แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 11 กันยายน 2556
ไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอคนใหม่ของอินเทล เปิดเผยในพิธีเปิดงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ฟอรั่มหรือ ไอดีเอฟ (Intel Developer Forum - IDF) โดยกล่าวว่า ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอินเทล นับตั้งแต่ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ อื่นๆ ที่สามารถพกติดตัวได้ กำลังทำให้ตลาดในกลุ่มอุปกรณ์ประมวลผลก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอันน่าตื่นเต้น จนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไอทีเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ ไบรอันได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของอินเทลและกลยุทธ์ในการรับมือกับสินค้าในตลาดแต่ละกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ความก้าวหน้าของอินเทลในการทำตลาดอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก โดยเตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดในปีหน้าและปีต่อๆ ไป ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่ที่กินไฟต่ำกว่าเดิมด้วย
ไบรอัน กล่าวถึง แผนที่จะก้าวเข้าสู่ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเปิดเผยว่า “ปัจจุบันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่งทำให้อินเทลได้เปรียบ เพราะเราเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตและมีระบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาอุปกรณ์แบบประหยัดพลังงาน โดยอินเทลวางเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ประมวลผล” สำหรับงานไอดีเอฟในปีนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ ไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอคนใหม่ของอินเทล และ เรเน่ เจมส์ ประธานบริษัท ขึ้นกล่าวบนเวทีหลังจากที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งสองท่านเข้ารับตำแหน่งใหม่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
เรเน่ กล่าวถึงก้าวต่อไปของบริษัทฯ โดยมีวิสัยทัศน์ในการวางแผนให้ในศตวรรษหน้าอุปกรณ์ต่างๆ อุปกรณ์ประมวลผลรุ่นใหม่ๆ ทุกชิ้นสามารถประมวลผลได้ ซึ่งหมายถึง โซลูชั่นระบบประมวลผลแบบฝังตัวจะต้องมีขนาดเล็กลง ทำงานได้เร็วขึ้นและหลากหลายยิ่งกว่าเดิมและสามารถผลิตได้ในปริมาณที่มากขึ้น เทคโนโลยีบนพื้นฐานของเซมิคอนดักเตอร์ จะยังคงมีบทบาทในการทำให้เราค้นพบปัญหาต่างๆ และโอกาสอันน่าตื่นเต้นที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก จะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของเรา บริหารเมืองของเราให้น่าอยู่ และทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น นอกจากนี้ อินเทลยังมีบทบาทอย่างมากในทุกๆ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดเวลาที่ผ่านมา และยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต
ไบรอัน กล่าวว่าอินเทลเตรียมเปิดตัว “เบย์เทรล” (Bay Trail) ในสัปดาห์นี้ โดย เบย์เทรลเป็นระบบประมวลผลที่ฝังอยู่บนชิพ หรือ เอสโอซี (system-on-a-chip – SoC) ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตรรุ่นแรกของอินเทลเพื่อใช้ในอุปกรณ์มือถือทั้งนี้ “เบย์เทรล” พัฒนาจากสถาปัตยกรรมระดับไมโครรุ่นใหม่คือ ซิลเวอร์มอนท์” (Silvermont) ที่มีสมรรถนะสูงแต่กินไฟต่ำ สามารถรองรับอุปกรณ์รูปแบบใหม่ๆที่ใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์* และ วินโดวส์* โดยเฉพาะกับอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ตและทูอินวัน นอกจากนี้ ไบรอันยังกล่าวด้วยว่าการขยายตลาดผลิตภัณฑ์พกพาขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแท็บเล็ตแบบทูอินวันซึ่งมีความสามารถเทียบเท่าพีซีเมื่อใช้งานคู่กับคีย์บอร์ด รวมถึงอุปกรณ์พกพาใหม่ๆ ที่มีสีสันและแปลกใหม่กว่าเดิม ทำให้ตลาดในกลุ่มอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วน่าสนใจกว่าที่เคยเป็นมา
