เทคโนโลยี (Technology)  |   วันที่ : 27 กรกฎาคม 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

NOSTRA Logistics ชี้จำนวนผู้ใช้ระบบจีพีเอส ที่เชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับกรมการขนส่งทางบก เพิ่มสูงขึ้น เผยข้อมูลสถิติเดือนมิถุนายน 2562 มีรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนส่งที่จดทะเบียนติดตั้งจีพีเอสแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 374,476 คัน และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 168 รายต่อวัน ส่งผลให้มีจำนวน Big Data ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่สำคัญเป็นจำนวนมหาศาล แต่กลับไม่มีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ แนะธุรกิจขนส่งยุคดิจิทัลให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ Data Analytics Platform เพื่ออุดช่องว่างรวบรวมฐานข้อมูลที่กระจัดกระจายให้อยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน ช่วยตั้งโจทย์ทางธุรกิจและลำดับความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก ตามหา Data Insight เพื่อไขกุญแจความสำเร็จให้ธุรกิจ

นางสาวปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อโซลูชัน นอสตร้า โลจิสติกส์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติเดือนมิถุนายนปี 2562 ของกรมการขนส่งทางบก มีรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนส่งที่จดทะเบียนติดตั้งจีพีเอสแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 374,476 คัน นับตั้งแต่กรมการขนส่งทางบกมีมาตรการบังคับใช้เมื่อปี 2559 และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 168 รายต่อวัน ส่งผลให้มีจำนวน Big Data ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่สำคัญจำนวนมหาศาล แต่กลับไม่มีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ แนะธุรกิจขนส่งยุคดิจิทัลให้ความสำคัญกับ Data Analytics Platform ที่ใช้จัดการข้อมูลการขนส่งให้พร้อมสำหรับการทำ Big Data Analytics เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงและตอบโจทย์ทางธุรกิจ ด้วย Data Insight ข้อมูลสำคัญที่องค์กรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

“จากการให้บริการลูกค้า เราเห็นแนวโน้มปัญหาของการจัดการฐานข้อมูลระบบ GPS ในหน่วยงานต่างๆ ด้วยสาเหตุที่มีผู้ให้บริการระบบ GPS ที่หลากหลายในตลาด ส่งผลให้ลูกค้าบางองค์กรมีรถที่ใช้ระบบ GPS จากผู้ให้บริการหลายราย ทำให้ประเภทของข้อมูลและระบบที่ใช้ภายในองค์กรแตกต่างกัน การนำมารวมเพื่อใช้งานไม่สามารถทำได้หรือมีความยุ่งยากมาก ไม่มีการจัดระบบและรวบรวมให้เป็นฐานข้อมูลที่นำมาใช้งานร่วมกันได้ หรือแม้แต่ลูกค้าบางองค์กรมีระบบงานขนส่งอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลร่วมกัน แต่ไม่มีการเชื่อมต่อระบบ ก็ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบ GPS ได้ Data Analytics Platform จึงเป็นตัวช่วยอุดช่องว่าง ด้วยการรวบรวมฐานข้อมูลที่กระจัดกระจายให้อยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน ช่วยลำดับความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลตามต้องการ เพื่อสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ หาข้อมูลเชิงลึก หรือ Data Insight นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือใช้ประกอบการตัดสินใจให้สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ” นางสาวปิยวดีกล่าว

ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้พัฒนาบริการ NOSTRA Logistics Data Analytics Platform ให้เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้จัดการข้อมูลสำหรับธุรกิจขนส่ง ตั้งแต่การนำเข้าข้อมูลจากอุปกรณ์และเซนเซอร์หลากหลายแหล่งที่มา จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและตัวแปรต่าง ๆ ออกมาเป็นข้อมูล Data Insight ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกจากงานขนส่งภายในธุรกิจ ที่สำคัญคือสามารถพิจารณาผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายได้ภายในแพลตฟอร์มเดียวกัน ผ่าน Dashboard ช่วยแก้ปัญหาการจัดการฐานข้อมูลภายในองค์กร และพร้อมสำหรับการทำ Big Data Analytics ที่ช่วยค้นหาข้อมูลเชิงลึกจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาและแนวโน้มที่เป็นไปได้จากการเรียนรู้ข้อมูลในอดีต จึงนำไปใช้ในการบริหารและจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้มากกว่าข้อมูลการติดตามรถโดยทั่วไป

นางสาวปิยวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำ Data Insight องค์กรต้องเริ่มจากโจทย์หรือปัญหาทางธุรกิจเป็นพื้นฐานในการเก็บข้อมูล เพราะ Big Data ได้จากข้อมูลเก่าหรือ Historical Data สามารถสรุปข้อมูลในอดีตเพื่อใช้คาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง Data Analytics Platform จะช่วยจัดเก็บข้อมูลตามลำดับความสำคัญและตอบโจทย์ปัญหาทางธุรกิจขนส่ง เช่น ข้อมูลจากการติดตามรถ พิกัด ระยะทาง ระยะเวลา พฤติกรรมการขับขี่และข้อมูลที่มาจากเซ็นเซอร์และอุปกรณ์เทเลเมติกส์ นำมาประกอบเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม การแจ้งเตือน รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ธุรกิจ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานขนส่งและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้

“จากตัวอย่างข้อมูลที่เกิดจากการทำ Data Analytics และ Data Insight ของระบบ NOSTRA Logistics เช่น Shipment Report & Dashboard ที่สรุปจำนวนรายการ Shipment และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดส่งในแต่ละรอบการวิ่งงานผ่านกราฟ พร้อมระบุสาเหตุหากการจัดส่งล่าช้า เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารจัดการและวางแผนปรับปรุงการจัดส่งให้ดีขึ้น หรือ Driver Performance Analytics Report ที่วิเคราะห์ข้อมูลการขับรถของพนักงานหลังจบทริปขนส่ง เพื่อให้ผู้จัดการงานขนส่งมีข้อมูลในการวางแผนและปรับปรุงการทำงานของพนักงานขับรถ และสามารถพูดคุยแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นขึ้น ตลอดจนรายงานอื่น ๆ ที่ช่วยประเมินการทำงานและการแจ้งเตือน เช่น Alert & Safety Report ทำให้รู้ตำแหน่งรถขนส่งและพฤติกรรมการขับรถ อีกทั้งการวิเคราะห์และแจ้งเตือนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น” นางสาวปิยวดี กล่าว

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีการขนส่งและโลจิสติกส์กำลังอยู่ในระหว่างการก้าวผ่านยุค Big Data และ Internet of Thing (IoT) ผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่คือการปรับเปลี่ยนธุรกิจโดยนำกลยุทธ์ดิจิทัลซึ่งตอบโจทย์ทางธุรกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างคุณค่าหรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล การใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้จริงไม่ใช่เพียงเรื่องของการจัดทำฐานข้อมูล แต่เป็นการสร้างโอกาสให้เข้าใจธุรกิจตนเองได้ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการได้ดีขึ้นด้วย การทำ Data Analytics ที่สามารถวิเคราะห์ผลได้แม่นยำและถูกต้อง โดยการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบบน Data Analytics Platform ช่วยให้เกิด Data Insight ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพหรือแก้ปัญหาการทำงานในธุรกิจขนส่งได้จริง นางสาวปิยวดีกล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่