เวิร์คสเตชัน (Work Station)  |   วันที่ : 23 กุมภาพันธ์ 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

การเปิดสำนักงานใหญ่วัตสันไอโอทีที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน ครั้งนี้ เป็นผลจากการลงทุนมูลค่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐของไอบีเอ็ม โดยสำนักงานดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่ผู้เชี่ยวชาญไอบีเอ็มที่มิวนิคกว่า 1,000 คน ทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อผลักดันนวัตกรรมอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ (ไอโอที) ที่ผ่านมาได้เริ่มมีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำแล้ว อาทิ บีเอ็มดับบลิวโคเน่ ฮอนด้า เวิร์ลพูล ซีเมนส์ และกำลังร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมไอโอทีแห่งอนาคตกับธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ แคปเจมิไน เทค มหินทรา บ๊อช ริโก้ บริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส เป็นต้น วัตสันไอโอทีเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของลูกค้าไอบีเอ็มกว่า 6,000 รายทั่วโลกในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังประกาศจับมือวีซ่าเพื่อผสานเทคโนโลยีค็อกนิทิฟและแพลตฟอร์มวัตสันไอโอทีของไอบีเอ็ม เข้ากับระบบชำระเงินระดับโลกของวีซ่าที่ปัจจุบันอยู่เบื้องหลังการใช้จ่ายกว่าร้อยละ 60ทั่วโลก โดยวัตสันไอโอทีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อและถอดรหัสมุมมองเชิงลึกจากอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีจำนวนถึง 20,000 ล้านชิ้นทั่วโลกในปี 2563

ความร่วมมือในการนำไอโอทีมาใช้ในด้านคอมเมิร์ซครั้งนี้จะส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา แหวน เครื่องใช้ต่างๆ หรือแม้แต่รถยนต์ สามารถชำระเงินในส่วนที่ผู้ใช้อนุญาตให้ดำเนินการแทนได้ ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคสามารถเช่ารถ จากนั้นระบบจะดึงข้อมูลปริมาณการใช้งานรถในแต่ละวันพร้อมดำเนินการชำระเงินโดยอัตโนมัติ

ความร่วมมือดังกล่าวยังส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึง Visa Token Service ได้ผ่านแพลตฟอร์มวัตสันไอโอที โดย Visa Token Service เป็นเทคโนโลยีระบุตัวตนดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเผยรายละเอียดของบัญชีเลขหน้าบัตร 16 หลักวันหมดอายุหรือเลขท้ายบัตรเครดิตอย่างในปัจจุบัน และช่วยให้องค์กรสามารถผนวกรวมระบบจ่ายเงินดิจิทัลที่ปลอดภัยและใช้งานง่ายเข้ากับทุกผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการชำระเงินและการซื้อขายผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันแบบทุกที่ทุกเวลา

“อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์กำลังเปลี่ยนโลกรอบๆ ตัวเรา ทั้งในแง่ของการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจต่างๆ และการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการทุกคน แม้กระทั่งการทำให้เครื่องซักผ้าสามารถสั่งซื้อผงซักฟอกเองได้” นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัดกล่าว “การผนึกเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ของไอบีเอ็มเข้ากับบริการการชำระเงินของวีซ่า กำลังนำสู่ก้าวย่างสำคัญที่จะเอื้อให้การทำธุรกรรมสามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านอุปกรณ์ใดก็ตามที่เชื่อมต่อกัน นำสู่มิติใหม่ของความง่าย สะดวก และปลอดภัย”

ตัวอย่างของการนำไอโอทีมาใช้ในธุรกิจ มองถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะมีรถยนต์ที่เชื่อมต่อกันถึง 380 ล้านคันทั่วโลกในปี 2564 [2] โดยเมื่อรถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มวัตสันไอโอที รถจะสามารถเตือนคนขับเมื่อถึงเวลาต่อประกันหรือเปลี่ยนอะไหล่ คนขับจะสั่งซื้ออะไหล่เหล่านั้นได้โดยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว หรือสามารถกำหนดให้รถทำหน้าที่นัดหมายเพื่อเข้าศูนย์บริการที่ต้องการได้ทันที นอกจากนี้คนขับยังจะสามารถจ่ายค่าน้ำมันผ่านระบบสื่อสารระหว่างรถกับเครื่องจ่ายน้ำมัน

อุปกรณ์ฟิตเนสที่นักวิ่งสวมใส่จะสามารถสื่อสารกับชิพติดตามการวิ่งไร้สาย และแจ้งเตือนทันทีเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนรองเท้าวิ่งคู่ใหม่ พร้อมแสดงคำแนะนำเกี่ยวกับรองเท้ารุ่นต่างๆ จากร้านประจำ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือสมรรถภาพทางกายของแต่ละคน พร้อมนำเข้าสู่กระบวนการสั่งซื้อได้ทันที

การใช้งานและเชื่อมต่อ ลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มวัตสันไอโอทีจะสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของวีซ่าได้ผ่านไอบีเอ็มคลาวด์ โดยไอบีเอ็มและวีซ่าจะเปิดให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงความสามารถต่างๆ เพื่อลงมือพัฒนารูปแบบประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคนได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย

นอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการการชำระเงินในรูปแบบเฉพาะบุคคลได้ ณ จุดขายแล้ว ข้อมูลของลูกค้ายังจะได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัยด้วย Visa Token Serviceที่แทนที่ข้อมูลบัญชีบนหน้าบัตรเครดิตด้วยระบบระบุตัวตนดิจิทัล ทำให้ผู้ใช้สามารถชำระเงินได้โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลบนบัตรให้ใครเห็น โดยบริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงระบบ Visa Token Service ได้ผ่านโครงการความร่วมมือ Visa Ready ที่ให้การรับรองว่าการชำระเงินโดยบุคคลที่สามในยุคต่อไปจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยและข้อกำหนดของวีซ่า และเป็นที่ยอมรับได้อย่างมั่นใจทั่วโลก

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่