องค์กร (Corporate) | วันที่ : 8 กุมภาพันธ์ 2562
แม้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง แต่ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ครั้งล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าแผนงานด้านการปฏิรูปทางดิจิทัลของธุรกิจจำนวนมากยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นี่คือหลักฐานที่ 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจยออมรับว่าการปฏิรูปทางดิจิทัลควรเป็นการดำเนินการในวงกว้างให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร (ประเทศไทย: 90 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจ (51 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าพวกเขาจะต้องดิ้นรนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลา 5 ปี (ประเทศไทย: 71 เปอร์เซนต์) และเกือบหนึ่งในสาม (30 เปอร์เซนต์) ยังคงมีความกังวลว่าองค์กรของตนเองจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง (ประเทศไทย: 33 เปอร์เซ็นต์)
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ร่วมมือกับอินเทล และแวนสัน บอร์น ในการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจจำนวน 4,600 คน ในระดับผู้อำนวยการขึ้นไปจนถึงผู้บริหารในระดับประธานเจ้าหน้าที่ (C-suite) จากบริษัทธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่ทั่วโลกเพื่อประเมินความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรของพวกเขา
การศึกษาเผยให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่คือตลาดที่มีความพร้อมและการเติบโตทางดิจิทัลมากที่สุด โดยมีอินเดีย บราซิล และประเทศไทยอยู่ในรายชื่อของการจัดอันดับในระดับโลก ในทางตรงกันข้าม ตลาดที่พัฒนาแล้วกลับเลื่อนไหลลงไปอยู่ข้างหลัง อาทิ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และฝรั่งเศส ที่มีคะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลในระดับต่ำสุด ที่ยิ่งกว่านั้น ตลาดเกิดใหม่ยังมีความมั่นใจมากกว่าในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถ “เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างสิ้นเชิงมากกว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลง” (53 เปอร์เซ็นต์” เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
เบื้องหลังเส้นกราฟ
งานวิจัย DT Index II สร้างขึ้นต่อยอดจาก DT Index ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2559 การเปรียบเทียบผลการวิจัยสองปีเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความคืบหน้าที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า พร้อมด้วยการดิ้นรนขององค์กรธุรกิจในการที่ต้องตามก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงให้ทัน ในขณะที่เปอร์เซนต์ของจำนวนของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) เพิ่มจำนวนมากขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้าในระดับบน เกือบสี่ในสิบ (39 เปอร์เซ็นต์) ของธุรกิจยังคงกระจายตัวอยู่ในสองกลุ่มของผู้ที่มีความพร้อมทางดิจิทัลน้อยที่สุดตามการจัดมาตรฐาน (ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล หรือ Digital Laggards และผู้ตามในเรื่องดิจิทัล หรือ Digital Followers)
“ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกองค์กรธุรกิจต่างจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นองค์กรดิจิทัล แต่งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในการเดินทางอีกยาวไกล” ไมเคิล เดลล์ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับเทคโนโลยีที่พวกเขาใช้งานให้ทันสมัย เพื่อมีส่วนร่วมในโอกาสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างการปฏิรูปทางดิจิทัล ถ้าจะลงมือก็ต้องเป็นในตอนนี้เลย”
อุปสรรคในการปฏิรูปและความมั่นใจ
ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจต่างกำลังอยู่ในสภาวะของวิกฤตความเชื่อมั่น โดย 91 เปอร์เซ็นต์ถูกเหนี่ยวรั้งไว้ด้วยอุปสรรคเรื้อรังที่มีมายาวนาน
ห้าอันดับอุปสรรคสูงสุดที่มีต่อความสำเร็จของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
1. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (อันดับ 1 ในประเทศไทย)
2. การขาดงบประมาณและทรัพยากร
3. การขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมภายในองค์กร (อันดับ 5 ในประเทศไทย)
4. การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมาย (จากอันดับ 9 ในปี 2559)
5. ความไม่สมบูรณ์ของวัฒนธรรมดิจิทัล
เกือบครึ่งหนึ่ง (49 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าองค์กรของพวกเขาต้องต่อสู้เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือภายในอีกห้าปีข้างหน้า เกือบหนึ่งในสาม (32%) ไม่เชื่อว่าองค์กรของตัวเองที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ได้ (อาทิ กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป หรือ EU General Data Protection Regulation) หนึ่งในสามไม่เชื่อถือว่าองค์กรของตนจะปกป้องข้อมูลของพนักงานหรือลูกค้า
แผนงานต่างๆ เพื่ออนาคตดิจิทัลที่เป็นจริง
ผู้นำต่างรายงานถึงการจัดลำดับความสำคัญที่คล้ายคลึงกันและการลงทุนเพื่อช่วยการปฏิรูปในอนาคต รวมไปถึงการใหความสำคัญเพิ่มขึ้นในเรื่องของคนทำงาน (workforce) การรักษาความปลอดภัย (security) และระบบไอที ทั้งนี้ สี่สิบหกเปอร์เซ็นต์กำลังพัฒนาทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลภายในองค์กร (in-house) อาทิ ด้วยการสอนพนักงานทุกคนสามารถเขียนโค้ดได้ ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ถึง 27 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย: 65%)
อันดับสูงสุดของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในอีก 1-3 ปีข้างหน้า
1. การรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity)
2. เทคโนโลยี Internet of Things
3. สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์
4. ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence
5. แนวการดำเนินงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง (compute centric)
การเดินทางขององค์กรธุรกิจจะเป็นอย่างไรในอนาคตจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่พวกเขาเลือกที่จะเริ่มต้นในวันนี้ ยกตัวอย่าง Draper ซึ่งเป็นลูกค้าของเดลล์ เทคโนโลยีส์ จากที่เคยมุ่งเน้นไปที่แผนกการวิจัยด้านการป้องกัน ปัจจุบันได้เริ่มต้นที่จะมุ่งไปสู่ภาคส่วนที่เป็นเชิงพานิชย์มากขึ้น อาทิ วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (biomedical science)
“เทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่ยากที่สุดในโลกนี้ได้ จากโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่สนับสนุนนวัตกรรมของเราไปจนถึงเทคโนโลยีการทดลองที่เราใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรคเป็นต้น” ไมค์ โครนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ Draper กล่าว “เราไม่สามารถขยายขอบเขตการทำงานแล้วเรียกตัวเราเองว่าเป็นองค์กรด้านการวิจัยและวิศวกรรมได้โดยไม่ปฏิรูปปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันสมัยจากภายในสู่ภายนอก”
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.delltechnologies.com วันที่ : 8 กุมภาพันธ์ 2562
HONOR Magic7 RSR Porsche Design ตัวท็อปดีไซน์พรีเมียม กล้องหลังหกเหลี่ยม Periscope Telephoto 200MP
HMD Arc สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ระบบปฏิบัติการ Android 14 Go แบตเตอรี่ 5,000mAh
ใช้ชีวิตสมาร์ทๆ กับ Xiaomi 14T และ Xiaomi 14T Pro สมาร์ทโฟนที่คุณต้องมี!!
คนไทยค้นหาอะไรกันนะ! 10 หมวดค้นหาที่นิยมมากที่สุดในปี 2567 มีอะไรบ้าง?
realme 14 Pro series นวัตกรรมสมาร์ทโฟนเปลี่ยนสีได้ ครั้งแรกของโลก!
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ทโฟน AI รุ่นล่าสุด10 ชั่วโมงที่แล้ว
ความสำคัญของไดชาร์จรถยนต์ แหล่งหล่อเลี้ยงระบบสำคัญในรถ16 ชั่วโมงที่แล้ว