แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 16 กรกฎาคม 2556

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของตัวแทนเด็กไทยอีกครั้งเป็นปีที่ 4 เมื่อทีมไมร่า (Myra) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) และ ทีม เคลฟเวอร์ มายด์ (Clever Mind) จาก มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมกันคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ในการแข่งขันประเภท Innovation และ Windows 8 Appจากเวทีการแข่งขันระดับโลก Microsoft Imagine Cup ครั้งที่11 ซึ่งทีมไมร่าได้รับเงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 150,000 บาท) ในขณะที่ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ได้รับเงินรางวัลจำนวน 3,000ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 90,000 บาท) โดยในปีนี้ไมโครซอฟท์ได้จัดการแข่งขันขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซียระหว่างวันที่ 8 – 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมาโดยมีนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 87 ทีม จาก 71 ประเทศทั่วโลก

ฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ประเทศไทยได้รับการบันทึกและมีจุดยืนที่แข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่งบนเวทีการแข่งขันMicrosoft Imagine Cupประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่คว้าแชมป์ชนะเลิศมาแล้วถึง 3 ครั้ง สำหรับผลการแข่งขันที่ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ของทีมไมร่า ในประเภท Innovation และ ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ ในประเภท Windows 8 App ไม่ได้เพียงสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งสองทีม แต่เป็นชื่อเสียงของประเทศชาติด้วย เราทุกคนรู้สึกภูมิใจกับความสำเร็จของเยาวชนไทยกลุ่มนี้และขอบคุณสำหรับทุกๆ ความพยายาม ผมมั่นใจว่านักศึกษาไทยทั้งสองทีมนี้จะมีอนาคตที่สดใสในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยอย่างแน่นอน”

2 แอพฯ เด็ดนำทีมนักศึกษาไทยคว้ารางวัลกลับบ้าน


ทีมไมร่า มีสมาชิกประกอบด้วย นางสาวศิคณา ธนุภาพรังสรรค์นางสาวศรัณยา ภุมมานายกรัชกาย อารี-กิจเสรี และ นายธนานันต์ พัฒนางกูร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง จากการแข่งขันประเภท Innovation ด้วยผลงานทีมี่ชื่อว่า SkyPACS ซึ่งออกแบบเพื่อเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักรังสีวิทยาในการจัดการและโอนย้ายภาพถ่ายทางการแพทย์ เช่น MRI และ CTScan และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่รังสีแพทย์ในการวินิจฉัยอาการผิดปกติของผู้ป่วยจากภาพถ่าย หรือ ระบบจำลองภาพ 3 มิติ ระบบจะเน้นการใช้งานที่ง่ายและมอบประสบการณ์การใช้งานบนเว็บแอพพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8

นางสาวศิคณา ธนุภาพรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกทีมไมร่า อธิบายต่อว่า “เราได้ทำการสำรวจอุปสรรคต่างๆ ที่นักรังสีวิทยามักพบเจอในกระบวนการการทำงานและเราได้ไอเดียในการสร้าง SkyPACS ในขณะที่เราได้ทำการค้นหาซอฟต์แวร์โซลูชั่นในช่วงแรก โปรแกรม SkyPACS จึงเป็นวิธีง่ายๆ สำหรับการตรวจวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์แท็บเล็ตของคุณให้กลายเป็นเครื่องฉายภาพทางการแพทย์ที่ได้ติดตั้งชุดเครื่องมือที่นักรังสีวิทยาคุ้นเคยไว้ในตัว”

ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ มีสมาชิกประกอบไปด้วย นายกฤตินันท์ สิโรดม นายปิยะวุฒิ จันทศรีสวัสดิ์นายศิริศักดิ์ นาคะวิวัฒน์ และ นายสิทธิโชติฉัตรธนะกุล ส่งแอพฯ สร้างสรรค์ Vocable World เข้าประกวด Vocable World เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของเฟรมเวิร์ก LPM (เรียนรู้: learning, ฝึกฝน: practicingและประเมินผล: measuring) โดยใช้การเล่นเกมเพื่อดึงดูดให้ผู้เล่นสนใจและอยากที่จะเรียนรู้คำศัพท์ ทั้งนี้ Vocable World ได้รับการพัฒนาให้รองรับการใช้งานบนWindows 8 และ Windows Phone 8 ส่วนแอพฯ ฝั่งเซิฟเวอร์นั้นจะทำงานอยู่บน Windows Azure

นายสิทธิโชติฉัตรธนะกุล อธิบายถึงจุดประสงค์ของแอพฯ นี้ว่า “พวกเราต้องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องแชร์ความคิด ออกความเห็นหรืออารมณ์ โดยใช้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งเราพบว่าเราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะมีวงศัพท์ที่จำกัด ไม่มั่นใจในโครงสร้างไวยากรณ์ และ กังวลเกี่ยวกับการออกเสียง Vocable World จะมาช่วยผู้เรียนภาษาให้มีความรู้และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ โดยการใช้กระบวนการการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากขึ้น”

