แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 2 เมษายน 2556

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ เปิดเผยผลการศึกษาที่มีชื่อว่า “บทบาทและสถานะของความคิดสร้างสรรค์ในระบบการศึกษา” (State of Creativity in Education) ในเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมข้อมูลสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมประจำปี Adobe Education Leadership Forum ครั้งที่ 8 ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2556 ข้อมูลสำหรับเอเชีย-แปซิฟิกโดยอาจารย์และผู้สอน 1,014 คน (อาจารย์ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน) จาก 13 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ได้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดสถานะความคิดสร้างสรรค์ในแวดวงการศึกษาในภูมิภาคดังกล่าว

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจารย์และผู้สอน 102 คนจากทั่วภูมิภาค (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย) ได้เข้าร่วมการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ในช่วงระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 10 มีนาคม 2556 อาจารย์และผู้สอนเหล่านี้เป็นตัวแทนจากสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพ โดย 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูหรืออาจารย์ผู้สอน ขณะที่อีก 20% เป็นผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน และที่ปรึกษา

ผลการศึกษาเน้นย้ำประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นและเผยให้เห็นถึงความต้องการที่อยากอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่ห้องเรียนและหลักสูตรที่สูงมากโดยระบุตรงกันทั้งอาจารย์และผู้สอนทั่วภูมิภาค และที่น่าแปลกใจก็คือ อาจารย์และผู้สอนเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับระบบการศึกษาในประเทศว่าเป็นระบบที่ล้าสมัย มีข้อจำกัด และไร้ประสิทธิภาพในการพัฒนานักสร้างสรรค์นวัตกรรม กว่า 43% ระบุว่าเป็นระบบที่ล้าสมัยหรือมีข้อจำกัดหรือมีลักษณะทั้งสองอย่าง และในเรื่องของประสิทธิภาพในการพัฒนานักสร้างสรรค์รุ่นใหม่นั้น อาจารย์และผู้สอนให้คะแนน 5.0 สำหรับระบบการศึกษาที่มีอยู่ จากระดับคะแนน 1-10

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 41% ยังต้องการเครื่องมือและการฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน และ 22% ต้องการกระบวนการที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร และเมื่อขอให้ระบุระดับความสำคัญของการอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่การศึกษาเพื่อให้ประเทศประสบความสำเร็จในระยะยาวจากระดับคะแนน 1 – 10 ปรากฏว่าคะแนนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 8.4

นายปีเตอร์ แมคอัลไพน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายด้านการศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของอะโดบี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจนี้ โดยกล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปสำหรับอาจารย์และผู้สอน นักเรียนนักศึกษา และสถานศึกษา แต่เป็นข้อบังคับสำหรับความสำเร็จในอนาคต ห้องเรียนมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่แพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์มากขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ อาจารย์และนักศึกษากำลังสร้างนิยามใหม่สำหรับวิธีการถ่ายทอดความรู้ แบบสำรวจสถานะความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เรามีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติของอาจารย์และผู้สอน รวมถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนนักศึกษา”

ประเด็นสำคัญอื่นๆ ของผลสำรวจความคิดเห็นแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่หลักตามที่ระบุด้านล่างนี้ รายงานผลสำรวจความคิดเห็นโดยละเอียดและภาพอินโฟกราฟิกสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.adobe.com/sea/special/creativity-report-sea/index.html

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่