แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 10 กรกฎาคม 2557
ในปัจจุบันเรามีแนวโน้มจะต้องปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีมากขึ้นในทุกๆ กิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในโลกแห่งการทำงานหรือในชีวิตส่วนตัว เทคโนโลยีที่รายล้อมรอบตัวเหล่านี้ล้วนบีบบังคับให้เราเชื่อมโยงกับคนทั้งโลกผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายขนาดมหึมาที่ประกอบไปด้วยคลังข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาล รัฐบาลทั่วโลกจึงกำลังผลักดันให้ประชากรเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด
แม้แต่ตลาดงานก็มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางเทคโนโลยีมากถึง 51% และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงถึง 77-80%ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า การเตรียมความพร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงต้องส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อปูทางให้สามารถพัฒนาทักษะในด้านนี้จากการเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นที่มาของโครงการต่างๆ ซึ่งผลักดันเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน รวมถึงโมเดลที่กำลังพูดถึงกันมากในปัจจุบันคือ “Smart Classroom”
Smart Classroom เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะการถ่ายทอดแบบ Face to Face นั้นเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการปฏิสัมพันธ์ทางความรู้อย่างรวดเร็วที่เกิดจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ครูไม่สามารถอัปเดทความรู้ทุกอย่างเพื่อไปถ่ายทอดให้นักเรียนได้ตลอดเวลา วิธีการเดียวคือต้องหยิบยื่นเครื่องมือให้เด็กเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและบริหารจัดการได้อย่างรัดกุม
แนวคิดเรื่อง Smart Classroom นี้ ในหลายประเทศกำลังทดลองศึกษารูปแบบและวิธีการกันอยู่ ซึ่งก็มีแนวทางที่แตกต่างกันไปในแต่ละบริบท สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน เราควรปรับใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในวงการการศึกษาของเรา ในฐานะผู้ดำเนินการด้านการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดิฉันขอเสนอแนะแนวทางที่น่าสนใจ รวมถึงขอใช้โอกาสนี้แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
สถานการณ์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของเด็กไทย หลายคนคงสงสัยที่บอกว่าเด็กไทยขาดความรู้ทางเทคโนโลยีนั้นเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อทุกวันนี้แม้แต่นักเรียนอนุบาลยังใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนกัน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทักษะหรือความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่กำลังพูดถึงมีหลายระดับ ในอดีตเราผลักดันให้นักเรียนมี Computer Literacy คือความสามารถในระดับผู้ใช้งาน เปิดคอมพิวเตอร์เป็น พิมพ์งานได้ ใช้โปรแกรมถูก แต่ในปัจจุบันเราต้องการมากกว่านั้น คือ Information Literacy (การรู้ข้อมูล) และ Media Literacy (การรู้สื่อ) สิ่งที่ประเทศไทยกำลังขาดคือความสามารถเชิงการคิดเพื่อออกแบบวิธีแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ ได้ ความกังวลในทุกวันนี้จึงอยู่ที่เด็กไทยจะใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาสาระแบบใด และนำไปสู่หัวใจของการเรียนรู้ที่สร้างวิธีการคิดการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องได้หรือไม่ต่างหาก ซึ่งใน Smart Classroom จะต้องถูกออกแบบการเรียนการสอนในทุกวิชาเพื่อสร้างวิธีคิดตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และประมวลผลได้ดี
การปรับและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบท นวัตกรรมไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ละโรงเรียนสามารถปรับใช้สิ่งที่มีอยู่เพื่อสร้าง Smart Classroom ในแบบของตัวเองให้เหมาะสมสำหรับนักเรียนและครู เราจะต้องไม่ให้ความสำคัญกับตัวเทคโนโลยีมากเกินไป จนหลงลืมหัวใจของการเรียนรู้คือการสร้างกระบวนการสร้างความเข้าใจและวิธีคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ห้องเรียนที่มีแค่คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง จอโทรทัศน์หนึ่งตัว ก็สามารถสร้าง Smart Classroom ขึ้นมาได้
