หมวดอื่นๆ (Other)  |   วันที่ : 6 มิถุนายน 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

Twitter นับเป็นแพลตฟอร์มซึ่งขับเคลื่อนโดยผู้ใช้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันหลายแบรนด์ต่างสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมทวิตเตอร์เพิ่มมากขึ้น ล่าสุด ทวิตเตอร์ได้ประกาศ 10 อันดับแบรนด์ชั้นนำ ในไทยเป็นครั้งแรก โดยวัดจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกปี 2562 (ระหว่าง 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2562) แบรนด์ที่ติดอันดับนั้นมีทั้งกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โทรคมนาคม และธนาคาร

ทวิตเตอร์ช่วยแบรนด์ต่างๆในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้แบบเรียลไทม์ และยังรับรู้ถึงกระแสตอบรับของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และบริการ ทั้งนี้แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกรู้ดีว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ตาม อีกทั้งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนสังคม บทสนทนาและเป็นผู้กำหนดเทรนด์

10 อันดับแบรนด์ชั้นนำบนทวิตเตอร์ไทย (ไตรมาสแรก ปี 2562)

1. AIS (@AIS_Thailand)
2. Oishi Drink Station (@OishiDrinkTH)
3. Watsons Thailand (@WatsonsThailand)
4. Samsung Mobile Thailand (@SamsungMobileTH)
5. MK Restaurants (@MK_Restaurants)
6. KBank (@KBank_Live)
7. 7-Eleven Thailand (@7ElevenThailand)
8. L’Oreal Paris TH (@LOrealParisTH)
9. Wall’s Thailand (@Walls_Thailand)
10. Lays Thailand (@laysthailand)

มิสเตอร์อาร์วินเดอร์ กุจรัล กรรมการผู้จัดการ, ทวิตเตอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนตามความสนใจของผู้ใช้ ซึ่งเป็นผู้กำหนดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างบนทวิตเตอร์ และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิด เปิดกว้าง ชอบค้นหา และมักลองสิ่งใหม่ๆก่อนเสมอ ทำให้บรรดาแบรนด์ต่างๆ หลั่งไหลมาใช้ทวิตเตอร์เพิ่มมากยิ่งขึ้น

การรายงาน BrandsOnTwitter ประเทศไทยถือเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงผลชัดเจนว่ามีแบรนด์ที่หลากหลายเข้ามาใช้ทวิตเตอร์ ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและสังคมทวิตเตอร์ ตั้งแต่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม โทรศัพท์มือถือ ร้านค้าปลีก ไปจนถึงกลุ่มการเงินและธนาคาร ซึ่งทำให้เห็นว่า แบรนด์ต่างๆ เหล่านี้กำลังใช้แพลตฟอร์มของทวิตเตอร์ในการสร้างฐานการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อช่วยสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค”

นายธีรวิทย์ ฉายภมร ผู้จัดการฝ่าย Digital & Emerging Platforms ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป๊ปซี่โค กล่าวว่า “บริษัทประสบความสำเร็จอย่างมากกับแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ การเข้าถึงผู้บริโภคนั้นสำคัญ แต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องนั้นมีผลยิ่งกว่า โดยสิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์มีความเป็นเอกลักษณ์คือ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่เป็นกลุ่มที่เปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอ นั่นคือ กลุ่มลูกค้าของเรา ซึ่งแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ทำให้บริษัทสามารถเข้าร่วมบทสนทนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและช่วยให้เราเข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขี้น”

จากการวิเคราะห์ความสำเร็จของแบรนด์เหล่านี้พบว่ามี 4 วิธีหลักๆ ที่ท็อปแบรนด์เลือกใช้ทวิตเตอร์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทย

