แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 5 มีนาคม 2556
จีเอฟไอ ซอฟต์แวร์ (GFI Software™) ได้ออกรายงาน VIPRE® ฉบับเดือนมกราคม 2556 ว่าด้วยรายชื่อภัยคุกคาม 10 อันดับแรกที่พบเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักวิจัยภัยคุกคามของ GFI ระบุพบภัยคุกคามบนสื่อออนไลน์จำนวนมาก อาทิ ข้อความหลอกลวงบนทวิตเตอร์ (Twitter®) และเฟซบุ๊ค (Facebook) รวมไปถึงข้อความสแปมอ้างเชิญชวนบนลิงค์อิน (LinkedIn®)
คริสโตเฟอร์ บอยด์ นักวิจัยอาวุโสของ GFI Software เปิดเผยว่า เว็บไซต์ชื่อดังในสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนปัจจุบันไปแล้ว อาชญากรไซเบอร์หัวใสจึงใช้เว็บไซต์เหล่านี้เป็นช่องทางใหม่ในการแฝงตัวเข้ามาคุกคามผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้สังคมออนไลน์เป็นมาตรฐานในการใช้ชีวิต ดังนั้นอาชญากรไซเบอร์จึงสามารถเพิ่มช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้งานจำนวนมากให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ (malware) ลงบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) และอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile devices) ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในท้ายที่สุดผู้ใช้งานเหล่านี้จะให้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ตั้งใจ และข้อมูลเหล่านี้อาจทำให้อาชญากรเจาะข้อมูลไปถึงเหยื่อที่เป็นบุคคลสำคัญได้
ผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมากพบว่าตัวเองตกเป็นเป้าของอาชญากรไซเบอร์ โดยได้รับข้อความหลอกลวงที่ระบาดหนักในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในข้อความอ้างว่าบัญชีของทวิตเตอร์ได้ตัดเหยื่อออกจากระบบเนื่องจากมีการเผยแพร่ “บล็อกหยาบคาย (nasty blogs)” ออกไป ซึ่งลิงค์ที่อยู่ในข้อความดังกล่าวจะพาไปสู่เว็บไซต์ที่เลียนแบบหน้าจอล็อกอิน (login) ของทวิตเตอร์จริง ผู้ใช้ที่ไม่รู้ก็จะคีย์ข้อมูลส่วนบุคคลลงไปโดยไม่ได้สังเกตหน้า URL จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปที่ 404 error message และจากนั้นจะถูกส่งกลับมาที่หน้าจอล็อกอินของทวิตเตอร์จริงเพื่อหลอกให้เหยื่อคิดว่าตนเองคงประสบปัญหาเข้าแล้วเพราะไม่สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ทวิตเตอร์จริงได้
นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊คก็ยังกลายเป็นเป้าด้วยข้อความสแปม (spam) ที่คล้ายๆกัน เช่น อ้างว่าเหยื่อได้กระทำการฝ่าฝืนนโยบายของเว็บไซต์โดยการ “รบกวนหรือหมิ่นประมาท (annoying or insulting)” ผู้ใช้งานคนอื่นๆ และสั่งให้เหยื่อยืนยันบัญชีผู้ใช้งานอีกครั้งเพื่อมิให้ถูกแบน (banned) จากเว็บไซต์ ผู้ใช้ที่คลิกลิงค์ที่อยู่ในข้อความที่ได้รับก็จะถูกพาไปสู่หน้าที่อธิบายว่าเหยื่อจะต้องผ่านการ “ตรวจสอบความปลอดภัย (security check)” เสียก่อน โดยเหยื่อจะต้องคีย์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพิสูจน์ตนเองในการล็อกอินเฟซบุ๊ค ตลอดจนให้เปิดเผยว่าใช้เว็บเมล์ (webmail) ใดในการเชื่อมต่อกับบัญชีเฟซบุ๊ค และสุดท้ายผู้ใช้แต่ละรายจะต้องใส่ตัวเลข 6 ตัวแรกบนบัตรเครดิตของตนโดยไม่สนใจว่าผู้ใช้เคยซื้อเครดิตของเฟซบุ๊คมาก่อนหรือไม่ หลังจากใส่ตัวเลข 6 ตัวดังกล่าวแล้ว เหยื่อจะต้องให้ข้อมูลตัวเลขที่เหลือบนบัตรเครดิตเพื่อ “ตรวจสอบความถูกต้อง (verify)” ของบัญชีของเหยื่อ ซึ่งก่อนที่บัญชีที่ถูกโจรกรรมดังกล่าวจะถูกส่งออกไป ข้อความหลอกลวงเดียวกันนี้ก็จะถูกส่งไปยังเพื่อนที่อยู่ในรายการ (list) ของเหยื่อทันที