“เรายังไปไม่ถึงทางตันของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคลื่นลูกใหม่ของอุปกรณ์พกพากำลังก่อตัวอยู่ ส่วนอุปกรณ์ที่สามารถพกติดตัวได้ซึ่งมาพร้อมกับระบบเซ็นเซอร์คุณภาพสูง รวมถึงหุ่นยนต์ ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น” และเพื่อแสดงให้เห็นว่าอินเทลมีแผนที่จะใช้ความเป็นผู้นำในด้านการผลิตและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของระบบการประมวลผลที่ประหยัดพลังงานได้อย่างไรนั้น ไบรอันได้เปิดตัวระบบประมวลผลในตระกูล“อินเทล คว๊าค” (Intel Quark) ซึ่งกินไฟต่ำ และจะมีส่วนสำคัญในการทำให้อินเทลก้าวเข้าสู่กลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโต ตั้งแต่กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตในระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่และประมวลผลได้ โดยระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่เน้นในเรื่องของการกินไฟต่ำกว่าเดิมและมีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพามากกว่าที่จะเน้นในด้านการมีสมรรถนะที่สูงขึ้น
อินเทลจะส่งบอร์ดต้นแบบของเครื่องรุ่นตัวอย่างที่ใช้ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกของตระกูลนี้ในราวไตรมาสสี่ของปีนี้ เพื่อให้บริษัทพันธมิตรนำไปปรับใช้ในการออกแบบให้ตรงกับความต้องการตลาดโดยในระยะแรกจะเน้นตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มพลังงานและการขนส่ง เมื่อยุคใหม่ของระบบประมวลผลเติบโตขึ้นและมีลักษณะที่เฉพาะตัวมากขึ้น นวัตกรรมของอุปกรณ์ที่สามารถสวมใส่ติดตัวได้จะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไบรอัน ได้ยกตัวอย่างของอุปกรณ์สำหรับสวมข้อมือซึ่งเป็นดีไซน์ต้นแบบและเป็นนวัตกรรมที่กำลังได้รับการพัฒนา โดยกล่าวว่าอินเทลและพันธมิตรกำลังสร้างโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากตลาดในกลุ่มนี้
ในด้านเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สารความเร็วสูง 4G นั้น ไบรอัน กล่าวว่า นวัตกรรม LTE ใหม่ของอินเทลเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย 4G ที่เป็นมัลติโหมดมัลติแบนด์และจะทำให้อินเทลก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อทำให้ธุรกิจในตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นปัจจุบันอินเทลได้จัดส่งชิพโมเด็มแบบมัลติโหมด ซึ่งมีชื่อว่า อินเทล® เอ็กซ์เอ็มเอ็ม™ 7160 (Intel® XMM™ 7160) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโซลูชั่นแบบมัลติโหมด มัลติแบนด์ สำหรับการทำโรมมิ่งทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยี LTE ชนิดกินไฟต่ำที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดในโลก
ไบรอัน ยังได้กล่าวถึง ตัวอย่างของการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วของอินเทลภายใต้การบริหารงานของทีมผู้บริหารชุดใหม่ โดยกล่าวว่า ในขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ LTE เจนเนอเรชั่นใหม่ของอินเทล หรือโมเด็มอินเทล เอ็กซ์เอ็มเอ็ม 7260ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยคาดว่าจะสามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งมีคุณสมบัติขั้นสูงเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบ LTE เช่น carrier aggregationได้ในปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการเปิดใช้เครือข่าย 4G โดยไบรอันได้สาธิตคุณสมบัติของcarrier aggregationจากโมเด็มอินเทล เอ็กซ์เอ็มเอ็ม 7260 บนเวทีด้วย โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มากถึงสองเท่าตัว