Microsoft ตอบรับนโยบายของรัฐบาลที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ให้เป็นประเทศที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์และทรัพยากรอื่นๆ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการนานาชาติ “Digital Thailand 2016” ไมโครซอฟท์ได้นำเสนอพลังของเทคโนโลยีที่สามารถยกระดับการศึกษาของประเทศไทย ด้วยแนวคิด “Empowering Digital Education” หรือ การเสริมสร้างศักยภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 26 – 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
“เป้าหมายหลักของไมโครซอฟท์คือการเป็นกำลังสำคัญให้กับทุกคนและทุกองค์กรบนโลกเพื่อผลสำเร็จที่ดียิ่งขึ้น การร่วมงาน Digital Thailand 2016 ในครั้งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์พร้อมที่จะบอกแก่สาธารณชนว่า เรามุ่งมั่นใช้พลังของเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ด้วยบริการ แพลตฟอร์มและอุปกรณ์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์ และนอกจากสื่อการเรียนการสอน ไมโครซอฟท์และพันธมิตรองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สอนอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่เพียงแต่มอบประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการเรียนการสอนเท่านั้น เรายังร่วมสร้างความตระหนักในพื้นฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไม่ให้เกิดการละเมิดหรือเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ให้กับเยาวชนอีกด้วย” นายอรพงศ์ เทียนเงิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
สำหรับพื้นที่นิทรรศการของไมโครซอฟท์ ได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 4 แกนหลักสำคัญ ได้แก่
1) Interactive Online Learning & Teaching หรือ การเรียนการสอนแบบอินเตอร์แอคทีฟผ่านระบบออนไลน์ คือการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล โดนเน้นไปที่ Virtual Classroom หรือ ห้องเรียนเสมือน ด้วยการใช้ออฟฟิศ 365 เพื่อการศึกษา (Office 365 Education) ซึ่งประกอบด้วยแอพพลิเคชั่น Word, Excel, PowerPoint ที่สามารถให้นักเรียนทำงานกลุ่มร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ แอพพลิเคชั่น Skype for Business ช่วยให้การเรียนการสอนผ่านทางไกลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยให้อาจารย์กับนักเรียนได้มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง โดยนักเรียนสามารถตอบโต้กับเพื่อนและอาจารย์ได้อย่างสะดวก โดยในห้องเรียน 1 ห้อง จะมีบัญชีผู้เข้าใช้งานได้มากที่สุดถึง 250 คน
2) Cloud for Education และ Public Cloud for Public Good หรือ เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อการศึกษา และ เทคโนโลยีคลาวด์สาธารณะเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นนำเสนอการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานไม่ว่าจะเป็นของนักเรียนหรือบุคลากรขององค์กรการศึกษา อาทิ บริการ Azure หรือ Office 365 และสำหรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์สาธารณะเพื่อสาธารณประโยชน์นั้น ไมโครซอฟท์ได้บริจาคซอฟต์แวร์รวมมูลค่าราว 70 ล้านบาท ให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ กว่า 430 แห่งทั่วประเทศ พร้อมการฝึกอบรมเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยให้องค์กรเหล่านั้นมีศักยภาพที่เพิ่มขึ้นในการที่จะช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสของตนได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Office 365, Skype และ Sway ช่วยให้องค์กรต่างๆ ทำงานได้สำเร็จรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3) Teaching & Learning Innovations หรือ นวัตกรรมสำหรับการเรียนการสอน นำเสนอนวัตกรรมและผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์โดยครูไทยจากโครงการ Microsoft Thailand Innovative Teachers หรือ ครูไทยหัวใจไอที ที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพื่อช่วยแก้ไขข้อจำกัดที่เกิดจากการเรียนการสอนแบบเดิม โดยคุณครูศักดา จันทร์กลั่น จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเพชรบุรี ได้นำเสนอการบูรณาการองค์ความรู้ในวิชาเคมีด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการนำเสนอผ่าน Word, Excel, PowerPoint, Social Network และแอพพลิเคชั่นในการเรียนการสอนอื่นๆ มาบริหารจัดการให้นักเรียนวางแผนการทำโครงงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ความผิดพลาดและเพิ่มโอกาสในความสำเร็จของโครงงานมากขึ้น และคุณครูจักรพงศ์ จันทวงศ์ จากโรงเรียนหางดงราษฎร์อุปถัมป์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำปัญหาจากการที่เด็กนักเรียนใช้สมาร์ทโฟนในห้องเรียนทำให้ขาดสมาธิในการเรียน จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน เช่น ศึกษาระบบการทำงานของร่างกายในรูปแบบ 3 มิติผ่านสมาร์ทโฟน และให้นักเรียนนำเสนอการทดลองผ่าน Sway