Imagine Cup Worldwide รอบชิงชนะเลิศ


ทีมไมร่า และ ทีมเคลฟเวอร์ มายด์ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อคว้าชัยชนะในครั้งนี้กับนักศึกษาอีก 87 ทีม จาก 71 ประเทศทั่วโลก ในรอบชิงชนะเลิศหลังจากชนะการแข่งขัน Imagine Cup ในระดับประเทศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศผลโครงการของทีมผู้ชนะโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Innovation, Games และ World Citizenship พร้อมทั้งการแข่งขันแบบเฉพาะเจาะจงอีก 3 รางวัล และ รางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนการแข่งขันอีก 8 รางวัล ทีมไมร่าขึ้นรับเงินรางวัลจำนวน 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ร่วมกับผู้ชนะการแข่งขันทีมอื่นๆ ในงานมอบรางวัล Imagine Cup Award ที่จัดขึ้น ณ โรงละครอเล็กซานดรินสกี้ พร้อมผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คน ทั้งนักศึกษา คณะกรรมการ พันธมิตร แขกผู้มีเกียรติ และ สื่อมวลชนจากทั่วโลก พิธีประกาศรางวัลถือเป็นจุดสูงสุดของการแข่งขันตลอดระยะเวลา 4 วันและเป็นการเฉลิมฉลองการนำไอเดียสร้างสรรค์มาทำให้เป็นจริงผ่านเทคโนโลยีและการร่วมมือร่วมใจกันของนักศึกษาทุกคน

ปี 2556 นี้ถือเป็นปีที่ 11 ของการแข่งขัน Imagine Cup ซึ่งในปีแรกนั้นมีนักศึกษาเพียง 2,000คน จาก 25 ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วมรายการ และภายใน 10 ปีที่ผ่านมาหลังจากนี้โครงการ Imagine Cup ก็มีนักศึกษาจำนวนกว่า 1.65 ล้านคน จาก 190 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันเป็นที่เรียบร้อย ประเทศไทยเองได้คว้าชัยชนะรางวัลใหญ่มาได้ถึง 3 ครั้ง ในปี 2550, 2553 และ 2555 ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับรางวัลใหญ่มากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน Imagine Cup

รายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน Imagine Cup ครั้งที่ 11 มีดังต่อไปนี้

Innovation

  •  รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Colinked, สหราชอาณาจักร, ชื่อโครงการ: SoundSYNK
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: DORA, สโลเวเนีย, ชื่อโครงการ: DORA 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: MYRA, ไทย, ชื่อโครงการ: SkyPACS

Games

  • รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Zeppelin Studio, ออสเตรีย, ชื่อโครงการ: Schein 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Solite Studio, อินโดนีเซีย, ชื่อโครงการ: Save the Hamsters
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Banzai Lightning, ฝรั่งเศส, ชื่อโครงการ: Seed

World Citizenship

  • รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 50,000ดอลล่าร์สหรัฐ: For a Better World, โปรตุเกส, ชื่อโครงการ: For a Better World 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team Omni-Hearing Solution, ไต้หวัน, ชื่อโครงการ: Omni-Hearing Solution 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Confufish Royale, ออสเตรเลีย, ชื่อโครงการ: Foodbank Local

ผู้ชนะ Imagine Cup Challenge

ในปีนี้ Imagine Cup มอบรางวัลพิเศษสำหรับการแข่งขันออนไลน์แก่นักศึกษา โดยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ คิดค้นต้นแบบ และสร้างสรรค์แอพฯ ใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ทีมที่มีคะแนนสูงสุดสามลำดับแรกในแต่ละประเภทจะได้รับโอกาสในการเข้าแข่งขันที่ประเทศรัสเซียในรอบชิงชนะเลิศ

รายชื่อผู้ชนะการแข่งขันมีดังนี้

Windows Azure Challenge

  • รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: Y-Nots, อินเดีย, ชื่อโครงการ: Zoik It!
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team nlife, ยูเครน, ชื่อโครงการ: onQuests
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Team LetssGo, จีน, ชื่อโครงการ: Get & Put

Windows Phone Challenge

  • รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: vSoft Studio, สิงคโปร์, ชื่อโครงการ: Speak Reminder
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: WeRule, โปแลนด์, ชื่อโครงการ: Modern Drug Test
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Front, โปแลนด์, ชื่อโครงการ: Cope

Windows 8 Apps Challenge

  • รางวัลชนะเลิศ, เงินรางวัล 10,000ดอลล่าร์สหรัฐ: TeamNameException, อิตาลี, ชื่อโครงการ: Ulixes
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง, เงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Wordsapp, เยอรมัน, ชื่อโครงการ: Wordsapp
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง: เงินรางวัล 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ: Clever Mind, ไทย, ชื่อโครงการ: Vocable World

Imagine Cup ปี 2014จะจัดขึ้น ณ บ้านเกิดไมโครซอฟท์ สำนักงานใหญ่ เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน

ในปี 2557 Imagine Cup จะกลับไปจัดที่บ้านเกิด ไมโครซอฟท์ สำนักงานใหญ่ ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน ซึ่งสตีฟ บาลเมอร์ ได้กล่าวไว้ในวิดิโอคลิปที่ฉายที่งานในปีนี้ คุณสามารถหาชมได้ที่ Microsoft News Center

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่