สมาร์ทโฟน (Smartphone) | วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2560
ช่วงนี้อาจจะมีผู้บริโภคหลายคนกำลังมองหาสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่มาใช้งาน แต่ก็อาจมีหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหนในช่วงก่อนซื้อและหลังซื้อ พร้อมทั้งทำตัวไม่ถูกไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไรเวลาอยู่ในร้านค้าหรือสั่งซื้อจากร้านค้าออนไลน์ จึงเกิดคำถามที่ว่าเมื่อจะซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ควรทำอะไรเป็นอันดับแรก ? วันนี้จึงขอแนะนำ 10 ขั้นตอนการ เตรียมตัวทั้งก่อนและหลังไปซื้อสมาร์ทโฟน
1. ศึกษาข้อมูลและกำหนดงบที่เราพอจ่าย
อย่างแรกต้องศึกษาข้อมูลไว้ก่อนว่าสมาร์ทโฟนรุ่นไหนตรงกับตัวเรา และพอกับงบที่กำหนดไว้ โดยสามารถไปอ่านจากรีวิวตามเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงศึกษาสเปคแบบคร่าวๆ ของสมาร์ทโฟนในรุ่นที่ต้องการ ซึ่งทาง Siamphone ก็มีการรีวิวและสรุปสเปคไว้ให้ด้วยเช่นกัน (บทความรีวิว และ สเปคเครื่องในแต่ละรุ่น)
2. ตรวจสอบบริเวณตัวเครื่องหลังจากแกะกล่อง และลองเปิดเครื่อง
เมื่อได้สมาร์ทโฟนในรุ่นที่ต้องการแล้ว ก็ถึงเวลาออกไปซื้อหรือสั่งซื้อจากร้านค้าออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าคนเราเวลาเสียเงินเพื่อซื้อสิ่งของอะไรไปก็ตามย่อมไม่อยากได้สิ่งของที่มีตำหนิกลับไป ทำให้การตรวจสอบตัวเครื่องจึงเป็นขั้นตอนแรกหลังจากได้เครื่องสมาร์ทโฟนมาใหม่ และในช่วงที่อยู่ในร้านค้าก็ควรตรวจสอบก่อนจ่ายเงิน หรือบางร้านอาจไม่ยอม ต้องให้จ่ายเงินก่อนที่จะแกะเครื่อง จากนั้นทำการเปิดเครื่องเพื่อลองใช้งานพื้นฐานต่างๆ ว่าสามารถใช้งานได้แบบปรกติหรือไม่ (สำหรับผู้ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ สามารถใช้รหัสเพื่อตรวจสอบเครื่อง)
ทั้งนี้ยังมีอีกอย่างที่ลืมไม่ได้ ก็คือตรวจสอบอุปกรณ์ภายในกล่องว่ามีครบหรือไม่ ทั้งสายชาร์จแบตเตอรี่, อแดปเตอร์ และใบรับประกันสินค้า แต่ขั้นตอนนี้อาจจะมีความยุ่งสำหรับการสั่งซื้อของผ่านทางร้านค้าออนไลน์ เพราะหากของเกิดมีตำหนิจะต้องดำเนินการติดต่อไปอีกหลายขั้นตอน
3. ตรวจสอบการรับประกัน
ในกรณีนี้หากซื้อผ่านทางร้านค้าออนไลน์ก็สามารถเห็นรายละเอียดของการรับประกันบนหน้าเว็บไซต์ได้ทันที แต่หากเข้าไปซื้อตามร้านค้าจะต้องถามพนักงานให้แน่ชัดว่ามีการรับประกันอะไรบ้าง เพราะปัจจุบันมีการรับประกันแยกในแต่ละส่วน ทั้งตัวเครื่อง, หน้าจอ รวมถึงแบตเตอรี่ และแต่ละส่วนจะมีระยะเวลาประกันไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ยังมีการกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนเครื่องหลังจากใช้งานไปสักระยะหนึ่งเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งต้องถามพนักงานไปอีกว่าจะคืนได้ในกรณีไหนบ้าง และภายในระยะเวลากี่วัน
4. ทดลองใส่ซิม
ทั้งซิมและเครื่องสมาร์ทโฟนเป็นของคู่กันมานานซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ โดยขั้นตอนแรกควรจะทดสอบใส่ซิมเพื่อให้รู้ว่าสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่รองรับเครือข่ายของซิมเราหรือไม่ แม้ว่าปัญหานี้มักไม่ค่อยพบเท่าไหร่ เนื่องจากสมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีการรองรับระบบเครือข่ายและสัญญาณที่เปิดให้บริการในประเทศไทยเกือบทุกรุ่น แต่ตรวจสอบไว้ก่อนก็ไม่เสียหายอะไร
5. นำไปติดกระจกหรือฟิมล์กันรอย
หลายคนอาจจะมองข้ามในจุดนี้ไป แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่จำเป็นมากๆ เพราะการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้หน้าจอแตกร้าวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และการเปลี่ยนหน้าจอแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ฉะนั้นการติดกระจกหรือฟิมล์กันรอยจึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง แม้ว่าในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ จะมีการเพิ่มความคงทนของหน้าจอด้วยกระจก Gorilla Glass แต่ความปลอดภัย 2 ชั้นก็ดีกว่าชั้นเดียวอย่างแน่นอน
6. หาซื้อเคสที่เหมาะสมกับเครื่อง
