องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 28 มกราคม 2563

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

การแชร์ข้อความบนโลกออนไลน์ ทั้งที่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐ และการให้ข้อมูลต่างๆ ล้วนทำได้ง่าย และแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว จนบางครั้งขาดการพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเป็นความจริงหรือความเท็จ ซึ่งการโพสต์หรือแชร์ข้อมูลเหล่าอันเป็นเท็จเหล่านี้ ล้วนมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และอาจทำให้คุณ "เสี่ยงติดคุก" ได้โดยไม่รู้ตัว

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
 
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
 
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
 
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได

 
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
 
หรือหมายความว่า คนที่แชร์ข้อมูลแล้วจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ ต้องมีองค์ประกอบการกระทำความผิด 2 อย่าง คือ

  1. เป็นการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
  2. รู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หมายความว่า รู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ แต่ก็ยังจะแชร์

ดังนั้น ในการดำเนินการเอาผิดคนที่แชร์ข้อความตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงต้องพิสูจน์ "เจตนา" ของผู้กระทำความผิดให้ได้นั่นเอง

สำหรับโทษของผู้กระทำผิดในลักษณะดังกล่าว ที่ส่งผลต่อประชาชนส่วนใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยอมความไม่ได้ แต่หากการกระทำดังกล่าวส่งผลต่อบุคคลใดบุลคลหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการหมิ่นประมาท กรณีนี้ถือว่าไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นความผิดฐาน ”หมิ่นประมาท” หรือ “หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 แทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณีนี้สามารถยอมความกันได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นี้แล้ว ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่สุ่มเสี่ยงจะนำพาตนเองไปสู่การกระทำผิด ก่อนโพสต์หรือแชร์ข้อมูลใดๆ ลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ควรวิเคราะห์ และพิจารณาให้ดีก่อนว่าข้อมูลนั้นๆ มีแหล่งข่าวมาจากที่ใด จริงเท็จแค่ไหน สร้างความเสียหายหรือความตื่นตระหนกกับคนจำนวนมากรึเปล่า จะได้ไม่เสี่ยงติดคุกโดยไม่รู้ตัว

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่