นวัตกรรม (Innovation)  |   วันที่ : 7 มีนาคม 2559

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

หลังจากที่ เน็ตแอพ บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก ได้เผยให้เห็นวิสัยทัศน์ล่าสุดด้านการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ไปเมื่อเร็วๆ นี้ (ในงานสัมมนาเชิงเทคโนโลยีประจำปีที่ลาสเวกัส (NETAPP INSIGHT TECHNICAL CONFERENCE) ล่าสุดจากการเปิดเผยข้อมูลจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงให้ความสำคัญต่อนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ, การพัฒนาระบบคลาวด์ภาครัฐและการให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ เป็นต้น

ข้อมูลจากไอดีซี (Internet Data Center) ได้เปิดเผยการคาดการณ์ 10 แนวโน้มสำคัญของภาคธุรกิจและภาคเทคโนโลยีของประเทศไทยในปี 2559 ว่า หลายๆ องค์กรจะมีการลงทุนใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 มากขึ้น โดยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 นั้นประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ คลาวด์ โมบิลิตี้ บิ้กดาต้าอนาไลติกส์ และ โซเชียล

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ร้านค้า โรงแรม หรือธุรกิจภาคบริการบางประเภทใช้การผสมผสานกันของเทคโนโลยีโมบิลิตี้บิ้กดาต้าและคลาวด์เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจที่ดีที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ คลาวด์จะกลายเป็นการลงทุนพื้นฐานทางด้านไอทีภายในปี 2561 การลงทุนด้านคลาวด์จะมีสัดส่วนเป็นอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด และภายในปี 2563 - 30% ของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับคลาวด์ 30-35% ของค่าใช้จ่ายด้านการบริการซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีจะใช้ไปกับคลาวด์

ในปี 2559 นั้นองค์กรต่างๆ มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานบริการผ่านคลาวด์ โครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 หรือดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชั่นในเชิงธุรกิจนั้นจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มีคลาวด์เป็นพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าองค์กรเหล่านั้น จะต้องเพิ่มการใช้บริการผ่านคลาวด์ขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงของบริการผ่านคลาวด์จากความเป็นสถาปัตยกรรม “ใหม่” ไปสู่ความเป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานนั้นจะมีนัยสำคัญสำหรับผู้นำด้านไอทีและธุรกิจ

จากการสำรวจของเน็ตแอพ เผยให้เห็นมุมมองการทำงานของแผนกไอทีในองค์กรต่างๆ ซึ่งต้องพบกับแรงกดดันที่เกิดขึ้นภายในบริษัทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขณะที่ต้นทุนลดลง เทคโนโลยีคลาวด์จึงเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมขององค์กรในหลากหลายภาคธุรกิจ

ในขณะที่การให้บริการคลาวด์กำลังพัฒนาต่อเนื่อง หลายภาคธุรกิจกำลังมองหาวิธีใช้คลาวด์อย่างเต็มศักยภาพพร้อมพิจารณาที่จะนำการใช้งานคลาวด์แบบผสมผสาน หรือ “ไฮบริดคลาวด์” มาใช้เพื่อตอบโจทย์การใช้งานบางประเภท และนโยบายขององค์กร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีคลาวด์ให้เลือกใช้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • Private Cloud คือการสร้าง Cloud ในองค์กรของตนเอง
  • Cloud Service Provider ผู้ให้บริการ Cloud โดยทั่วไป เช่น ผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศ
  • Hyper Scale Cloud คือผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่ระดับโลก เช่น Amazon Web Service, Microsoft Azure หรือ IBM/SoftLayer

ซึ่งทั้งหมดสามารถบริหารจัดการข้อมูลในเงื่อนไขที่ต่างกัน แต่เนื่องด้วยปัจจัยในการพิจารณาการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท และปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ประเภทของ Cloud ในแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกันไปรวมถึงข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น Performance , Security จึงทำให้ไม่มีรูปแบบของคลาวด์แบบไหนแบบหนึ่งสามารถตอบโจทย์องค์กรได้ทั้งหมด จึงจำเป็นจะต้องใช้ Cloud แบบผสมผสาน หรือเรียกว่า Hybrid Cloud

แต่อย่างไรการใช้งาน Hybrid Cloud ก็ยังมีอุปสรรคหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น

