LG Nexus 4 มีตัวเครื่องรูปทรงแท่ง ขอบตัวเครื่องด้านบนและล่างโค้งมนๆ เล็กน้อย มีโลหะเงินสะท้อนเงาหุ้มรอบขอบตัวเครื่องส่วนที่ติดกับกระจกด้านหน้า แกนของตัวเครื่องใช้วัสดุเคลือบยาง มีความแข็งแรงแต่ไม่ยืดหยุ่น วัดขนาดตัวเครื่องได้ความสูง 133.9 มิลลิเมตร กว้าง 68.7 มิลลิเมตร หนา 9.1 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเครื่องรวมแบตเตอรี่ 139 กรัม
ตัวเครื่องด้านหน้า มีกระจก Corning Gorilla Glass 2 ปิดทับหน้าจอแสดงผล กระจกถูกออกแบบให้มีลักษณะโค้งมนบริเวณด้านบนและด้านล่างตามตัวเครื่อง ที่ขอบกระจกด้านซ้ายและด้านขวาจะโค้งลงเล็กน้อย หน้าจอแสดงผล LCD กว้าง 4.7 นิ้ว ความละเอียด WXGA 1280x768 พิกเซล (320PPI), เทคโนโลยี True HD IPS+
มีปุ่มกดแบบสัมผัสอยู่ในจอแสดงผลบริเวณด้านล่าง 3 ปุ่ม จากซ้ายไปขวาประกอบด้วย ปุ่มย้อนกลับ (Back), ปุ่มหน้าหลัก (Home), ปุ่มแอพฯ ล่าสุด (Recent Apps) เหนือหน้าจอขึ้นไป มีช่องลำโพงอยู่ที่ขอบบนบริเวณตรงกลาง เป็นส่วนเดียวของด้านหน้าที่ไม่มีกระจกปิดทับ มุมขวาบนมีช่องเลนส์กล้องหน้าความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล รองรับการถ่ายภาพนิ่งและบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงสุด HD 720p ที่มุมซ้ายบนมีเซ็นเซอร์ปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนาแนบหู (Proximity Sensor) และเซ็นเซอร์ปรับความสว่างบนหน้าจออัตโนมัติ (Light Sensor) ข้างล่างหน้าจอมีไฟแจ้งเตือน (LED notification) ซ่อนอยู่ ด้านบน มีช่องเสียบหูฟังมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร ถัดมาอีกด้านมีช่องไมโครโฟนตัวที่สองสำหรับตัดเสียงรบกวน ด้านล่างตัวเครื่อง มีรูน๊อตยึดเครื่องไว้ทั้งสองด้าน ตรงกลางมีพอร์ต microUSB ข้างขวามีช่องไมโครโฟน ด้านซ้ายตัวเครื่อง มีปุ่มปรับระดับเสียง และช่องใส่ microSIM แบบมีถาดพร้อมฝาปิด การใส่ซิมต้องใช้เข็มจิ้มเพื่อดันถาดใส่ซิมออกมา ด้านขวาตัวเครื่อง มีปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง (Power) ด้านหลังตัวเครื่อง เป็นฝาหลังที่ใช้แผ่นกระจก Gorilla Glass 2 ครอบทับตัวเครื่องเหมือนกับด้านหน้า มีลวดลายภายในเมื่อต้องแสงไฟจะเป็นประกายระยิบระยับ มุมซ้ายบนของด้านหลังมีเลนส์กล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล จัดวางอยู่ภายในแผ่นกระจกฝาหลัง ถัดลงมาข้างล่างมีไฟแฟลชพร้อมกรอบหุ้ม และฝาปิดซึ่งแยกส่วนออกมาจากแผ่นกระจกฝาหลัง ถัดลงมาอีกมีโลโก้ NEXUS สีเงินสะท้อนเงา ส่วนล่างของด้านหลังมีโลโก้ LG สีเงินเงา และช่องลำโพงเสียงอยู่ทางขวาของโลโก้ LG Nexus 4 รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2.1 Jelly Bean ครอบทับด้วยส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็น Pure Google ไม่มีแอพฯ อื่นที่นอกเหนือจากของ Google ใส่เข้ามา สามารถแบ่งหน้าการแสดงผลได้ดังนี้
หน้าล็อคสกรีน การปลดล็อคหน้าจอ ให้แตะไอคอนรูปกุญแจและลากไปหาไอคอนกุญแจคลายล็อคด้านขวา หรือลากไปแตะเส้นรัศมีวงกลม
เรียกใช้ Google Now (บัตรแจ้งเตือนอัจฉริยะ) - สไลด์ขอบล่างหน้าจอขึ้นมาด้านบน
หน้าจอหลัก มีหน้าจอหลักมาให้ใช้งาน 5 หน้า สไลด์หน้าจอไปทางซ้าย-ขวาเพื่อดูหน้าอื่น สามารถแบ่งพื้นที่การแสดงผลในหน้าจอหลักได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
