เทคโนโลยี (Technology) | วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2560
หากพูดถึงการติดต่อสื่อสารถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร หากเกิดความเข้าใจผิดก็อาจส่งผลร้ายแรงยิ่งตามมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ คอยสนับสนุน โดยหลายคนอาจคุ้นเคยกับไมโครโฟนซึ่งเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ช่วยรับเสียงได้ดียิ่งขึ้น แต่บางครั้งยังมีความผิดพลาดอยู่ เพราะโทนเสียงบางอย่างลำโพงนั้นไม่สามารถรับได้ ทว่าปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อนักวิจัยค้นพบว่าใยแมงมุมจะช่วยให้การรับเสียงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในทุกช่วงสัญญาณเสียง
สำหรับแนวคิดดังกล่าวพัฒนาโดยทีมวิจัยจาก Binghamton University หนึ่งในทีมให้เหตุผลว่า เส้นใยแมงมุมนั้นมีความบางมาก ทั้งยังรับรู้คลื่นเสียงภายในอากาศได้เป็นพิเศษเช่นเดียวกับเสียงที่มีคลื่นตํ่าถึงระดับ 3Hz เปรียบเทียบว่าเส้นใยแมงมุมสามารถรับรู้เสียงเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และด้วยข้อดีข้างต้นจึงทำให้แมงมุมรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวได้นั่นเอง
ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงได้นำข้อดีมาต่อยอดด้วยการแปลงเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อสามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ นั่นเอง โดยนำเส้นใยแมงมุมมาเคลือบด้วยทองคำและนำไปวางบนสนามแม่เหล็กเพื่อกำเนิดสัญญาณไฟฟ้า แล้วได้นำไปทดลองใช้ในไมโครโฟน ผลลัพธ์ที่ได้คือดีเยี่ยมให้ช่วงเสียงกว้างเป็นพิเศษ พร้อมทิศทางรับเสียงที่แม่นยำกว่าเดิม
แน่นอนว่านักวิจัยได้ทำต้นแบบไว้แล้ว และเตรียมนำไปประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์การได้ยินเพื่อให้พวกเขาสามารถรับรู้คุณภาพเสียงดียิ่งขึ้นรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาที่น่าสนใจ เพราะหนึ่งในปัจจัยที่เสียงจะดีได้ต้องขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ซึ่งอุปกรณ์รับเสียงอาจไม่ราคาสูงเหมือนในปัจจุบัน
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.digitaltrends.com วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2560