หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 11 กันยายน 2557
สำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ คนคงกังวลกับปัญหาเรื่องความปลอดภัย และปัญหาความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหามัลแวร์ หรือการแฮ็กข้อมูล จากมิจฉาชีพ ซึ่งทำให้สุ่มเสี่ยงเกิดความเสียหาย เพราะอยู่ในยุคที่นิยมส่งข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงการบันทึกข้อมูลต่างๆ อาทิ รหัสบัตรเครดิต อีเมลไว้ในโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นเราจะดูแล และป้องกันสมารท์โฟนให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพเมื่อใช้งานได้อย่างไร....?
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. เริ่มกันที่วิธีแรกเป็นวิธีที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตทุกคนควรที่จะปฏิบัติไว้นั่นคือ การตั้ง Password สำหรับการล็อคเครื่อง เพราะว่าวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีเบื้องต้นในการป้องกันว่าจะมีแต่เราเท่านั้นที่จะสามารถใช้งานได้ อีกทั้งควรที่จะตั้ง Password ให้มีความคาดเดาได้ยาก
2. นอกจากการตั้ง Password สำหรับล็อคเครื่องแล้ว ควรที่จะตรวจสอบว่าสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นล็อคหน้าจออัตโนมัติหรือไม่ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งล็อคคือ 2 - 5 นาที
3. ติดตั้งแอพฯรักษาความปลอดภัย อาทิ แอพฯ ป้องกันมัลแวร์, แอพฯ ทำความสะอาดไฟล์แคช และลบประวัติการใช้งานเว็บบราวเซอร์ เป็นต้น
4. ดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการจาก OS Store ของตนเองโดยตรง นอกจากนี้หากควรจะสังเกตถึงที่มา, ผู้พัฒนา, รีวิวจากผู้ใช้งาน รวมถึงเสริท์ชื่อแอพฯ อีกหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูว่าในชื่อนี้มีกี่แอพฯ และมีผู้พัฒนาเป็นใครบ้าง (วิธีสังเกตแอพฯ ปลอมอ่านบทความได้ที่นี่)
5. อัพเดท OS ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะหลายๆ คนคงเคยได้ยินข่าวว่า OS ที่บริษัทต่างๆ ได้พัฒนามาในแต่ละเวอร์ชั่น ได้ถูกแฮกเกอร์แฮกข้อมูล หรือฝังมัลแวร์ไว้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรมั่นตรวจสอบข่าวสารการอัพเดทอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย และปรับปรุงการทำงานของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ระมัดระวังอีเมล หรือข้อความใดๆ ที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา นอกจากนี้บางข้อความยังมีลิงค์ที่เชิญชวนให้กดเปิดอ่าน อาทิ คุณได้รับรางวัล, คุณมีเช็คที่ยังไม่ได้รับ กรุณากรอกรหัสบัญชี เป็นต้น นอกจากผู้ใช้งานควรมั่นตรวจสอบค่าบริการโทรศัพท์ของตนเองอยู่เสมอ ว่ามีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ และถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายโดยเร็ว
7. หลีกเลี่ยงการเจลเบรก (Jailbreak) เพราะเมื่อเจลเบรกไปแล้ว ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่างๆ จะถูกยกเลิก ซึ่งการเจลเบรกจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบปฏิบัติการ รวมถึงฟังก์ชั่น แอพฯต่างๆ ได้โดยตรง ดังนั้นหากผู้ใช้งานไม่มีความรู้ที่เพียงพอจะทำให้สุ่มเสี่ยมเกิดความเสียหายตามมาภายหลังได้
8. หลีกเลี่ยงการตั้งค่าการเชื่อมต่ออัตโนมัติทุกประเภท เช่น Bluetooth, Wi-Fi, NFC และควรที่จะปิดการเชื่อมต่อทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการจะเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงเสมอว่าเครือข่ายสาธารณะ มักไม่มีการป้องกัน และมาตราฐานความปลอดภัยที่มากพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย Wi-Fi (อ่านบทความได้ที่นี่)
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : nakedsecurity.sophos.com วันที่ : 11 กันยายน 2557
ลือ! iPhone 17 อาจเป็นรุ่นแรกที่รองรับวิดีโอ 8K หลัง Android ทำได้นานแล้ว
รีวิว nubia Neo3 5G มือถือเกมมิ่ง Born to Win ดีไซน์สุดท่ มี Tiggers เล่นเกมฟินๆ หน้าจอ 120Hz สเป...
ภาพหลุดล่าสุด! เปรียบเทียบความบาง iPhone 17 Air กับ iPhone 17 Pro บางเฉียบจนน่าตกใจ
vivo โชว์พลังกล้องเรือธง X200 Ultra ที่พัฒนาร่วมกับ Fujifilm ก่อนเปิดตัวเมษาฯ นี้
realme 14 5G series เจ้าของฉายา Performance Dominator จัดเต็มประสิทธิภาพ เปิดราคาแล้ว
Samsung Galaxy A06 5G หน้าจอ 90Hz กล้องหลัง 3 เลนส์ อัปเดต OS นาน 4 ปี ราคา 5,499 บาท
Samsung A56 5G สมาร์ทโฟนระดับกลางที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย
สรุปจุดเด่นและสเปค OPPO A5 Pro 5G กันน้ำ IP69 หน้าจอ 120Hz ลำโพงคู่ ชาร์จเร็ว 45W
เปิดตัวแล้ว! Xiaomi Redmi Note 14S มาพร้อมกล้อง 200MP จอ 120Hz ในราคาสุดคุ้ม
สรุปจุดเด่นและสเปค Samsung Galaxy A56 ฟีเจอร์ AI แน่นสุดของรุ่น กล้องหลัง 3 เลนส์ ชาร์จเร็ว 45 วัตต์