1. พลังของคลิปวีดีโอ

สถิติยอดเข้าชมวีดีโอบนทวิตเตอร์ในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้น 50% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ตระหนักถึงพลังอันมหาศาลของคลิปวีดีโอบนทวิตเตอร์ จากการวิจัยของทวิตเตอร์แสดงให้เห็นว่า การทวีตพร้อมวีดีโอช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมมากขึ้นกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับการทวีตแบบที่ไม่มีวีดีโอ อีกทั้งวีดีโอโฆษณาแบบในสตรีม (โฆษณาที่ต้องดูให้จบก่อนที่จะแสดงวีดีโอคอนเทนท์หลักของผู้เผยแพร่บนทวิตเตอร์) ช่วยเพิ่มการจดจำในโฆษณาขึ้น 70% และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าสูงขึ้น 6% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับชมวีดีโอโฆษณา

แบรนด์ในประเทศไทยต่างกำลังลงทุนในการทำวีดีโอที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพสูงเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการ หวังดึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เช่น Samsung Mobile TH (@SamsungMobileTH) ที่ทำให้สมาร์ทโฟน #GalaxyA50TH กับแคมเปญ #WeMakeADifference เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งมีอินฟลูเอนเซอร์และบล็อกเกอร์มาช่วยเน้นถึงฟังก์ชั่นที่แตกต่างของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้

ทวีตจาก: https://twitter.com/SamsungMobileTH

ในขณะที่บางแบรนด์ใช้วีดีโอในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภค อย่าง KBank Live (@KBank_Live) ที่ทำวีดีโอให้ความรู้กับเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย ด้วยการสร้างแคมเปญแนะนำเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับผู้อื่นและรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาที่อาจจะเข้าใจยากมาผสมผสานกับรูปแบบการทำวีดีโอสั้นในแนวตลก ทำให้วีดีโอตัวนี้ของ KBank Live ดูสนุกและกลายเป็นที่จดจำมากขึ้น

ทวีตจาก: https://twitter.com/KBank_Live

2. ขยายภาพลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการร่วมงานกับคนดัง

หลายแบรนด์ที่ติดอันดับ Top 10 บนทวิตเตอร์ในไทย ใช้กลยุทธ์การร่วมงานกับคนดัง ด้วยการใช้กลยุทธ์ออฟไลน์ ออนไลน์ และทำให้เกิดการสนทนาบนทวิตเตอร์

ในไตรมาสแรกของปีนี้ 7-Eleven Thailand (@7ElevenThailand) ลุยทำการตลาดในเรื่องบัตรสมาชิกและแอปพลิเคชั่น ALL Member ด้วยการดึง “นาย ณภัทร” มาร่วมสร้างการมีส่วนร่วมกับสังคมทวิตเตอร์ทั่วไทย และประสบความสำเร็จในการโปรโมต #AllMember

ทวีตจาก: https://twitter.com/7ElevenThailand

MKRestaurants_TH (@MK_Restaurants) ได้สร้างภาพลักษณ์ให้มากกว่าการเป็นธุรกิจร้านอาหาร ด้วยการสร้างกระแสก่อนเปิดตัวแคมเปญ #MKX บนทวิตเตอร์ เพื่อผูกแบรนด์เข้ากับไลฟ์สไตล์ต่างๆ เช่น การทำอาหาร ศิลปะ เกม ดนตรี และแฟชั่น ซึ่งหลังจากทวีตข้อความว่าอยากเห็น MK ไป “X” กับอะไรอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุด MK ก็ประกาศความร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นชื่อดังอย่าง “มิลิน”เป็นครั้งแรก

ทวีตจาก: https://twitter.com/MK_Restaurants

3. เป็นส่วนหนึ่งในบทสนทนา

ผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นผู้มีอิทธิพล เปิดกว้างต่อแนวคิด ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ และชอบที่จะได้เป็นกลุ่มแรกที่ได้ลองและได้ซื้อ การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ทวิตเตอร์และสังคมทวิตเตอร์นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการสร้างความน่าเชื่อถือและได้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่าสูงสุด

