างข้อความ SMS กับ MMS จะอยู่ในหมวดเดียวกัน หากพิมพ์แต่ข้อความ ก็จะส่งออกไปในรูปแบบ SMS แต่ถ้าแทรกรูปภาพ/เสียง/วีดีโอ ก็จะส่งออกไปในรูปแบบ MMS การพิมพ์ข้อความ จะมีหน้าจอแสดงแผงแป้นพิมพ์ขึ้นมาให้ สำหรับกรอกข้อความ สามารถส่งข้อความแบบกลุ่ม หรือ ส่งออกพร้อมกันหลายเบอร์โทร สำหรับการสร้างอีเมล จะเพิ่มช่องกรอกหัวข้อจดหมายขึ้นมา สามารถแนบไฟล์, นามบัตร, นัดหมาย, วันครบรอบ, รูปภาพ, วีดีโอ และ เสียง ไปพร้อมกับอีเมล และสามารถส่งอีเมลพร้อมกันหลายเบอร์โทร หรือ ส่งออกไปยังกลุ่มผู้โทรที่สร้างไว้ในสมุดรายชื่อ My files - ฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลในหน่วยความจำเครื่อง และ การ์ดหน่วยความจำ MicroSD โดยแบ่งแยกตามโฟลเดอร์ที่สร้างไว้ หรือตัวเครื่องกำหนดไว้ให้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเปิดไฟล์ต่างๆ ที่บันทึกไว้ได้ทันที เช่น รูปภาพ, เพลง, วีดีโอ, ไฟล์เอกสาร เป็นต้น นอกจากเปิดไฟล์ขึ้นมาแล้ว ยังสามารถเรียกใช้งานได้โดยตรง คือ เมื่อเปิดชมรูปภาพ ก็สามารถตั้งค่าให้เป็นภาพพื้นหลัง หรือภาพในรายชื่อได้ เข้าไปที่โฟลเดอร์เพลง เลือกรายชื่อเพลงที่ต้องการ แล้วกำหนดเป็นเสียงเรียกเข้าหรือตั้งปลุกได้ทันที หรือถ้าเข้าไปในโฟลเดอร์วีดีโอ เลือกรายชื่อวีดีโอที่ต้องการ และ กดตัวเลือก จะพบว่า สามารถอัพโหลดวีดีโอเข้าสู่เว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตได้ แน่นอนผู้ใช้สามารถรับชมวีดีโอได้จาก My files ซึ่งรองรับไฟล์ 3GP และ MPEG4 แสดงวีดีโอในแนวนอน
Calendar - เมนูปฏิทิน เมื่อเข้ามาจะพบการแสดงผลแบบรายเดือน ที่ส่วนบนสามารถกดไปที่ลูกศรด้านข้าง เพื่อเลื่อนดูเดือนที่แล้ว หรือ เดือนถัดไปได้ทันที ส่วนล่างมี Options กดเข้าไปเปลี่ยนมุมมองปฏิทินแบบรายวันหรือรายสัปดาห์ได้ แต่ละวันที่สามารถกดเข้าไปเพื่อดูข้อมูลที่บันทึกไว้ หรือสร้างรายการบันทึกใหม่ โดยการกด Options จะพบการสร้างนัดหมาย, วันครบรอบ, วันหยุด, วันสำคัญ และ ส่วนตัว (สามารถกำหนดการปลุกเตือนได้) ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ปฏิทินเริ่มต้นที่วันจันทร์หรือวันอาทิตย์ กำหนดการแสดงผลเริ่มต้น แบบรายเดือน / รายสัปดาห์ / รายวัน
Camera - เมนูการถ่ายภาพ นอกจากเข้าทางเมนูหลักแล้ว สามารถกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ 2 วินาที ก็เข้าสู่โหมดถ่ายภาพได้เช่นกัน ผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพได้อย่างมืออาชีพ ผ่านกล้องดิจิตอล ความละเอียดสูง 5 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช และโหมดการถ่ายภาพอย่างกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค ในโหมดภ่ายภาพสามารถตั้งค่ากล้อง โดยใช้นิ้วสัมผัส ไปตามไอคอนตรงขอบล่างและของด้านข้างของหน้าจอ สำหรับไอคอน Mode ใช้เลือกโหมดบันทึกภาพนิ่ง / วีดีโอ / โหมดฉาก ซึ่งมีให้เลือก 6 โหมด คือ Portrait, Sports, Sunset, Dawn, Beach/Snow และ Night shot ไอคอน Settings สำหรับการตั้งค่ากล้อง ไอคอน Album สำหรับเปิดดูรูปภ่พหรือวีดีโอที่บันทึกแล้ว ไอคอน Back สำหรับกลับหรือออกจากโหมดถ่ายภาพ ที่ด้านข้างจะมีไอคอนปรับค่าชดเชยแสง และ ไอคอนสำหรับซูมภาพ คุณสมบัติในโหมดถ่ายภาพนิ่ง (Camera)
คุณสมบัติในโหมดบันทึกวีดีโอ (Camcorder)
