องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 11 กุมภาพันธ์ 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

Zebra Technologies ผู้นำด้านนวัตกรรมผ่านโซลูชั่นที่ทันสมัยและเครือข่ายคู่ค้าที่ครอบคลุมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรยุคใหม่เผยผลสำรวจ Global Shopper Study ซึ่งเป็นการสำรวจทัศนคติ, ความคิดเห็น และความคาดหวังของผู้บริโภค, พนักงานขายหน้าร้าน และผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ซึ่งครั้งนี้จัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 11 โดยจากผลการสำรวจพบว่า 2 ใน 3 (66 เปอร์เซ็นต์) ของพนักงานขายที่ตอบผลสำรวจเชื่อว่า พวกเขาจะสามารถให้บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีอุปกรณ์แท็บเล็ตเป็นตัวช่วย

ผลสำรวจยังพบว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานขายที่ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกันว่าบริษัทที่พวกเขาทำงานอยู่นั้นมีจำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และเกือบครึ่ง (49 เปอร์เซ็นต์) รู้สึกว่าพวกเขาทำงานหนักเกินไป นอกจากนี้พนักงานยังให้ความเห็นว่าพวกเขารู้สึกคับข้องใจที่ไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ โดยราว 42 เปอร์เซ็นต์ให้เหตุผลว่ามีหน้าที่อื่นที่ต้องรับผิดชอบควบคู่กันให้เสร็จตามกำหนดจึงไม่สามารถให้เวลากับลูกค้าได้เท่าที่ควร อีก 28 เปอร์เซ็นต์ให้เหตุผลว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสามารถบริการลูกค้าได้ นอกจากนี้ 83 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและ 74 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานขายหน้าร้านเห็นตรงกันว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่จะสามารถช่วยเพิ่มประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าได้

เมื่อสำรวจไปในฝั่งของผู้บริโภคพบว่า มีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ที่ให้ความมั่นใจในร้านค้าที่พวกเขาซื้อสินค้าว่าจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่นที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 10 อุตสาหกรรมอื่นๆที่ถูกสำรวจ และ 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคลงความเห็นตรงกันว่าพวกเขามีความพอใจมากกว่าเมื่อสามารถควบคุมการใช้ข้อมูลส่วนตัวได้เอง

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากผลสำรวจเราพบว่าความคาดหวังของผู้บริโภคนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่หน้าร้านค้าส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาอย่าง การจัดส่งสินค้า, การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และการสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าไม่ว่าสินค้านั้นจะเป็นอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร”

เมื่อกล่าวถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่นพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและพนักงานขายหน้าร้านมีความคาดหวังต่อระบบออโตเมชั่นที่ต่างกัน โดยเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการ และเพียง 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานขายหน้าร้านเห็นว่าเคาน์เตอร์ชำระค่าสินค้าเริ่มเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเมื่อลูกค้าสามารถใช้เทคโนโลยีในการชำระเงินได้เอง นอกจากนี้เกือบครึ่งของผู้ประกอบการ (52 เปอร์เซ็นต์) ได้มีการเปลี่ยนจุดชำระเงิน (point-of-sale) ให้เป็นระบบอัตโนมัติที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการชำระเงินได้ด้วยตัวเอง และอีก 62 เปอร์เซ็นต์กำลังเปลี่ยนจุดชำระเงินเป็นสถานที่รับสินค้าจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (51 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน ของตัวเองได้ดีกว่าการสอบถามข้อมูลจากพนักงานขายหน้าร้าน ซึ่งผู้ประกอบการหลายแห่งได้มีการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขความเหลือมล้ำดังกล่าว โดยเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนขึ้นมากกว่า 6 เปอร์เซ็นต์เพื่อซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา และหนึ่งในห้า (21 เปอร์เซ็นต์) วางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ในการซื้อแท็บแล็ตสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า

ผลสำรวจจากแต่ละภูมิภาคพบว่า:

  • ทวีปเอเชียแปซิฟิก
    • 62 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานขายหน้าร้านมีมุมมองต่อนายจ้างที่ดีขึ้นหากนายจ้างจัดหาอุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่มาให้ใช้เพื่อการทำงาน
    • เกือบครึ่ง (49 เปอร์เซ็นต์) ของพนักงานขายลงความเห็นว่าอุปกรณ์ชำระเงินแบบเคลื่อนที่ (mPOS) ช่วยให้การทำงานของพวกเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง
    • 74% ของผู้ประกอบการเห็นตรงกันว่า การเติบโตขออี-คอมเมิร์ซ ส่งผลให้คนหันมาสนใจโซลูชั่นในการจัดส่งสินค้าและการบริหารจัดการคลังสินค้ามากขึ้น
    • มากกว่า 76% ของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก เห็นพ้องกันว่าการรับและคืนสินค้าจากการสั่งสินค้าในช่องทางออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่ท้ายทาย
  • ทวีปละตินอเมริกา
    • ทั้งผู้บริโภค (59 เปอร์เซ็นต์) และพนักงานขายหน้าร้าน (67 เปอร์เซ็นต์) เห็นตรงกันว่าผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลของสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนได้ดีกว่าพนักงานขายหน้าร้าน
    • 99 เปอร์เซ็นต์ของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลควบคุมงานด้าน IT ในธุรกิจค้าปลีกเห็นพ้องกันว่าองค์กรของพวกเขาต้องการระบบจัดการคลังสินค้าที่มีความแม่นยำกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • ทวีปอเมริกาเหนือ
    • มีเพียง 11% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่เชื่อมั่นในหน้าร้านค้าว่าจะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาซึ่งเป็นระดับความเชื่อมั่นต่ำสุดในการสำรวจจากหลายๆอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ สถาบันการเงิน และบริษัทด้านเทคโนโลยี
    • พนักขายเกือบ 7 ใน 10 (ราว 68 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่าป้ายบอกราคาแบบอีเล็กโทรนิกส์จะให้ความสะดวกสบายกับลูกค้ามากกว่าแบบกระดาษ และจากการสำรวจพบว่า 54% ของผู้บริโภคใส่ใจในการอ่านป้ายสินค้า

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่