หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 13 มกราคม 2560
บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมกับภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมหลักสูตรโปรแกรม SAS Programming 1 : Essentials ให้ความรู้ทิศทางแนวโน้มในบทบาทของนักวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นอาชีพยอดนิยมที่วงการอุตสาหกรรมต้องการบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะ
นายณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของแซสในปี 2017 จะมุ่งเข้าไปในภาคการศึกษาให้มากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาบุคลากรด้านนักวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในทุก ๆ อุตสาหกรรมในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ Thailand 4.0 โดยผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมล้วนให้ความสำคัญกับช่องทางธุรกิจในโลกของออนไลน์ ขณะที่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำงานในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการทำงานอยู่บนคลาวด์ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าองค์กรหลายองค์กรที่เคยใช้คนมากในการทำงานเหมือนเช่นในอดีตได้ลดบุคลากรลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่และหันไปใช้โซลูชั่นเฉพาะกับธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการกับลูกค้า
การเข้าไปในภาคการศึกษาของแซสต้องอาศัยพันธมิตรเข้ามาร่วมด้วยโดยล่าสุด แซส ร่วมกับ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญฃี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการฝึกอบรม SAS Programming 1 : Essential ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม 2017 ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาคาร 9 ชั้น 3 ห้อง 301 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในยุคที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาล และองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
รศ.ดร.สุวาณี สุรเสียงสังข์ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการอบรม SAS programming 1 : Essential ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซสให้กับนิสิตระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของภาควิชาฯ ผ่านการอบรมระยะเวลา 3 วัน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าวเช่นเคย โดยมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งล้วนให้ความรู้ด้านเทคนิค วิธีการใช้โปรแกรมแซส อย่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการอบรมไม่ใช่เพียงแค่รู้เทคโนโลยีแต่ต้องรู้เทคนิคด้วย ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดในการทำงานอย่างมืออาชีพ
ดร.สุวาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า การเรียนรู้วิชาสถิติในปัจจุบันนิสิตทุกคนต้องรู้ว่าเรียนรู้เพื่ออะไร มีเป้าหมายอย่างไร เพื่อให้สามารถนำประสบการณ์ไปทำงานได้จริงในยุคปริมาณข้อมูลมีจำนวนมาก ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติจำเป็นต้องมีทักษะและมีกระบวนการคิด โดยเมื่อนิสิตผ่านอบรมหลักสูตรของแซส จะทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ใช้ได้ในการทำงานจริง
ทั้งนี้อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอาชีพ ที่มีโอกาสในการหางานทำและทำรายได้เนื่องจากบุคลากรด้านนี้ยังขาดแคลน ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านนี้ยังมีค่อนข้างน้อย ซึ่งสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องให้ความรู้ ให้ข้อคิด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของนักวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ผลสำรวจของไอดีซีใน 2558 ได้ระบุชัดด้วยว่า ทั่วโลกจะมีความต้องการบุคลากรด้านไอทีเกี่ยวกับคลาวด์ประมาณ 7 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเฉพาะในเอเชียกว่า 2.3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า บุคลากรไอดีด้านบิ๊กดาต้าทั่วโลกมีความต้องการกว่า 4.4 ล้านตำแหน่ง และในเอเชียกว่า 9.6 แสนตำแหน่ง
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.sas.com วันที่ : 13 มกราคม 2560
สรุปจุดเด่นและสเปค OPPO Pad 3 Pro หน้าจอ 144Hz ชิปเซ็ต Snapdragon 8 Gen 3 ลำโพง 8 ตัว แบตฯ 9510mAh
Samsung Galaxy S25 Series สรุปข่าวลือล่าสุดก่อนเปิดตัวต้นปี 2025
OPPO Reno 13 Series ชิปเซ็ต Dimensity 8350 กันน้ำกันฝุ่น IP69 และชาร์จเร็ว 80W!
iQOO 13 5G เจ้าของความแรง Snapdragon Elite 8 + RAM สูงสุด 16GB เคาะราคาในไทย 27,900 เท่านั้น
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย10 ชั่วโมงที่แล้ว