ในไตรมาสแรกของปีนี้ Watsons Thailand (@WatsonsThailand) แอคทีฟเป็นอย่างมากในการสร้างคอนเทนต์ให้ออกมาสม่ำเสมอ เช่น การแชร์เคล็ดลับความงาม การเล่นเกมและแจกของรางวัล รีวิวผลิตภัณฑ์ และจัดโปรโมชั่นด้วยข้อเสนอที่สามารถใช้ได้ทั้งการซื้อสินค้าในร้านและผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งวัตสันงัดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สู่ออฟไลน์และออนไลน์สู่ออนไลน์ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคบนทวิตเตอร์

ทวีตจาก: https://twitter.com/WatsonsThailand

การได้รู้ว่าผู้บริโภคนั้นกำลังพูดถึงสิ่งใดบนทวิตเตอร์ช่วยให้แบรนด์กำหนดเป้าหมายได้ถูกต้องมากขึ้น และการเข้าไปร่วมในบทสนทนาก็ช่วยสร้างความเชื่อถือและความจงรักภักดีระหว่างผู้บริโภคต่อแบรนด์นั้นๆ อีกด้วย

การรีทวีตข้อความบนทวิตเตอร์นั้นเป็นเทคนิคหนึ่งที่แบรนด์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนานั้นๆ ตัวอย่างเช่น L’OrealParis TH (@LOrealParisTH) แชร์รีวิวจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าของแบรนด์จากร้านสะดวกซื้อ หรือ Lays Thailand (@laysthailand) มักจะรีทวีตข้อความหรือรีวิวของผู้บริโภคเสมอ

ทวีตจาก: https://twitter.com/LOrealParisTH

4. เจาะกลุ่มเป้าหมาย

การรู้จักกลุ่มเป้าหมาย คือพื้นฐานเบื้องต้นของการตลาด แต่บ่อยครั้งที่แบรนด์เลือกใช้วิธีกระจายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยหวังว่าจะช่วยสร้างการจดจำของแบรนด์และสร้างยอดขาย ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ มีความหลากหลายมาก แต่เป็นสังคมที่มีความสนใจที่ชัดเจน ซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถกำหนดเป้าหมายเรื่องผลิตภัณฑ์ บริการ และข้อความต่างๆ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้

AIS (@AIS_Thailand) ตระหนักถึงความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัยและมีชีวิตชีวา ทำให้ AIS (@AIS_Thailand) ออกโปรโมชั่นด้วยแพ็คเกจ U-ZEED ซึ่งโดนใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ในการฟังเพลง การเล่นเกม การดูหนัง และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค

ทวีตจาก: https://twitter.com/AIS_Thailand

Wall’s Thailand (@Walls_Thailand) นั้นสร้างสรรค์วีดีโอที่รวมเหล่ายูทูบเบอร์เพื่อนำเสนอไอศครีมวอลล์คาลิปโป รสใหม่ ที่มีสไตล์สนุกสนาน ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคของแบรนด์บนสังคมทวิตเตอร์

ทวีตจาก: https://twitter.com/Walls_Thailand

ในฐานะที่ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับความสนใจ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จึงสามารถแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องใดก็ได้บนทวิตเตอร์ และหนึ่งในบทสนทนายอดนิยมบนทวิตเตอร์ในไทยก็หนีไม่พ้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับโทรทัศน์ (โดยเฉพาะละคร ซีรีส์ และภาพยนตร์เรื่องล่าสุด) ความบันเทิงต่างๆ (ดนตรี ดารา เซเลบริตี้) และกีฬา โดยบทสนทนานั้นจะเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ซึ่งแบรนด์ที่รู้ทันจึงมักเข้าร่วมและใช้ประโยชน์จากบทสนทนาและเหตุการณ์เหล่านั้น เพื่อสร้างอิทธิพลและเข้าถึงผู้บริโภคได้

ทวีตจาก: https://twitter.com/OishiDrinkTH

สามารถเยี่ยมชม marketing.twitter.com เพื่อศึกษาเคล็ดลับในการทำการตลาด และวิธีที่ทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นบนทวิตเตอร์อย่างเช่นแบรนด์เหล่านี้

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ที่มา : marketing.twitter.com วันที่ : 6 มิถุนายน 2562

มือถือออกใหม่