ลองจินตนาการดูว่า หากคุณต้องการนำเงิน (เปรียบเสมือนข้อมูล) ไปฝากไว้ที่ธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่ง (คลาวด์) เพื่อลงทุน หรือ เก็บออม (เปรียบเหมือนการ Backup) แต่ไม่กี่เดือนต่อมาคุณต้องการนำเงินนั้นไปฝากไว้ที่ธนาคารแห่งใหม่ เพราะให้ผลตอบแทนที่คุ้มกว่า หรือ มีเงื่อนไขที่ดีกว่า สะดวกกว่า แต่ได้รับการแจ้งจากธนาคารเดิมที่ฝากไว้ในตอนแรกว่า เงินนั้นอยู่ในรูปแบบเฉพาะของทางธนาคาร (เช่น อาจเป็นเงินสกุลอื่น) หากต้องการจะย้ายเงินไปที่อื่น จะต้องมีการเปลี่ยนค่าเงินเป็นอีกสกุลหนึ่งที่ทางธนาคารไม่ได้ถือไว้ และอาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากค่าธรรมเนียม หรือ อัตราแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้น คุณคงรู้สึกอึดอัดและลำบากใจไม่น้อย สถานการณ์ตามตัวอย่างนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่จัดเก็บในไฮบริดคลาวด์ ณ ปัจจุบัน

เน็ตแอพ ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาและเอาชนะความท้าทายในการบริหารข้อมูลบนไฮบริด คลาวด์ ทั้งยังทำให้องค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลกลับมาควบคุมข้อมูลได้อย่างราบรื่น ลองคิดดูว่าถ้าองค์กรเจ้าของข้อมูลสามารถบริหารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายบนคลาวด์ต่างๆ ได้อย่างราบรื่นเหมือนกับผืนผ้าที่ทักทอเข้าไว้ด้วยกัน เน็ตแอพเรียกความสามารถและสถาปัตยกรรมนี้ว่า ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) สำหรับการใช้งานบนไฮบริด คลาวด์ ดาต้า แฟบริค ช่วยให้ผู้ใช้และลูกค้าสามารถควบคุม รวบรวม และโยกย้ายข้อมูลข้ามคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากความคุ้มและยืดหยุ่นของเทคโนโลยีคลาวด์ ขณะที่ยังสามารถบริหารข้อมูลของตนที่อยู่บนคลาวด์ต่างๆ ได้

ล่าสุด เน็ตแอพได้ออกโซลูชั่นใหม่ ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ที่นำเสนอบริการเพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์เรื่อง ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ประกอบด้วย

  • Clustered Data ONTAP 8.3 โซลูชั่น ระบบปฏิบัติการสตอเรจอันดับ 1 ของโลก เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
  • Cloud ONTAP เป็นการนำระบบปฏิบัติการสตอเรจอันดับ 1 ของโลกอย่าง Data ONTAP ไปวิ่งอยู่บน Hyper-Scale Cloud ทั้ง Amazon Web Service, Microsoft Azure เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการจาก Service Catalog เพื่อเชื่อมต่อกับ NetApp Storage ที่ใช้บริการอยู่ใน Data Center ตนเองได้
  • OnCommand Cloud Manager ช่วยให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ สามารถบริหารจัดการ NetApp Storage ในองค์กร และ Cloud ONTAP ได้พร้อมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุดระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนคลาวด์ ต่างๆ ได้
  • NetApp Private Storage for Public Cloud (NPS) โดยเป็นการนำ NetApp Storage ไปวางใน Data Center เดียวกับ Hyper Scale Cloud Provider ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Microsoft Azure และขณะนี้สามารถรองรับไปถึง IBM/SoftLayer ซึ่งทำให้องค์กรสามารถเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ตามต้องการ ในขณะที่ยังสามารถควบคุมและเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นอยู่
  • บริการกำหนดกลยุทธ์ การออกแบบ การเคลื่อนย้ายและบริการส่งผ่านข้อมูลช่วยให้ลูกค้าระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์เล็งเห็นและวางโครงสร้างการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ได้ตรงตามเป้าหมายการใช้งาน เพื่อให้เปลี่ยนผ่านไปเป็นไฮบริด คลาวด์ได้สำเร็จ

ด้วยวิสัยทัศน์ ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ที่เน็ตแอพนำเสนอ ผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง เน็ตแอพช่วยให้ลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มองค์กรใช้งานไฮบริด คลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในเรื่องของ การลดค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ปรับปรุงการตอบรับได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มขีดการใช้งานบนนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ช่วยให้ผู้ใช้ ใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ และมุ่งสู่นวัตกรรมที่ทำให้เน็ตแอพแตกต่างจากที่อื่น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.netapp.com

 

Acer Liquid X2 มาพร้อมกล้องหน้า-หลัง 13MP ที่สามารถปรับความสว่างของภาพได้ทุกช่วงเวลา ตลอดทั้งวัน อยากรู้ว่าจะสุดแค่ไหน ไปทดองเล่นเครื่องจริงได้ที่ตัวแทนจำหน่าย Acer ทุกสาขานะครับ

โพสต์โดย Acer Thailand บน 23 มีนาคม 2016

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่