หมวดอื่นๆ (Other)  |   วันที่ : 19 พฤษภาคม 2558

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เยาวชนไทยสร้างชื่อด้วยการสังเกตุ ประยุกต์เอาความรู้ในท้องถิ่น ผนวกกับการคิดวิเคราะห์ และทดลองทางวิทยาศาสตร์ ประสบความสำเร็จกับการคว้า 9 รางวัลจากการส่ง 5 โครงงานเข้าประกวดใน อินเทล ไอเซฟ การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นที่รัฐพิตต์สเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลงานจากนักเรียนไทยที่มีชื่อว่า “การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการพ่นใยเพื่อผลิตแผ่นใยไหม” พัฒนาโดย นายนัทธพงศ์ เชื้อศิริถาวร, นายธนานนท์ หิรัณย์วาณิชชากร และนางสาวสุทธิลักษณ์ รักดี จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศประเภทสัตวศาสตร์ โดยได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษามูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐ และได้รับโอกาสให้เดินทางไปยังประเทศอิตาลีเพื่อร่วมการแข่งขันวิทยาศาสตร์เยาวชน (Contest for Young Scientists) มูลค่า 5,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมด้วยรางวัล First Physical Science Award มูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ จาก The Scientific Research Society พร้อมด้วยเงินรางวัลชนะเลิศประจำสาขาการแข่งขันอีก 3,000 เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้โครงงานที่มีชื่อว่า “ผลของสารสกัดหยาบจากหญ้าคาที่มีต่ออัตราการรอดชีวิตและอัตราการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและผลกระทบต่อแมลงตัวห้ำไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” พัฒนาโดย นายวสุ ชวนะสุพิชญ์, นางสาววณิชา โคตรวงศ์ษา และนางสาวณัชมุกดา ไพบูลย์ จากโรงเรียนสาธิต ม.ขอนแก่น (มอดินแดง) ยังคว้ารางวัลอันดับ 3 ในสาขาพฤกษศาสตร์ เป็นทุนการศึกษามูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐ และได้รับรางวัลพิเศษซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทมอนซานโต


ส่วนโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี ก็ทำผลงานได้โดดเด่นเช่นกันโดยมีนักเรียนถึงสองทีม ที่คว้ารางวัลอันดับ 3 ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พร้อมทุนการศึกษามูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐมาได้สำเร็จ จากผลงานดังต่อไปนี้

  • ผลงาน “บรรจุภัณฑ์ชีวภาพจากเซลลูโลสในดอกบัว” พัฒนาโดยนายธีรพัฒน์ มาน้อย, นายยุทธศาสตร์ สอนประสม และนายฤทธิกุล ธรฤทธิ์
  • ผลงาน “การดัดแปลงโครงสร้าง NANO MEMBRANE COMPACT จากคาร์บอนโพรงเซลลูโลสที่ติดด้วยเม็ดสีคอมโพสิตกับ TiO2” พัฒนาโดยนายปัณณวัฒน์ เพียรจัด และนางสาวอรวรรณ ทัศนเบญจกุล

นอกจากนั้นโครงงาน “การพัฒนาสารยึดติดกล้ากล้วยไม้จากยางผลกาฝาก” ผลงานของนายวัฒนะ ทำของดี จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลอันดับ 4 เป็นทุนการศึกษามูลค่า 500 เหรียญสหรัฐ ในสาขาพฤกษศาสตร์ อีกด้วย

ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในงานครั้งนี้คือ เรย์มอนด์ หวัง อายุ 17 ปีจากแคนาดา สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ จากผลงานระบบระบายอากาศรูปแบบใหม่สำหรับห้องโดยสารเครื่องบิน เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ระบบระบายอากาศที่คิดค้นโดยเรย์มอนด์ หวัง สามารถช่วยให้ห้องโดยสารของเครื่องบินมีปริมาณอากาศที่สดชื่นมากขึ้นถึงร้อยละ 190 ทั้งยังการสูดหายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้สูงสุดถึง 55 เท่าตัว เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังสามารถนำไปติดตั้งในอากาศยานต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และมีราคาถูกอีกด้วย โดยในฐานะผู้ชนะการแข่งขัน นายหวังได้รับรางวัล กอร์ดอน อี. มัวร์ เป็นทุนการศึกษามูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล

