หมวดอื่นๆ (Other)  |   วันที่ : 28 สิงหาคม 2561

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

อุปกรณ์ในโลกปัจจุบันไม่ว่าจะมีขนาดใด ใช้ทำอะไร ต่างสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างชาญฉลาด มีการเชื่อมต่อใหม่ๆ ระหว่างอุปกรณ์นับล้านๆ ชิ้นเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน IDC คาดว่าในปี 2563 จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ทั่วโลกเกินกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการคาดการณ์ว่า การเติบโตสะสมเฉลี่ยต่อปีจะมากกว่า 14% ในช่วงหลายๆ ปีต่อจากนี้ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของ IoT เป็นตัวเร่งให้องค์กรต่างๆ ลงทุนด้านเทคโนโลยี และลงทุนกับเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนา บริหารจัดการ และนำผลิตภัณฑ์และบริการด้าน IoT เหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

Redhat ได้มอบหมายให้ RTInsigts ทำการสำรวจผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรขนาดใหญ่จำนวน 253 ราย เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าพวกเขาเหล่านั้นใช้เทคโนโลยีอะไรพัฒนาโซลูชั่นด้าน IoT ต่างๆ โดยองค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจนี้จะต้องเป็นองค์กรที่พัฒนาโซลูชั่น IoT อยู่ในปัจจุบัน หรือมีแผนจะทำภายใน 12-18 เดือนต่อจากเวลาที่ทำการสำรวจ การสำรวจได้พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชั่น IoT กับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบเดิม, ระหว่างการพัฒนาโซลูชั่น IoT ได้มีความสามารถสำคัญๆ อะไรบ้างเกิดขึ้นบ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่เป็นโอเพ่นซอร์สและการพัฒนาโซลูชั่น IoT

หนึ่งในคำถามแรกๆ ของการสำรวจคือ "ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชั่น IoT กับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบเดิม คืออะไร" ซึ่งคำตอบที่ได้รับจากการสำรวจมีดังนี้

  • การพัฒนาโซลูชั่นต่างๆ ที่เชื่อถือได้และปรับระดับการทำงานได้ตามต้องการ (51 เปอร์เซ็นต์)
  • มาตรฐานต่างๆ ในการจัดการให้ข้อมูลและแอปพลิเคชั่นทำงานร่วมกันได้อย่างยั่งยืน (48 เปอร์เซ็นต์)
  • เซ็นเซอร์และอุปกรณ์อัจฉริยะที่ใช้งานปลายทางมีจำนวนมาก (45 เปอร์เซ็นต์)
  • การจัดการกับความปลอดภัยของข้อมูลและแอปพลิเคชั่น (41 เปอร์เซ็นต์)

เมื่อระบุได้แล้วว่าความแตกต่างระหว่างกระบวนการทั้งสองคืออะไร เราก็สามารถระบุได้ชัดเจนขึ้นว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ให้ประสบความสำเร็จ และผลสำรวจที่ออกมาก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่าโซลูชั่นที่เชื่อถือได้และปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการจะถูกจัดอยู่ในลำดับแรกๆ ที่ผู้ให้การสำรวจเห็นว่าควรนำมาใช้เพื่อการสรรสร้างโซลูชั่น IoT ต่างๆ รวมถึงการใช้ข้อมูลปริมาณมาก

เมื่อได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชั่น IoT และแอปพลิเคชั่นแบบเดิมแล้ว เราต้องการทราบว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีใช้ซอฟต์แวร์อะไรเป็นเครื่องมือในการสร้างแอปพลิเคชั่น IoT ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ทราบว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดขององค์กรในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและนำมาใช้ ซึ่งตรงตามผลสำรวจที่ระบุว่าโอเพ่นซอร์สเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ด้วยเช่นกัน

ผลสำรวจพบว่า 39% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากองค์กรที่กำลังพัฒนาโซลูชั่น IoT อยู่ในปัจจุบัน ชื่นชอบเครื่องมือที่เป็นโอเพ่นซอร์สมากกว่าเครื่องมืออื่นๆ ที่มีกรรมสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามคำถามเดียวกันนี้ไปยังองค์กรที่จัดตัวเองอยู่ในกลุ่มผู้นำด้าน IoT ตัวเลขยิ่งสูงขึ้น กล่าวคือ 43% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้โอเพ่นซอร์สในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ทั้งนี้ ในบรรดาองค์กรที่ใช้โอเพ่นซอร์สเป็นหลักในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ที่จัดตัวเองเป็นผู้นำด้าน IoT ใช้โซลูชั่นโอเพ่นซอร์สมากกว่า องค์กรที่ใช้เครื่องมือที่มีกรรมสิทธิ์เป็นหลักในการพัฒนาถึง 50%

การสนับสนุนและความช่วยเหลือจากโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อเราพิจารณาถึงความต้องการหลักๆ ในการพัฒนาโซลูชั่น IoT กล่าวได้ว่าองค์กรที่พัฒนาโซลูชั่น IoT ต้องพร้อมที่จะจัดการกับความต้องการในการปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ, ความเชื่อถือได้, การจัดการความซับซ้อน, และความต้องการอื่นๆ ที่จะตามมา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่โอเพ่นซอร์สมีอยู่แล้ว และสามารถช่วยองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้

จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเป็นที่แพร่หลายในหมู่องค์กร และการสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นโอกาสของเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่จะเสริมให้องค์กรต่างๆ เริ่มต้นใช้โซลูชั่น IoT ต่างๆ ร่วมกับสถาปัตยกรรมไอทีของตน เร้ดแฮทมุ่งมั่นให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีขององค์กร และยังคงมุ่งหวังที่จะทำงานกับผู้ใช้งานในการพัฒนาโซลูชั่น IoT ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีของเร้ดแฮทอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละองค์กร

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่