แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 26 สิงหาคม 2556
ในปัจจุบันคงไม่มีใครนึกภาพวันหยุดพักผ่อนที่ปราศจากเฟซบุ๊คออกแล้ว การเช็คอินบนเฟซบุ๊คที่สนามบินก่อนขึ้นเครื่องไปเที่ยวให้สุดเหวี่ยงเพื่อให้เพื่อนๆ รู้สึกอิจฉาตาร้อน เป็นกิจกรรมที่เราสามารถเห็นได้ทั่วไป แต่มันยังไม่จบอยู่แค่นั้น กิจกรรมต่อๆ มาก็คือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงแรมที่คุณได้เข้าพัก คลิปวิดีโอจากชายหาดสุดสวย ต่างทยอยอัพโหลดผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊คมาเป็นลำดับ เตรียมตัวเอาไว้ก่อนที่จะปล่อยความเป็นส่วนตัวของคุณให้ชาวโลกได้รับรู้ นี่คือเทคนิคเด็ดๆ ที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้เฟซบุ๊กในวันหยุดพักผ่อนทุกท่าน
ชีวิตที่ขาดเฟซบุ๊คไปก็ดูไร้สีสัน ในทุกวันผู้ใช้เฟซบุ๊ค 1.1 ล้านล้านคนกด “ไลค์” ถึง 6.5 ล้านล้านครั้ง และแชร์ 4.75 ล้านล้านข้อความ ผู้ใช้เฟซบุ๊คส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่กับเฟซบุ๊คถึง 6 ชั่วโมง 44 นาทีต่อเดือน เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่เฟซบุ๊คถูกใช้เป็นพื้นที่ในการแชร์ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนและเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนๆ นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊คจำนวน 3 ใน 4 กำหนดให้เฟซบุ๊คเป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งของตารางการท่องเที่ยว ดังนั้นพวกเราจึงควรให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยและลดความเสี่ยงสักหน่อย โดยเฉพาะเมื่อคนจำนวนมากยังคงไม่ใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัยในการใช้สมาร์ทโฟนและ WLAN ที่ไม่ได้รับการป้องกันในการโพสเล่าเรื่องราววันหยุดสุดเหวี่ยงของพวกเขาหรือแม้แต่การกด “ไลค์”
เมื่อไปเที่ยวพักผ่อนในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ โดยทั่วไปเรามักจะใช้ WLAN hotspots แทน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่งสุดแสนแพง แต่ไวร์เลสเน็ตเวิร์กในโรงแรมหรือร้านคาเฟ่ตามที่สาธารณะก็เป็นช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพต่างจ้องหาผลประโยชน์อยู่ เนื่องจากเน็ตเวิร์กเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแค่นักท่องเที่ยวมาใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทางแลปท็อป, สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มาพร้อมกับกับสปายแวร์ และไม่น่าแปลกใจเลยที่ 40% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่มีการป้องกันอะไรเลยแม้แต่ระบบป้องกันพื้นฐาน เช่น การล็อคหน้าจอ ในบางกรณีที่มีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันอยู่ ก็จะอัพเดทช้าไปเสมอ สปายแวร์และไวรัสต่างๆ ก็จะสามารถเข้าสู่ดีไวซ์ของคุณได้อย่างง่ายดายผ่านทางบลูธูทหรือ WLAN
นอกการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัยผ่านทางสมาร์ทโฟนแล้ว ตัวโซเชียลเน็ตเวิร์กเองก็มีจุดอ่อนที่สามารถเป็นช่องทางของเหล่ามิจฉาชีพได้เช่นกัน โดยอาจถูกมิจฉาชีพปลอมเป็นตัวเอง ถูกอ่านข้อความ และโพสข้อความเอง นี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อยจากความเป็นไปได้หลายร้อยอย่าง ซึ่งปัญหานี้คือช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยที่เว็บแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ก็ประสบอยู่ เพียงผู้ใช้แค่ใส่ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดเพื่อล็อคอินก็สามารถตกเป็นเหยื่อในการโจมตีแบบ man-in-the-middle ได้ โดยพาสเวิร์ดจะถูกแฮกออกมา ตามปกติทั่วไปแล้วคนเราจะมีแค่พาสเวิร์ดเดียวในการใช้บริการต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เช่น eBay, Amazon, Web-Mailer ดังนั้นพาสเวิร์ดธรรมดาในเฟซบุ๊คก็สามารถเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยอื่นๆ ได้เป็นลูกโซ่ นี่คือเหตุผลที่ไม่ควรคลิกลิ้งค์น่าสงสัยในอีเมลล์ แต่ควรเข้าเว็บผ่านบราวเซอร์โดยตรง
5 ทิปเพื่อความปลอดภัยในการใช้เฟซบุ๊คในวันหยุดพักผ่อน
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.kaspersky.com วันที่ : 26 สิงหาคม 2556
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
รีวิว TP-Link USB-C Hub เพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน รองรับการใช้งานหลากหลายทั้ง 6 in 1 และ 9 in 1
รีวิว Baseus Qpow2 Dual-Cable Digital Display Fast Charge Power Bank 10000mAh 22.5W ใช้งานสะดวก พ...
Redmi Buds 6 Pro อัปเกรดการตัดเสียงรบกวน 55 เดซิเบล เทคโนโลยีเสียงมาครบ
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
POCO M7 Pro 5G ชิปเซ็ต Dimensity 7025 Ultra กล้อง Sony LYT-600 ชัด 50MP
สรุปจุดเด่นและสเปค HONOR X9c แบตฯ 6600mAh ชาร์จเร็ว 66W กันน้ำ IP65M กล้องหลัง 108MP+OIS
Lenovo เตรียมเปิดตัวแล็บท็อป ThinkBook Plus จอม้วน-ยืดได้เอง รุ่นแรกของโลก
HONOR X7c สมาร์ทโฟนถึกทนระดับ 5 ดาว กล้องชัด 108MP เปิดขายในไทยราคากันเอง
HMD Arc มือถือระบบ Android 14 (Go edition) ดีไซน์สวย ทนทาน ทรงประสิทธิภาพ
กว่าจะเป็น HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนพับได้ที่ดีที่สุดในตอนนี้!!3 ชั่วโมงที่แล้ว