บทบาทของครูในห้องเรียนแบบใหม่ ครูไทยต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่คอยป้อนความรู้ทุกอย่างแก่นักเรียน มาเป็นครูที่สามารถชี้แนะให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเองผ่านเครื่องมือหรือช่องทางต่างๆ ซึ่งครูจะต้องได้รับการส่งเสริมให้สามารถสร้างดิจิทัลคอนเทนท์ได้ด้วยตนเอง เพื่อใช้เนื้อหาสาระนี้เป็นแกนหลักสำหรับการเรียนการสอนนอกเหนือจากความรู้แหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ครูต้องสอนให้นักเรียนรู้จัก จริยธรรมทางเทคโนโลยี (Technology Ethics) ในการเข้าถึงข้อมูล โดยจะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมห้องเรียนให้สามารถดำเนินไปในแนวทางที่ต้องการได้
การประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นอกจากครูและนักเรียนในชั้นเรียนแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษานิเทศก์มีส่วนสำคัญมากในการผลักดัน Smart Classroom ผู้บริหารต้องเข้าใจแนวความคิดและรูปแบบ รวมถึงมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ จึงจะสามารถวางนโยบายให้เกิดการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันทั้งองคาพยพ นอกจากนี้ความร่วมมือจากส่วนอื่นๆ เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน ล้วนมีความสำคัญที่จะสนับสนุนโครงการให้ประสบความสำเร็จ
การขับเคลื่อนเชิงนโยบายจากรัฐบาล การศึกษาถือเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนของประเทศ แต่น่าสังเกตว่า ผู้ที่เข้ามากำกับดูแลการศึกษาของชาติในเชิงนโยบาย ยังไม่สามารถกำกับนโยบายให้ขับเคลื่อนได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้เต็มที่ ยังไม่นับรวมถึงระบบราชการไทยที่ยังเป็นประเด็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิรูปการศึกษาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างการพัฒนาบุคลากร ที่มักมีการทำให้ครูมุ่งความสำคัญไปที่การเป็นนักบริหารมากกว่าที่จะสนใจในการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนของตนเอง นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนใหญ่และโรงเรียนเล็กที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นำมาซึ่งปัญหาซ้ำซ้อนนานัปการ การแก้ไขปัญหาอาจกลับมาแก้กันที่จุดเริ่มต้น เช่น โครงสร้างค่าตอบแทนและการส่งเสริมครู การให้ความสำคัญกับสถาบันผลิตครู การส่งเสริมโรงเรียนให้มีมาตรฐานไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก ที่สำคัญคือต้องมีความจริงใจในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องกัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ หากทำได้อย่างนี้แล้ว เชื่อว่าเรายังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปีหน้า ซึ่งแน่นอนว่าแรงงานไทยกำลังถูกท้าทายจากสถานการณ์การแข่งขันรอบด้าน หวังว่าแนวคิดเรื่อง “Smart Classroom” คงจะเป็นรูปธรรมขึ้นในเร็ววันอย่างน้อยก็เป็นการติดอาวุธให้กับเด็กไทยเพื่อให้มีความพร้อมในการต่อสู้บนเวทีโลกได้ดีขึ้น
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
วันที่ : 10 กรกฎาคม 2557
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
DJI Mic Mini ไมโครโฟนไร้สายขนาดเล็กรุ่นใหม่ในตระกูล OsmoAudio
OPPO ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่แบบจัดเต็ม ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำสมัยพร้อมโปรโมชั่น
Xiaomi Store สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน จัดกิจกรรมและโปรโมชันพิเศษฉลองเปิดสาขา
รีวิว OPPO Enco Air4 สัมผัสเสียงที่ชัดเจนและไร้สิ่งรบกวน พร้อมฟีเจอร์ ANC
OPPO Enco Air4 และ OPPO Pad 3 Pro คู่หูอุปกรณ์ IoT สุดล้ำที่พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
vivo Y300 5G หน้าจอ AMOLED-120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP64 ชาร์จเร็ว 80W ลำโพง Hi-Res
OPPO Enco Air4 และ OPPO Pad 3 Pro คู่หูอุปกรณ์ IoT สุดล้ำที่พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
สรุปจุดเด่นและสเปค OPPO Pad 3 Pro หน้าจอ 144Hz ชิปเซ็ต Snapdragon 8 Gen 3 ลำโพง 8 ตัว แบตฯ 9510mAh
เตรียมเปิดตัว HUAWEI MatePad 12 X แท็บเล็ตฟังก์ชันเรือธง ผสานการทำงานกับอุปกรณ์เสริมอย่างไร้รอยต่อ
LAVA Yuva 4 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ราคาประหยัด สเปคคุ้มค่าเกินราคา
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย16 ชั่วโมงที่แล้ว