แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 11 มีนาคม 2557

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

นางสาวชลดา บุญเกษม กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เสนอให้กสทช. “มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เคร่งครัดกับผู้ประกอบการที่กระทำการผิดกฎหมาย เช่น ไม่ขออนุญาตในการโฆษณา มีการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ เกินจริง หรือปกปิดข้อมูลจนเป็นเหตุให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสินค้าและบริการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปรับเชิงลงโทษ การเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกาศวิทยุและโทรทัศน์ การระงับการออกอากาศ การปิดรายการ และการเพิกถอนใบอนุญาต”

นอกจากนี้ “กสทช. ต้องยึดหลักการการกระจายการถือครองและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้ครอบคลุมองค์กรสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ นอกเหนือจากหน่วยงานรัฐ เพื่อมิให้กลายเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานรัฐซึ่งนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเป็นเพียงช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสารของตนเท่านั้น รวมทั้งกำหนดสัดส่วนคลื่นความถี่ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบในทุกพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริการในระดับชุมชน”

ส่วน นางมณี จิรโชติมงคลกุล เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กสทช. ควรมีแผนการให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ ที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจควรมีการจัดการอย่างไร หากต้องการรับชมเนื้อหารายการต่างๆ ผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล, กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกทั้งในระบบเคเบิล และดาวเทียม และในแต่ช่องทางมีความแตกต่างกันอย่างไร จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ใด ควรให้ข้อมูลกับผู้บริโภคอย่างถูกต้อง ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด”

กสทช.ควรจัดทำแผนให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการแจกจ่ายคูปองได้อย่างสะดวกและมีความโปร่งใสในการตรวจสอบ และควรมีการจัดโครงการเฉพาะในการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อให้สามารถเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล...ร่วมกับนโยบายในการแจกกล่องกับผู้บริโภคจำนวน 22 ล้านครัวเรือน เพื่อให้ครอบคลุมประชากรที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนราษฎร์ กลุ่มแรงงานในเมือง กลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ห่างไกล หรือ กลุ่มคนพิการ ฯลฯ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีประชากรแฝงมากกว่า3.1 ล้านคน ขณะที่มีประชากรที่ขึ้นทะเบียน 5.7 ล้านคนเท่านั้น ตลอดจนมีการจัดประเมินผลการแจกคูปองเพื่อให้เกิดหลักประกันในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”

“ควรมีการเผยแพร่พื้นที่ที่ประชาชนสามารถรับชมในแต่ละช่วงเวลาทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ส่วนการแจกคูปองนั้น กสทช.ควรคำนึงถึงมูลค่าคูปองที่เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค และไม่เป็นการเพิ่มมูลค่าคูปองอันนำไปสู่การฉวยโอกาสในการขึ้นราคาของอุปกรณ์โดยไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น กสทช. ควรจะต้องทำการศึกษาให้ชัดเจนว่า ราคาและคุณภาพที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานของ กสทช. มีมูลค่าเท่าใด

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสิทธิผู้บริโภคว่า “จากการสำรวจรูปแบบการขายโทรทัศน์เพื่อรับชมรายการในระบบทีวีดิจิตอล ตามแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกทั่วไป พบว่า เริ่มมีโปรโมชั่นในการจำหน่ายทีวีที่รองรับสัญญาณดิจิตอลโดยไม่ต้องใช้กล่องรับสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการส่งสัญญาณในระบบนี้ ผู้บริโภคสามารถนำทีวีตรวจสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าเป็นระบบดิจิตอลหรือไม่ หรือผู้บริโภคสามารถตรวจสอบความเป็นทีวีดิจิตอลได้จากป้ายที่ติดอยู่บนทีวี หรือดูที่ส่วนรับสัญญาณต้องมีระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่รองรับระบบทีวีดิจิตอล ดังนั้นกสทช. ต้องเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีการใช้สัญญลักษณ์ที่ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสนและการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

ปัจจุบันราคากล่องในการใช้ดูทีวีระบบดิจิตอลกับทีวีรุ่นเดิมราคาประมาณ 1,200 บาท แต่ พบว่ามีโปรโมชั่นโทรทัศน์รุ่นที่ไม่รองรับระบบดิจิตอลพ่วงกล่องรับสัญญาณ (set top box) ในราคาเพียง 745 บาทเท่านั้น “ฉะนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการติดป้ายแสดงว่ารองรับทีวีดิจิตอลแล้ว กสทช. ควรมีการศึกษาและเปิดเผยราคาต้นทุนของกล่องรับสัญญาณที่ได้รับการรับรองในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน (ขั้นต่ำ) รวมทั้งมีการจัดทำมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภค ลดจำนวนกล่องที่มีในบ้านของตนเองรวมทั้งให้มีการกำหนดระยะเวลาในการรับประกันสินค้าด้วย ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เป็นผู้มารับหนังสือ พร้อมกล่าวว่า จะนำข้อเสนอแนะที่ได้ เสนอเข้าพิจารณาที่ประชุมอนุกรรมการคุัมครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อเสนอกสท. ต่อไป

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่