แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 21 กุมภาพันธ์ 2557
Samsung ฉลองความสำเร็จโครงการ “ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต (Samsung Smart Learning Center)” ปีแรก จับมือ 10 โรงเรียนนำร่องเปิดเวทีกิจกรรมวันแห่งการค้นพบ (Discovery Day) โชว์ผลงานสื่อสาธารณะกว่า 60 โครงการที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้น ผ่านกระบวนการการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ด้านโรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย 1 ใน 10 โรงเรียนต้นแบบทั่วประเทศ นำเสนอ 6 ผลงานเกี่ยวกับแม่น้ำสายสำคัญของชุมชน พร้อมการันตีผลสำเร็จโครงการด้วยพัฒนาการของนักเรียน หลังจากได้รับมอบนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้ Samsung Smart Learning Center และร่วมกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning ล่าสุดซัมซุงเตรียมสานต่อความสำเร็จด้วยการขยายโครงการในอีก 15 โรงเรียนในปี 2557 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทยสู่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
นางสาวศศิธร กู้พัฒนากุล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า “หลังจากที่โครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต Samsung Smart Learning Center ซึ่งเป็นแนวคิดห้องเรียนแห่งอนาคต เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศได้เริ่มต้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ตั้งแต่การส่งมอบนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคต Samsung Smart Learning Center การจุดประกายความคิดผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียน คุณครู และผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างพลังการเรียนรู้ ผ่านการทำโครงการในเรียน (In-school Project) ตามความสนใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ วันนี้โครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตได้เดินทางมาจนถึงช่วงท้ายของโครงการในปีแรกแล้ว ซัมซุงรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทั้ง 10 โรงเรียนนำร่องพร้อมด้วยชุมชนจัดกิจกรรมวันแห่งการค้นพบ หรือ Discovery Day เพื่อเป็นเวที แสดงผลงานการค้นพบของเด็กนักเรียนในโครงการที่ร่วมกันวางแผน พัฒนาและผลิตออกมาในรูปแบบของสื่อสารคดีสั้นกว่า 60 เรื่อง โดยเนื้อหาของการค้นพบจากเด็กนักเรียน มีความหลากหลายตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น อาหาร อาชีพท้องถิ่น ปัญหาในชุมชนไปจนถึงวัฒนธรรม ศิลปะประจำท้องถิ่น ซึ่งคนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ และได้รับประโยชน์จากโครงการที่เด็กนักเรียนได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนา ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความก้าวหน้าของเด็กๆ”
สำหรับโรงเรียนต้นแบบจำนวน 10 แห่งที่ซัมซุงได้ดำเนินโครงการนำร่องในการสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคต Samsung Smart Learning Center ในปีแรก ได้แก่ โรงเรียนบ้านเข็กน้อย จ.เพชรบูรณ์, โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จ.ลพบุรี, โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม จ.เลย, โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี, โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จ.ขอนแก่น, โรงเรียนอนุบาลบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี, โรงเรียนวัดทุ่งหลวง จ.สุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย, โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จ.จันทบุรี และโรงเรียนคลองบ้านพร้าว จ.ปทุมธานี
อ.กัณจณา อักษรดิษฐ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการสำหรับนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย กล่าวว่า “โครงการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาชุมชนจากฝีมือเด็กนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย ที่ได้เข้าร่วมโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต 5 ใน 6 โครงการนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับแม่น้ำอิง ด้วยสภาพปัจจุบันที่ชุมชนที่อาศัยในลุ่มแม่น้ำอิงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านการจัดการทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในชุมชนในเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค แหล่งอาหาร รายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจของคนในชุมชนแย่ลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย ดังนั้นในปี 2548 จึงได้มีการจัดตั้งชมรมขึ้นโดยนักเรียนโรงเรียนเทิงวิทยาคม ภายใต้ชื่อ “เยาวชนคนรักษ์แม่น้ำอิง” เพื่อสังเกตปัญหา ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น และแก้ปัญหาร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของชมรมยังขาดการเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ในเชิงวิจัยที่สามารถขยายผลความรู้ให้กับชุมชนได้ ซึ่งหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต เด็กๆ จึงได้เรียนรู้แนวทางการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-based Learning) อีกทั้งยังได้รับมอบนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคต Samsung Smart Learning Center ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่เติมเต็มให้การดำเนินการของชมรมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะเด็กๆ มีอุปกรณ์สำหรับเก็บและสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้อง นักเรียนจึงสามารถถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ที่ได้รับระหว่างพัฒนาโครงการมาเผยแพร่ให้กับชุมชนได้รับรู้ได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ดังนั้นคนในชุมชนจึงสามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป”
สารวัตรกำนันศุภกร กอผจญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลสันทรายงาม กล่าวว่า “ปัจจุบันได้เกิดปัญหาวิกฤติสถานการณ์น้ำในแม่น้ำอิง ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมทั้งระบบนิเวศน์พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้น้ำในการเพาะปลูกในหน้าแล้ง การบุกรุกพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว จนทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง สารเคมีจากการเกษตร การทำฝายขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำอิง ทำให้เกิดน้ำแห้งในฤดูแล้งและกั้นช่องทางการอพยพของพันธุ์ปลา และการลักลอบหาปลาแบบผิดวิธี อย่างไรก็ตามคนในชุมชนก็ได้พยายามร่วมกันทำกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้สถานการณ์และปัญหา เพื่อหาทางออกและความร่วมมือ อันนำไปสู่การรณรงค์เผยแพร่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและสาธารณชนได้รับรู้สถานการณ์แม่น้ำอิงและเกิดการตระหนักและคิดทบทวนการจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำอิงตลอดเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เด็กๆ ในท้องถิ่นซึ่งเป็นอนาคตของชุมชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับแม่น้ำอิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนตั้งแต่สมัยโบราณ เราเชื่อว่าโครงการที่เด็กๆ ทำขึ้นมานั้น จะมีส่วนช่วยในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรและรับรู้ปัญหาสถานการณ์วิกฤติแม่น้ำอิงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน”
ด.ช. รณชัย คำปิน 1 ในนักเรียนแกนนำโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต โรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย กล่าวว่า “หลังได้ร่วมเวิร์คช็อปกับโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต เราทุกคนได้รับมอบหมายให้สร้างสรรค์โครงการเพื่อพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ เราได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า Problem-based Learning หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ซึ่งพวกเราได้ลองลงมือปฏิบัติเอง สร้างความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเอง และได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น และหลังจากที่พวกเราได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางแก้ไขด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับโครงการ โดยเริ่มจากการลงสำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของแม่น้ำอิง สัมภาษณ์คนในชุมชน ซึ่งทำให้เราพบว่าคนในชุมชน ล้วนใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอิง ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการอุปโภค บริโภค การหารายได้จากการเกษตรและประมง การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำอิง และปัญหาที่พบคือคนในชุมชนขาดความสนใจในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูแม่น้ำอิง ดังนั้นเราจึงได้ทำโครงการเกี่ยวกับแม่น้ำอิง ได้แก่ 1. การใช้น้ำในแม่น้ำอิง 2. ความหลากหลายของพันธุ์ปลาในแม่น้ำอิง 3. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำอิง 4. ผลกระทบจากผู้ที่ใช้น้ำในแม่น้ำอิง 5. รายได้สุทธิจากแม่น้ำอิง และ6.กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อนำผลิตผลของโครงการไปเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชนต่อไป”