4) Learning Everywhere, Anytime หรือ การเรียนรู้ทุกแห่งหน เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไมโครซอฟท์เล็งเห็นความสำคัญของสันทนาการทางศึกษา (Edutainment) และการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนผ่านอุปกรณ์วินโดวส์ 10 ที่ช่วยให้เกิดการเรียนการสอนแบบอินเตอร์แอคทีฟและเรียลไทม์ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังนำเสนอการประยุกต์เทคโนโลยีร่วมกับแนวคิดการเรียนการสอนในรูปแบบเกม (game-based learning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าสนใจของการเรียนการสอนผ่านแอพพลิเคชั่นสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ซึ่งทำงานร่วมกับเครื่อง Kinect ที่มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ออกแบบมาเพื่อสร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กมีความกระตือรือร้นมากขึ้น โดยผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ ตามที่กำหนด เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
นอกจากการนำเสนอผลงานบนแกนหลักทั้ง 4 ดังที่กล่าวมาแล้ว ไมโครซอฟท์ยังร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดกิจกรรมพิเศษ Hour of Code โดยการสอนเขียนโค้ดเบื้องต้นผ่านเกม Minecraft แก่เยาวชนที่ร่วมงาน เพื่อกระตุ้นความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในกลุ่มเยาวชนไทย ซึ่งการเขียนโค้ดนั้นจะสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานให้เยาวชนในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมเขียนโค้ด และ ลุงพี-ภควัต ลือพัฒนสุข นักพากย์เกมชื่อดังขวัญใจเด็กๆ มาร่วมสร้างสีสันด้วยการพากย์เกมสด Minecraft ในงานด้วย
การเรียนเขียนโค้ดผ่านเกม Minecraft นั้น ได้รับการออกแบบและพัฒนามาเพื่อเยาวชนอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มุ่งให้เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ดเบื้องต้น และสัมผัสประสบการณ์เกม Minecraft ในโลก 2 มิติ โดยผู้เล่นจะได้เรียนการเขียนโค้ดผ่านการเก็บบล็อคเพื่อสร้างโค้ดคอมพิวเตอร์ ใน 14 ด่าน แบบไม่จำกัดเวลา เพื่อค้นหาและเรียนรู้คอนเซ็ปต์การเขียนโค้ดตลอดการเล่นเกม
ส่วนในด้านกิจกรรมเสวนาเชิงวิชาการ นางสาวแองเจลา แม็คเคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและกลยุทธ์ความปลอดภัยภาครัฐของไมโครซอฟท์ ได้เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการปกป้องคุ้มครองข้อมูลในโลกออนไลน์ ด้วยการกล่าวปาฐกฐาพิเศษในหัวข้อ “How the Shield was Forged in Microsoft’s Way” หรือ “การสร้างเกราะคุ้มกันจากภัยร้ายในโลกไซเบอร์ ตามแนวทางของไมโครซอฟท์” เพื่อเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของไมโครซอฟท์ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในโลกดิจิทัล ทั้งในเชิงเทคโนโลยี แนวคิด นโยบาย และความร่วมมือกับแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
“ไมโครซอฟท์เชื่อว่าเราทุกคนได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้วอย่างเต็มตัว โดยทุกภาคอุตสาหกรรมและทุกองค์กรธุรกิจควรต้องนำนวัตกรรมดิจิทัลมาปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานกันในทุกภาคส่วน” นางสาวแม็คเคย์ กล่าว “นั่นหมายความว่าองค์กรทุกแห่งต้องถือว่าตนเองเป็นบริษัทไอทีด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งจะทำให้การรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลกลายเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมแรงร่วมใจกันผลักดัน ซึ่งสำหรับไมโครซอฟท์เอง เรามีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มอบความอุ่นใจให้กับผู้ใช้ และต่อสู้กับอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ ทั้งในเชิงปฏิบัติการและนโยบาย”
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.microsoft.com วันที่ : 2 มิถุนายน 2559
Redmi Watch 5 สมาร์ทวอทช์รุ่นแรกรันบน HyperOS 2 หน้าจอสี่เหลี่ยม AMOLED กว้าง 2.07 นิ้ว
ลือ! iPhone 17 และ iPhone 17 Air ยังไม่มีซูม Optical 5x ฟีเจอร์นี้มีเฉพาะรุ่น Pro
iQOO Neo 10 Series สเปคเทพ กล้องสวย ดีไซน์โดนใจ เปิดตัว 29 พฤศจิกายนนี้
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging
LAVA Yuva 4 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ราคาประหยัด สเปคคุ้มค่าเกินราคา
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย14 ชั่วโมงที่แล้ว