Bluetooth - เมนูเปิดใช้งานบลูทูธ ตั้งค่าการเชื่อมต่อ ค้นหาสัญญาณ จับคู่อุปกรณ์อื่น เปลี่ยนชื่อเรียกโทรศัพท์ เปิด/ปิดระบบป้องกัน และ ปิดการใช้งานบลูทูธ
Applications - รวมโปรแกรมหรือฟังก์ชั่น เกมส์, วิทยุ FM, จดบันทึก, บันทึกงาน, เครื่องบันทึกเสียง, นาฬิกาโลก, เครื่องคิดเลข, ตัวแปลงหน่วย (แปลงสกุลเงิน/ความกว้าง/น้ำหนัก/ปริมาตร/พื้นที่/อุณหภูมิ), นาฬิกาจับเวลา, นาฬิกาหยุดเวลา, อ่านข่าว RSS, บันทึกเสียงแล้วค้นหาเพลงออนไลน์ และ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ
Alarms - นาฬิกาปลุก ตั้งปลุกได้ 5 รายการ สามารถตั้งชื่อรายการปลุกได้ ใช้เพลง MP3 มาเป็นเสียงปลุก เลือกรูปแบบการตั้งปลุกได้ 6 แบบ คือ เสียงอย่างเดียว, เสียงเพลงค่อยๆ ดังขึ้น, สั่นเท่านั้น , สั่นก่อนเสียง , สั่นพร้อมเสียง และ สั่นพร้อมเสียงเพลงค่อยๆ ดังขึ้น กำหนดให้ปลุกทุกวัน เฉพาะวันเดียว และเลือกวันที่ต้องการปลุกได้ เปิดใช้งาน Snooze หรือ เลื่อนการปลุก 1 นาที, 3 นาที , 5 นาที , 7 นาที และ 10 นาที และตั้งปลุกซ้ำได้สูงสุด 10 ครั้ง
Settings - เมนูตั้งค่ารูปแบบหรือโปรไฟล์, เวลาและวันที่, จอแสดงผลและแสงสว่าง, ตั้งค่าโทรศัพท์, ตั้งค่าการโทร, ระบบป้องกันหรือความปลอดภัย, ตั้งค่าแอพพลิเคชั่น, ตั้งค่าเครือข่าย, ตั้งค่าหน่วยความจำ และ เรียกคืนการตั้งค่าเดิมจากโรงงาน
ถ้าต้องการตั้งเสียงเรียกเข้า ให้เข้าไปที่เมนูตั้งค่ารูปแบบหรือโปรไฟล์ (Phone profiles) มีรูปแบบให้เลือกใช้ ตามความเหมาะสมของสถานที่ โดยแต่ละรูปแบบสามารถกดตัวเลือกเพื่อเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าได้ ในการตั้งค่าแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ตั้งค่าเสียงเรียกเข้า, ตั้งค่าเสียงเตือนข้อความ และ ตั้งค่าเสียงโทรศัพท์
การตั้งค่าเสียงเรียกเข้า สามารถกำหนดประเภทการเตือนได้ 7 แบบ คือ เสียงอย่างเดียว, ค่อยๆ ดังขึ้น, สั่นเท่านั้น, สั่นก่อนเสียง, สั่นพร้อมเสียง, สั่นพร้อมเสียงค่อยๆ ดังขึ้น และ ปิดเสียง สามารถเลือกเพลง MP3 มาใช้เป็นริงโทนได้ทั้งสายสนทนาปกติ หรือ สายวิดีโอ ตั้งความแรงในการสั่นได้ 5 ระดับ ปรับความดังได้ 7 ระดับ และ กำหนดให้รับสายอัตโนมัติได้ การตั้งค่าเสียงเตือนข้อความ สามารถกำหนดประเภทการเตือนได้ 4 แบบ คือ เสียงอย่างเดียว, สั่นเท่านั้น, สั่นพร้อมเสียง และ ปิดเสียง เลือกเพลง MP3 มาใช้เป็นเสียงเตือนได้ และ ปรับความดังได้ 7 ระดับ การตั้งค่าเสียงโทรศัพท์ สามารถเลือกเสียงกดปุ่มได้ 2 เสียง เลือกรูปแบบเสียงเปิด/ปิดเครื่องได้ 4 แบบ เสียงอย่างเดียว, สั่นเท่านั้น, สั่นพร้อมเสียง และ ปิดเสียง ปรับความดังได้ 7 ระดับ
ข้อมูลผู้ใช้ ร่วมแสดงความเห็นกับ Samsung F480 แคตตาล็อกตัวเครื่อง : https://www.siamphone.com/catalog/samsung/f480.htm Review on 27 June 2008 |
Siamphone Dot Com : Mobilephone Catalog Online (Thailand) © Copyright 2001-2008, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 [ ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว ] หมายเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7100703000240 Website & Phone Review : webmaster @ siamphone.com , Magazine : supreecha @ mobilemag.in.th For Information & Sponsor Ads : information @ siamphone.com |