เทคโนโลยี (Technology)  |   วันที่ : 17 เมษายน 2561

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

พลาสติกเป็นขยะที่ยังจัดว่าอยู่ในประเภทสิ่งที่นำมารีไซเคิลได้ อย่างไรก็ตามกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและมีราคาแพงเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ แต่ดูเหมือนว่านักวิทยาศาสตร์จะคิดค้นวิธีจัดการปัญหาขยะพลาสติกในรูปแบบเอนไซม์กลายพันธุ์ที่มีความสามารถในการย่อยขวดพลาสติกได้โดยบังเอิญ

นักวิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 2016 ซึ่งมีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติเพื่อกินพลาสติกจากกองขยะมูลฝอย ทีมงานนักวิจัยจึงวางแผนที่จะปรับแต่งเอนไซม์สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเพื่อดูว่ามันจะมีพัฒนาการอย่างไร ระหว่างที่กำลังพยายามทำความเข้าใจกับเอนไซม์พวกเขาก็พบว่าการทดลองนี้สร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo ("en:leaven" หรือ "en:yeast")

เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ

เอนไซม์กลายพันธุ์ดังกล่าวใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในการทำลายพลาสติกซึ่งเร็วกว่ากระบวนการทางธรรมชาติที่อาจกินเวลานานหลายศตวรรษ นักวิจัยเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนและปรับปรุงเอนไซม์จนได้กระบวนการย่อยสลายพลาสติกขนาดใหญ่ในระดับที่มนุษย์สามารถควบคุมได้

John McGeehan ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Portsmouth สหราชอาณาจักรหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยเผยว่า "เราคาดหวังว่าเอนไซม์กลายพันธุ์จะช่วยเปลี่ยนพลาสติกขึ้นรูปให้กลับมาอยู่ในรูปส่วนประกอบพื้นฐานดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นการรีไซเคิลกลับเป็นพลาสติกอย่างแท้จริง มันหมายความว่าเราจะไม่ต้องขุดน้ำมันมากมายอีกต่อไปและมันน่าจะลดปริมาณพลาสติกที่คงค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมลงมาได้"

ขณะนี้งานวิจัยดังกล่าวยังต้องศึกษาและประเมินวัฎจักรชีวิตของเอนไซม์กลายพันธุ์อย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีนี้จะนำมาแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองอย่างปลอดภัย แต่ก่อนที่จะฝากความหวังไว้กับเอนไซม์เราคงต้องหันมาปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะให้เป็นที่ การแยกขยะ และการรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุพลาสติกน้อยลงเสียก่อน

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่