สำหรับเว็บไซต์ระดับมืออาชีพชื่อดังอย่างลิงค์อิน (LinkedIn®) นั้น สมาชิกที่ระบุว่าตนเองเป็นเจ้าของธุรกิจมักจะได้รับอีเมล์สแปมที่แจ้งว่าลูกจ้างรายหนึ่งได้ส่งข้อความเชิญชวน (event invitation) ให้ท่าน เมื่อเหยื่อคลิกที่ลิงค์ในอีเมล์ ก็จะถูกพาไปสู่เว็บไซต์อันตรายซึ่งมีมัลแวร์ที่สามารถทำอันตรายต่อระบบของเหยื่อได้ ทั้งนี้ผู้ใช้ที่ไม่ได้คลิกลิงค์อันตรายหรือผู้ใช้ที่รักษาซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดไวรัสน้อยกว่า
นายทวีชัย คิมหันต์วัฒนาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทับก้า เทคโนโลยี จำกัด เผยว่าอาชญากรไซเบอร์มีการพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ ผู้ที่ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คด้านต่างๆ ควรมีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลสำคัญ หรือภัยคุกคามต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่มีการปกป้องอย่างครอบคลุม ซึ่งควรเลือกใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์แท้เพราะนอกจากจะมั่นใจในประสิทธิภาพได้แล้วยังมีการให้บริการหลังการขายที่คอยให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาการใช้งาน
รายชื่อภัยคุกคาม 10 อันดับแรกในเดือนมกราคม
รายชื่อภัยคุกคาม 10 อันดับแรกที่ GFI ตรวจพบได้นั้น มาจากข้อมูลการสแกน (scan) ที่รวบรวมได้จากลูกค้าที่ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส VIPRE หลายพันรายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบติดตามการคุกคามอัตโนมัติ ThreatNet™ ของ GFI ผลทางสถิติของ ThreatNet™ เผยว่าโทรจันส์ (Trojans) และแอดแวร์ (Adware) เป็นภัยคุกคามที่พบมาก 10 อันดับแรกในเดือนมกราคม ซึ่งมีถึง 7 ใน 10 ของภัยคุกคามที่ตรวจจับได้ ดังตารางข้างล่าง
ทั้งนี้ จีเอฟไอ ซอฟต์แวร์ (GFI Software) เป็นผู้ให้บริการด้านโปรแกรมรักษาความปลอดภัยบนเว็บ และอีเมล์ โปรแกรมการจัดเก็บข้อมูล และแฟกซ์ โปรแกรมดูแลและรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย และการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT solution) สำหรับธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (SMB) ด้วยเทคโนโลยีชั้นเลิศที่การันตีด้วยรางวัล สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกได้เป็นอย่างดี
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.gfi.com วันที่ : 5 มีนาคม 2556
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
รีวิว TP-Link USB-C Hub เพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน รองรับการใช้งานหลากหลายทั้ง 6 in 1 และ 9 in 1
รีวิว Baseus Qpow2 Dual-Cable Digital Display Fast Charge Power Bank 10000mAh 22.5W ใช้งานสะดวก พ...
Redmi Buds 6 Pro อัปเกรดการตัดเสียงรบกวน 55 เดซิเบล เทคโนโลยีเสียงมาครบ
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
DJI Mic Mini ไมโครโฟนไร้สายขนาดเล็กรุ่นใหม่ในตระกูล OsmoAudio
สรุปจุดเด่นและสเปค TECNO POVA 6 NEO แบตฯ 7000mAh หน้าจอ 120Hz ลำโพง Dolby ATMOS ฟรีลำโพงบูลทูธ!!
หลุดสเปค Pixel 9a มาพร้อมชิปเซ็ต Tensor G4 ความจุแบตเตอรี่ 5,100mAh
HMD Arc สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ระบบปฏิบัติการ Android 14 Go แบตเตอรี่ 5,000mAh
Blackview BV8200 สมาร์ทโฟน AI สายถึก 4G รุ่นเรือธง เครื่องแรกของโลก พร้อมจอแสดงผลคู่และไฟฉายคู่!
OnePlus Ace 5 และ OnePlus Ace 5 Pro สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่จาก Ace Series ชิปฯ เร็วแรง เอาใจสายเกมมิ่ง
เปิดปีใหม่กับโปรใหญ่สุดคุ้มกับ Lazada ให้ช้อปแก็ตเจ็ตสุดล้ำจาก HUAWEI15 ชั่วโมงที่แล้ว
HMD Key สมาร์ทโฟนสุดประหยัด หน้าจอ 6.52 นิ้ว แบตเตอรี่ 4000mAh8 ม.ค. 68 15:00