ในเมื่อมีการป้องกันหน้าจอไปแล้ว เราจะปล่อยให้บริเวณตัวเครื่องตรงส่วนอื่นๆ มีรอยขีดข่วนได้อย่างไร ? ซึ่งการหาซื้อเคสมาป้องกันตัวเครื่องจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่ก็ควรซื้อเคสที่ได้รับมาตรฐานต่างๆ สามารถปกป้องสมาร์ทโฟนของเราได้ทุกมุมมาใช้เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเครื่องในระยะยาว
7. ตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัยภายในเครื่อง
หลังจากได้ดูแลตัวเครื่องภายนอกไปเป็นที่เรียบร้อย ก็มาถึงขึ้นตอนรักษาความปลอดภัยภายในเครื่องกันบ้าง เนื่องจากในอนาคตไม่มีวันรู้เลยว่าสมาร์ทโฟนที่ใช้อยู่จะหายหรือโดนผู้ไม่หวังดีแอบเข้ามาใช้งานเครื่องของเรา โดยสมาร์ทโฟนในปัจจุบันได้มีระบบรักษาความปลอดภัยให้เลือกใช้งานกันอย่างมากมายทั้งระบบสแกนลายนิ้วมือ, ลากรูปแบบ, PIN, รหัสผ่าน สแกนม่านตา และสแกนใบหน้า ซึ่งสามารถเลือกใช้งานได้สะดวกตามข้อจำกัดของสมาร์ทโฟนในแต่ละรุ่น
8. อัพเดทระบบปฏิบัติการให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด
ไม่ว่าสมาร์ทโฟนที่ซื้อมาจะเป็นระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS ก็ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการให้เป็นรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพราะในเวอร์ชั่นใหม่จะมาพร้อมการแก้ไขข้อบกพร่องในจุดต่างๆ และมีการใช้งานที่เร็วขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเก่า พร้อมให้ผู้ใช้งานได้เปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับฟีเจอร์ที่มีการนำเข้ามา
9. ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นพื้นฐานรวมถึงสังคมออนไลน์
ซื้อสมาร์ทโฟนมาทั้งทีจะนำมาใช้แค่โทรเข้าโทรออกก็คงเสียชื่อแย่ ฉะนั้นควรมีการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นพื้นฐานมาติดไว้ในเครื่องบาง ทั้ง Google Maps, แอพฯ เรียกแท็กซี่, แอพฯ แต่งภาพ, แอพฯ การเงินและอื่นๆ รวมไปถึงสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเช่น Line, Facebook, Twitter, Messenger, Youtube เป็นต้น ซึ่งทางฝั่ง Android สามารถดาวน์โหลดได้จาก Play Store และฝั่ง iOS สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store
10. ทำการสำรองข้อมูลไว้
ในอนาคตไม่มีทางรู้เลยว่าสมาร์ทโฟนของเราจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ ทั้งข้อมูลสำคัญ เช่น รูปภาพและไฟล์ต่างๆ อาจจะหายไปทั้งหมด ซึ่งการเปิดระบบสำรองข้อมูลภายในเครื่องน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้ข้อมูลสำคัญยังอยู่และสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 10 ขั้นตอน การเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังซื้อสมาร์ทโฟน ซึ่งเชื่อว่าบทความนี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ที่กำลังไปซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ได้มีการเรียงลำดับขั้นตอนว่า ควรจะทำอย่างไรทั้งช่วงก่อนซื้อและหลังจากซื้อเครื่องมาเป็นที่เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนที่ตามมาในภายหลัง
หากต้องการข้อมูลเพิ่ม สามารถศึกษาได้จาก [คัมภีร์มือถือ] รวมทุกเรื่องราวสมาร์ทโฟน และเกร็ดความรู้ต่างๆ
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : news.siamphone.com วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2560
ลือ! iPhone 17 อาจเป็นรุ่นแรกที่รองรับวิดีโอ 8K หลัง Android ทำได้นานแล้ว
HMD Arc มือถือระบบ Android 14 (Go edition) ดีไซน์สวย ทนทาน ทรงประสิทธิภาพ
รีวิว nubia Neo3 5G มือถือเกมมิ่ง Born to Win ดีไซน์สุดท่ มี Tiggers เล่นเกมฟินๆ หน้าจอ 120Hz สเป...
ภาพหลุดล่าสุด! เปรียบเทียบความบาง iPhone 17 Air กับ iPhone 17 Pro บางเฉียบจนน่าตกใจ
Sony เตรียมส่งเซนเซอร์กล้อง 200MP และ 100MP รุ่นใหม่ เขย่าตลาดสมาร์ทโฟนเรือธงปลายปีนี้
HUAWEI FreeBuds 6 หูฟังไร้สายดีไซน์ Semi-Open มาพร้อมไดรเวอร์คู่และ ANC
Samsung A56 5G สมาร์ทโฟนระดับกลางที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย
Redmi เปิดตัวสมาร์ทวอทช์สำหรับเด็ก! วิดีโอคอลได้ ติดตามตำแหน่งแม่นยำ ราคาเริ่มต้นสุดคุ้ม
vivo V50 Lite 4G Global เผยโฉม! ดีไซน์บางเฉียบ สเปคครบครัน แบตเตอรี่อึด พร้อมราคาสุดโดน!
Xiaomi เปิดตัว Redmi 13X สมาร์ทโฟนราคาประหยัด สเปคคุ้มค่า22 ชั่วโมงที่แล้ว
HONOR Play 60 เผยราคา ดีไซน์ สี และฟีเจอร์หลักที่หลุดออกมา1 เม.ย. 68 15:00