ด้านเรย์มอนด์ หวัง อายุ 17 ปีจากแคนาดา สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประจำปี 2558 (Intel ISEF 2015) ไปครองได้สำเร็จ จากผลงานระบบระบายอากาศรูปแบบใหม่สำหรับห้องโดยสารเครื่องบิน เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค หนึ่งในโครงการจาก Society for Science and the Public

ระบบระบายอากาศที่คิดค้นโดยเรย์มอนด์ หวัง สามารถช่วยให้ห้องโดยสารของเครื่องบินมีปริมาณอากาศที่สดชื่นมากขึ้นถึงร้อยละ 190 ทั้งยังการสูดหายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้สูงสุดถึง 55 เท่าตัว เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังสามารถนำไปติดตั้งในอากาศยานต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และมีราคาถูกอีกด้วย โดยในฐานะผู้ชนะการแข่งขัน นายหวังได้รับรางวัล กอร์ดอน อี. มัวร์ เป็นทุนการศึกษามูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล

อีกหนึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จากแคนาดา นิโคล ทิเซีย อายุ 16 ปี ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสองผู้ชนะรางวัล Intel Foundation Young Scientist Award รับทุนการศึกษามูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐ จากการคิดค้นอุปกรณ์ราคาถูก ใช้งานง่าย เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV ในชุมชนผู้ยากไร้ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ทั้งยังแจ้งผลได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง และอาจมีต้นทุนการผลิตไม่ถึง 5 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ทิเซียได้เดินหน้าเปิดบริษัทเป็นของตนเองแล้ว ทั้งยังได้รับทุนสนับสนุนจำนวนกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไปได้

ส่วนคาราน เจราธ อายุ 18 ปีจากเมืองเฟรนด์สวูด รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา คว้าอีกหนึ่งรางวัล Intel Foundation Young Scientist Award ไปครอง พร้อมทุนการศึกษามูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐเช่นกัน จากการสร้างสรรค์อุปกรณ์ที่ช่วยหยุดยั้งการรั่วไหลของบ่อน้ำมันใต้ทะเลในกรณีที่สูญเสียการควบคุมแรงดัน โดยอุปกรณ์ของเจราธจะช่วยแยกก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และน้ำทะเลออกจากกันได้ดีกว่าระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน รองรับหลากหลายระดับความลึก ขนาดท่อ และส่วนผสมของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของสารมีเทนไฮเดรท ซึ่งอาจทำให้ท่อส่งก๊าซและน้ำมันอุดตันได้อีกด้วย

สติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อินเทลเชื่อมั่นว่าเยาวชนคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต ที่จะจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่โลกเราต้องเผชิญในอนาคตให้สำเร็จไปได้ ดังนั้นเราจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาในทุกสาขาได้เรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์กันอย่างทั่วถึง เราหวังว่าผู้ชนะในทุกสาขาจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนเยาวชนหันมาสนใจศึกษาในศาสตร์เหล่านี้ และนำทั้งความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่โลกของเราต่อไป”

การแข่งขันประจำปีนี้ มีนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์กว่า 1,700 คนร่วมส่งโครงงานเข้าประกวด โดยทุกคนผ่านการคัดเลือกมาจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์กว่า 422 งานใน 75 ประเทศทั่วโลก นอกจากผู้ชนะเลิศรางวัลใหญ่ต่างๆ แล้ว ยังมีทีมนักเรียนอีกกว่า 600 ทีมที่ได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาเป็นผลตอบแทนจากผลงานการสร้างสรรค์ รวมถึงรางวัลยอดเยี่ยมประจำสาขารวม 20 รางวัล มูลค่ารางวัลละ 5,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ทางมูลนิธิอินเทลยังมอบทุนการศึกษามูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐให้กับสถานศึกษาต้นสังกัดและการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ของผู้ชนะทุกคนอีกด้วย

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่