นอกจากนี้ไบรอันยังได้สาธิตการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่รองรับได้ทั้งโซลูชั่นอินเทล เอ็กซ์เอ็มเอ็ม 7160 LTE และ อินเทล® อะตอม™ เอสโอซี เจนเนอเรชั่นใหม่ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “เมอร์ริฟิลด์” (Merrifield) เพื่อใช้กับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนในปี 2557โดย “เมอร์ริฟิลด์” พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมระดับไมโคร“ซิลเวอร์มอนท์” (Silvermont) ซึ่งมีสมรรถนะที่สูงขึ้น ประหยัดพลังงาน และมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่ารุ่นที่เป็นเจนเนอเรชั่นปัจจุบัน
ไบรอัน ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าและการพัฒนานวัตกรรมอย่างรวดเร็วสำหรับพีซีในอนาคตโดยได้สาธิตระบบประมวลผลขนาด 14 นาโนเมตร จากเครื่องที่ใช้ “บรอดเวลล์” (Broadwell) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการผลิตภายในสิ้นปีนี้และจะเป็นผลิตภัณฑ์นำร่องที่ใช้กระบวนการผลิตขนาด 14 นาโนเมตร สำหรับผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่ใช้ “บรอดเวลล์”จะมีสมรรถนะที่สูงขึ้น อายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น และกินไฟต่ำลง ซึ่งเหมาะกับอุปกรณ์ทูอินวันและอุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน อัลตร้าบุ๊กและพีซีดีไซน์ต่างๆ เพื่อตอกย้ำว่าอินเทลพร้อมที่จะนำประสบการณ์การเป็นผู้นำในฐานะผู้ผลิตและออกแบบสถาปัตยกรรมมาใช้กับโปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล อะตอมไบรอันยืนยันว่า อินเทลตั้งใจที่จะนำอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรมระดับไมโคร “แอร์มอนท์” (Airmont)เจนเนอเรชั่นใหม่ ออกสู่ตลาด โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 14 นาโนเมตรในราวต้นปีหน้าตามช่วงจังหวะเวลาของสินค้าแต่ละกลุ่มในตลาด
ในฐานะที่เป็นบริษัทเพียงรายเดียวที่นำเสนอทรานซิสเตอร์ ไตร-เกท สามมิติ (3-D Tri-gate transistors) และเป็นผู้ผลิตระบบประมวลผลรายเดียวที่มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีในระดับ 22 นาโนเมตร ทำให้อินเทลนำหน้าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ไปไกลถึง 3 ปี และเมื่อถึงวันที่บริษัทสามารถเริ่มกระบวนการผลิตในระดับ 14 นาโนเมตร ซึ่งเป็นยุคที่สองของเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ ไตร-เกต สามมิติ จะยิ่งทำให้อินเทลทิ้งห่างคู่แข่งออกไปอีก ทรานซิสเตอร์ ไตร-เกต สามมิติ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นประหยัดพลังงานมากขึ้น ซึ่งตรงกับความต้องการของอุปกรณ์ประมวลผลในปัจจุบัน ตั้งแต่อุปกรณ์พกพาขนาดเล็กไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์
ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ของอินเทลที่สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีนั้น ได้สร้างโซลูชั่นใหม่ให้กับธุรกิจต่างๆเพื่อทำให้ก้าวทันกับความต้องการของระบบคลาวด์ และการจัดการกับข้อมูลมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นโดยอุปกรณ์พกพาจากผู้ใช้ทั่วโลก เป้าหมายของอินเทลคือการออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อเป็นฐานรากของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดการกับระบบดาต้าเซ็นเตอร์และบริการระบบคลาวด์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่าย การจัดเก็บข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย
อินเทลจะทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในตระกูล อินเทล® ซีออน™ โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในวันนี้ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อินเทลได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ในตระกูล อินเทล อะตอมซี2000 แบบ 64 บิตเจนเนอเรชั่นที่สองในดีไซน์แบบเอสโอซี ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้กับไมโครเซิร์ฟเวอร์ และแพลตฟอร์มcold storage ซึ่งมีชื่อรหัส “อาโวตัน” (Avoton)รวมถึงแพลตฟอร์มเครือข่ายในระดับเริ่มต้น ซึ่งมีชื่อรหัสว่า“เรนเจลี” (Rangeley)
เรเน่ ได้เน้นว่าสมาร์ทซิตี้และบริการทางการแพทย์ที่ปรับให้เหมาะกับผู้รับบริการได้นั้นถือเป็นตัวอย่างสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้ ยังกล่าวถึงการคาดการณ์ที่ว่า ภายในปี 2593 ประชากรโลกกว่าร้อยละ 70 จะอาศัยอยู่ในมหานครขนาดใหญ่ การพัฒนาเทคโนโลยีระบบประมวลผลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อินเทลได้ร่วมมือกับกรุงดับลินและลอนดอนในการวางระบบเพื่อเปลี่ยนโฉมหน้าการจัดการระบบต่างๆของเมือง เพื่อให้ประชากรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าเดิม “การติดตั้งระบบประมวลผลไว้ในอุปกรณ์นับล้านๆชิ้นเป็นแค่เรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้มันยากยิ่งกว่า นั่นคือการสร้างระบบโซลูชั่นอันทรงพลังที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ และเป็นคำตอบของคำถามที่ยากและซับซ้อนที่สุดเช่นการรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันนี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่เทคโนโลยีจากอินเทลสามารถทำได้เพื่อใช้ในการรักษาให้ความรู้ และมอบโอกาสให้ทุกชีวิตบนโลกใบนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน”
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของอินเทลถือเป็นหนึ่งตัวอย่างที่คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าวงการสาธารณสุขซึ่งนับเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกได้ โดยอินเทลกำลังทำงานร่วมกับสถาบันมะเร็ง Knight Cancer Institute ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์ของโอเรกอน ในโครงการเพื่อค้นหาวิธีที่จะวิเคราะห์รายละเอียดยีนส์ของมนุษย์เพื่อทำแผนภูมิของดีเอ็นเอในหลากมิติ โดยใช้งบประมาณและเวลาที่น้อยที่สุด และนับเป็นครั้งแรกในวงการแพทย์ยุคใหม่ ที่ระบบประมวลผลและเทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญเท่าเทียมกับชีววิทยา ยิ่งถ้าเราสามารถทำให้ระบบประมวลผลสมรรถนะสูงมีราคาถูกลงได้มากเท่าใด เราก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตมนุษย์ไว้ได้มากขึ้นเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่ newsroom.intel.com, www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.thailand.intel.com วันที่ : 11 กันยายน 2556
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
DJI Mic Mini ไมโครโฟนไร้สายขนาดเล็กรุ่นใหม่ในตระกูล OsmoAudio
รีวิว TECNO SPARK 30C คุ้มค่าทุกการใช้งาน แข็งแกร่งทุกฟังก์ชัน
OPPO ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่แบบจัดเต็ม ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำสมัยพร้อมโปรโมชั่น
Xiaomi Store สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน จัดกิจกรรมและโปรโมชันพิเศษฉลองเปิดสาขา
รีวิว Apple iPad mini 7 ควรอัปเกรดไหม? แตกต่างจาก iPad mini 6 อย่างไร!
iQOO 13 5G เจ้าของความแรง Snapdragon Elite 8 + RAM สูงสุด 16GB เคาะราคาในไทย 27,900 เท่านั้น
OPPO Reno 13 Series ชิปเซ็ต Dimensity 8350 กันน้ำกันฝุ่น IP69 และชาร์จเร็ว 80W!
ทำความรู้จัก TECNO SPARK 30C หน้าจอ 120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP54 ลำโพงสเตอริโอ มีชาร์จเร็ว
iQOO Neo 10 Series สเปคเทพ กล้องสวย ดีไซน์โดนใจ เปิดตัว 29 พฤศจิกายนนี้
สรุปจุดเด่นและสเปค OPPO Pad 3 Pro หน้าจอ 144Hz ชิปเซ็ต Snapdragon 8 Gen 3 ลำโพง 8 ตัว แบตฯ 9510mAh