- หน้าจอหลักส่วนบน มีแถบแสดงสถานะ (แถบสีดำ) แบ่งไอคอนเป็นสองส่วน ไอคอนทางซ้าย (สีขาว) เป็นไอคอนแจ้งเตือน เช่น อีเมล์ใหม่, สายที่ไม่ได้รับ, ข้อความใหม่ ส่วนไอคอนทางขวา (สีฟ้า) เป็นไอคอนแสดงสถานะการใช้งานระบบ เช่น เวลาปัจจุบัน, ระดับพลังงานแบตเตอรี่, สัญญาณโทรศัพท์, Wi-Fi, 3G เมื่อใช้นิ้ว 1 นิ้ว กวาดแถบแสดงสถานะลงมาด้านล่างจะเข้าสู่หน้าการแจ้งเตือนแบบละเอียด ภายในมีข้อมูลการแจ้งเตือน สามารถใช้นิ้วแตะบนการแจ้งเตือนนั้นเพื่อเข้าไปดูรายละเอียดเต็มๆ วิธีลบการแจ้งเตือนทำได้โดยเข้าไปดูรายละเอียดการแจ้งเตือนนั้นหนึ่งครั้ง หรือสไลด์ข้อมูลการแจ้งเตือนออกไปทางซ้าย-ขวาด้านใดด้านหนึ่ง หากต้องการลบการแจ้งเตือนทั้งหมดทำได้โดยแตะไอคอนรูปขั้นบันได
เมื่อใช้นิ้ว 2 นิ้ว กวาดแถบแสดงสถานะลงมาด้านล่างจะเข้าสู่หน้าการตั้งค่าระบบ ภายในหน้านี้มีไอคอนรูปโปรไฟล์ Google+, ปรับความสว่างหน้าจอ, การตั้งค่าระบบ, การจัดการ Wi-Fi, การจัดการเครือข่ายโทรศัพท์, สถานะแบตเตอรี่, โหมดใช้งานบนเครื่องบิน และ Bluetooth - หน้าจอหลักส่วนกลาง พื้นที่สำหรับใช้วางไอคอนและ widget ทางลัดเพื่อเข้าใช้งานอย่างรวดเร็ว สามารถวางไอคอนได้สูงสุด 4x4 แถว ปรับเปลี่ยนวอลล์เปเปอร์พื้นหลังโดยแตะบนที่ว่างในหน้าจอหลักค้างไว้ และเลือกประเภทวอลล์เปเปอร์ที่ต้องการ (แกลเลอรี่, วอลล์เปเปอร์, วอลล์เปเปอร์ภาพเคลื่อนไหว)
ลูกเล่นในการใช้งานไอคอนในหน้าจอหลัก
- หน้าจอหลักส่วนล่าง แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนล่างสุดจะเป็นปุ่มกดแบบสัมผัสที่อยู่บนหน้าจอ 3 ปุ่ม เรียงจากซ้ายไปขวาได้แก่
สามารถกวาดนิ้วจากขอบด้านล่างของหน้าจอขึ้นมาข้างบนเพื่อเรียกใช้งาน Google Now
ส่วนที่อยู่เหนือปุ่มกดขึ้นมาคือไอคอนหลัก 4 อันและไอคอนทางเข้าสู่หน้าแอพพลิเคชั่น (ไอคอนรูปหน้าลูกเต๋า) ทั้ง 5 ไอคอนจะจัดเรียงเหมือนกันทุกๆ หน้าจอหลัก ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไอคอนหลักได้เช่นเดียวกับไอคอนทั่วไป ยกเว้นไอคอนทางเข้าหน้าแอพฯ ไม่สามารถแก้ไขได้ ไอคอนหลักที่ติดตั้งมาให้ในตอนแรก ได้แก่ กล้องถ่ายรูป, Google Chrome, ข้อความ, โทรศัพท์ หน้าแอพพลิเคชั่น หน้าที่รวบรวมแอพพลิเคชั่นทั้งหมดภายในเครื่องซึ่งมีเฉพาะแอพฯ ของ Google เท่านั้น แต่ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพฯ แอนดรอยด์เพิ่มเติมภายหลังด้วยการดาวน์โหลดจาก Google Play (Play สโตร์)
การแสดงผลในหน้าแอพพลิเคชั่นจะเป็นแบบตาราง 5x5 แถว สามารถเลื่อนนิ้วบนหน้าจอไปทางซ้าย-ขวาเพื่อดูแอพฯ หรือ widget ทั้งหมดในเครื่อง
หากต้องการนำแอพฯ หรือ widget ไปวางไว้บนหน้าจอหลัก ให้แตะไอคอนแอพฯ หรือ widget ค้างไว้และลากไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ ข้อมูลทางด้านฮาร์ดแวร์ LG Nexus 4 มาพร้อมหน้าจอ LCD กว้าง 4.7 นิ้ว ความละเอียด WXGA 1280x768 พิกเซล (320PPI) เทคโนโลยี True HD IPS+, กระจกหน้าจอและกระจกฝาหลัง Corning Gorilla Glass 2, CPU quad-core Qualcomm Snapdragon S4 Pro 1.5 GHz, GPU Adreno 320, RAM 2 GB, ROM 8 GB, รองรับการเชื่อมต่อ 2G (GSM 850/900/1800/1900MHz), 3G (HSPA+ 850/900/1700/1900/2100MHz), Wi-Fi 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 3.0, GPS, NFC, แบตเตอรี่ Li-Polymer ความจุ 2100 mAh