น.ส.จุฬารัตน์ อินต๊ะสิน อีก 1 นักเรียนแกนนำโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต โรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงราย กล่าวว่า “ผลงานสื่อสารคดีสั้นเพื่อเผยแพร่โครงการเกี่ยวกับแม่น้ำอิงที่ เราสร้างสรรค์ขึ้นสำเร็จลุล่วงได้เพราะเราได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคตอย่างเต็มที่ หลังจากที่เราพบปัญหา เราได้ทำการสืบค้นข้อมูลและได้เก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการที่ทำ เรามีความเชื่อและมั่นใจว่าผลงานโครงการที่เราสร้างสรรค์ขึ้นจะสามารถช่วยให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์แม่น้ำอิงให้คงอยู่ต่อไป เพื่อลูกหลานได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอิงในอนาคต สำหรับนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้แห่งอนาคตที่โรงเรียนของเรานั้น นักเรียนจะสลับผลัดเวรกันเพื่อเป็นผู้จัดการรับผิดชอบ ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในนวัตกรรมศูนย์การเรียนรู้ฯ เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยมีการทำทะเบียนบันทึกรายการยืม / คืนอุปกรณ์ประจำวัน เพื่อตรวจเช็คว่าอุปกรณ์อยู่ครบถ้วนหรือไม่ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการชาร์ตแบตเตอรี่อุปกรณ์สำหรับพร้อมใช้อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการมาใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้รับความสะดวกในการใช้งาน”
“หลังความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนต้นแบบทั้ง 10 แห่งที่เข้าร่วมโครงการซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคตในปีแรก โดยกว่า 60 โครงการที่นักเรียนได้สร้างสรรค์ขึ้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและความก้าวหน้าของเด็กๆ ที่ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจาการเรียนรู้ด้วยตนเองไปต่อยอดเพื่อพัฒนาชุมชน และในปี 2557 ซัมซุงจะสานต่อโครงการให้เข้าถึงอนาคตของชาติให้ครอบคลุมทุกๆ จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนโรงเรียนต้นแบบภายใต้โครงการอีก 15 โรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยทั้ง 10 โรงเรียนนำร่องจะทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับโรงเรียนข้างเคียง และอีก 15 โรงเรียนที่จะเข้าร่วมอีกภายในปีนี้ ซึ่งทางซัมซุงจะเปิดรับเอกสารจากโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ในเดือนกุมภาพันธ์นี้” นางสาวศศิธรกล่าวทิ้งทาย
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.samsungslc.org หรือ https://www.facebook.com/samsungslc
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.samsungslc.org วันที่ : 21 กุมภาพันธ์ 2557
เตรียมพบ New Galaxy สัมผัสประสบการณ์ขั้นกว่าของ Galaxy AI ในงาน Galaxy Unpacked 2025
Samsung Galaxy S25 Series มาแล้ว! ประกาศวันเปิดตัว และลงทะเบียนจองล่วงหน้าได้ทันที
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
Samsung เดินหน้าขยายการใช้ AI Home ทั่วทุกมุมบ้าน ส่งจอสุดล้ำบุกเครื่องใช้ไฟฟ้า
5 อันดับสมาร์ทโฟนยอดนิยม มีคนดูมากที่สุดบนเว็บไซต์ Siamphone.com ในปี 2024
รีวิว TP-Link USB-C Hub เพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน รองรับการใช้งานหลากหลายทั้ง 6 in 1 และ 9 in 1
HONOR X7c สมาร์ทโฟนถึกทนระดับ 5 ดาว กล้องชัด 108MP เปิดขายในไทยราคากันเอง
LAVA เปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G รุ่นใหม่ LAVA Yuva 2 5G ราคาประหยัด พร้อมกล้องหลัก 50 ล้านพิกเซล
Samsung Galaxy S25 Series มาแล้ว! ประกาศวันเปิดตัว และลงทะเบียนจองล่วงหน้าได้ทันที
HMD Arc สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ระบบปฏิบัติการ Android 14 Go แบตเตอรี่ 5,000mAh
สรุปจุดเด่นและสเปค HUAWEI nova 13i หน้าจอ 90Hz กล้องความละเอียดสูงสุด 108MP ชาร์จเร็ว 40 วัตต์
สรุปจุดเด่นและสเปค TECNO POVA 6 NEO แบตฯ 7000mAh หน้าจอ 120Hz ลำโพง Dolby ATMOS ฟรีลำโพงบูลทูธ!!
กว่าจะเป็น HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนพับได้ที่ดีที่สุดในตอนนี้!!18 ชั่วโมงที่แล้ว