แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 15 พฤศจิกายน 2556
พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ในฐานะ กสทช. ดูแลด้านการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม หรือ Universal Service Obligation (USO) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินการ “โครงการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินเข้าเป็นบริการ USO” ระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ณ อาคารหอประชุม สำนักงาน กสทช. โดยการดำเนินการโครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรไทย ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่และภารกิจ USO ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และประกาศ กสทช. เรื่องแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม พ.ศ.2555-2559
โดยเบื้องต้น สำนักงาน กสทช. และ สจล. จะร่วมกันดำเนินการโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน เพื่อนำผลการศึกษาครั้งนี้มากำหนดหลักการ และวางแผนงานจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินเลขหมายเดียวทั่วราชอาณาจักร (single emergency number) และการกำหนดใช้คลื่นความถี่กลางเฉพาะกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ รวมทั้งแนวทางบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเหตุฉุกเฉินของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ กสทช. ผลักดันให้มีการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการจัดบริการเลขหมายฉุกเฉินเลขหมายเดียว ทั่วราชอาณาจักรไทย เป็นผลมาจากการให้บริการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินในปัจจุบัน มีข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ อาทิเช่น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและข้อจำกัดของการให้บริการฉุกเฉินได้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินในประเทศต่างๆ (Emergency Management) อาทิเช่น การให้บริการเลขหมายฉุกเฉิน '112' ในสหภาพยุโรป เลขหมายฉุกเฉิน '911' ในสหรัฐอเมริกัน เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรคมนาคมเพียงเลขหมายเดียวทั่วราชอาณาจักรไทย โดยสอดคล้องกับหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ตามภารกิจด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกรณีเหตุฉุกเฉิน (Emergency Service) ในประเทศไทย และการใช้คลื่นความถี่เฉพาะสำหรับภาวะเหตุฉุกเฉิน และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินงานทางเทคนิค วิธีการและเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อการสื่อสาร และประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินที่สอดคล้องกับภารกิจ USO
ผลของความร่วมมือดำเนินการโครงการครั้งนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การกำหนดใช้คลื่นความถี่กลางและการกำหนดใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษกรณีฉุกเฉิน ให้เป็นมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ และข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินให้สอดคล้องกับภารกิจการจัดให้มีบริการ USO ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ควรดำเนินการขยายบริการอย่างไร เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช.พิจารณาดำเนินการต่อไป
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.nbtc.go.th วันที่ : 15 พฤศจิกายน 2556
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
รีวิว TP-Link USB-C Hub เพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน รองรับการใช้งานหลากหลายทั้ง 6 in 1 และ 9 in 1
รีวิว Baseus Qpow2 Dual-Cable Digital Display Fast Charge Power Bank 10000mAh 22.5W ใช้งานสะดวก พ...
Redmi Buds 6 Pro อัปเกรดการตัดเสียงรบกวน 55 เดซิเบล เทคโนโลยีเสียงมาครบ
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
DJI Mic Mini ไมโครโฟนไร้สายขนาดเล็กรุ่นใหม่ในตระกูล OsmoAudio
OnePlus 13R หน้าจอ 6.78 นิ้ว คมชัด 1.5K ชิปเซ็ตทรงพลัง Snapdragon 8 Gen 3
HONOR MagicBook X16 Plus และ X14 Plus พลังแห่งประสิทธิภาพในดีไซน์สุดบางเบา
iQOO Z9 Turbo เวอร์ชั่นแบตฯ ความจุสูง 6400mAh ขุมพลัง Snapdragon 8s Gen 3 เตรียมเปิดตัวมกราคมนี้
ใช้ชีวิตสมาร์ทๆ กับ Xiaomi 14T และ Xiaomi 14T Pro สมาร์ทโฟนที่คุณต้องมี!!
กว่าจะเป็น HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนพับได้ที่ดีที่สุดในตอนนี้!!10 ม.ค. 68 12:19