การทดสอบความเร็ว และการแสดงผลของเครื่อง - ผลทดสอบความเร็ว Benchmark ด้วย AnTuTu Benchmark ได้ 17,212 คะแนน
ทดสอบเซนเซอร์ด้วยโปรแกรม Android Sensor Box พบเซนเซอร์ดังนี้ - Accelerometer Sensor ตรวจวัดความเร็วเชิงมุม ออกาไนเซอร์ เครื่องคิดเลข, นาฬิกา, จับเวลา, นาฬิกาปลุก, ปฏิทิน
Google Now (Google Search) เครื่องมือค้นหาที่มาพร้อมบัตรแสดงข้อมูล เช่น สภาพการจราจร, สภาพอากาศ, สถานที่ใกล้เคียง ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังสามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นการค้นหาด้วยเสียงซึ่งรองรับเสียงภาษาอังกฤษ และยังไม่รองรับเสียงภาษาไทย
Google Chrome เบราว์เซอร์สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต รองรับภาษา HTML, JavaScript มีตัวอย่างการใช้งานและเคล็ดลับสำหรับมือใหม่ สามารถเปิดชมเว็บไซต์ได้หลายๆ หน้าพร้อมกันผ่านแท็บ, ซูมเข้า-ออกหน้าจอด้วยการจีบนิ้ว, , มีระบบบันทึกเว็บเพจโปรด (Bookmark), สามารถซิงค์ข้อมูลเบราว์เซอร์ Google Chrome จากอุปกรณ์อื่นมาแสดงผลในมือถือได้
Youtube สามารถเรียกดูคลิปจากเว็บไซต์ Youtube.com ผ่านแอพฯ Youtube พร้อมมีเครื่องมือค้นหาคลิปวิดีโอต่างๆ
ในหน้าเครื่องเล่นคลิป Youtube สามารถแสดงในมุมมองแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งมีแถบเวลาที่ปรับเลื่อนได้
Google Current แอพฯ สำหรับชมเว็บไซต์ หรือบล็อคที่ชื่นชอบด้วยการนำเสนอในรูปแบบนิตยสาร
Google Earth แอพฯ สำหรับเปิดดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ทั่วโลกด้วยปลายนิ้ว สามารถสำรวจสิ่งปลูกสร้างใน 3 มิติ พร้อมทั้งภูมิประเทศ, สามารถค้นหาเมือง, สถานที่ และธุรกิจในท้องถิ่น
อีเมล์, Gmail รองรับการใช้งานอีเมล์ผ่านแอพฯ Gmail และรองรับการใช้งานอีเมล์ทั่วไปที่รองรับโปรโตคอล POP3, IMAP, SMTP
Google+, Google Messenger+ โซเชียลเน็ตเวิร์คที่นำเสนอโดย Google สามารถใช้เป็นช่องทางในการแนะนำตัว, เชื่อมโยงไปยังกลุ่มเพื่อนและครอบครัว, ติดตามคนที่น่าสนใจ, แบ่งปันเรื่องราวและทักทายกัน
Google Maps, Local, Navigator เรียกใช้งานแผนที่บนมือถือโดยสามารถดูตำแหน่งพิกัดที่อยู่ปัจจุบันของผู้ใช้, ดูรายชื่อสถานที่ใกล้เคียง, ค้นหาเส้นทางการเดินทาง สามารถดูแผนที่ในแบบ 2 มิติ และแบบมุมมองดาวเทียม
Movie Studio แอพฯ ตัดต่อวิดีโอพร้อมเอฟเฟ็กต์เบื้องต้น (ไล่ระดับสีม ซีเปียม สีตรงข้าม) และสามารถใส่เอฟเฟกต์เสียงประกอบวิดีโอได้
Play Store ช่องทางดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ทั้งหมด
Talk แอพฯ สำหรับส่งข้อความสนทนา (Instant Messaging) สามารถสนทนาในรูปแบบข้อความและวิดีโอคอลล์
Gallery แหล่งรวมไฟล์ภาพทั้งหมดในเครื่องโทรศัพท์ แสดงผลเป็นหมวดหมู่ในรูปแบบตารางพร้อมตัวอย่างภาพเรียงต่อกัน แบ่งหมวดหมู่โดยเรียงตามชื่ออัลบั้ม, สถานที่, เวลา, บุคคล, แท็ก
สามารถเลือกเข้าไปดูภาพขนาดเต็ม, จีบนิ้วเข้า-ออกบนภาพเพื่อย่อ-ขยายภาพ ในเมนูเพิ่มเติมสามารถลบ, แก้ไข, หมุน, ตัด, ตั้งค่าภาพ, ดูรายละเอียดภาพ
การแก้ไขภาพ มีลูกเล่นให้ใช้งานดังนี้
เครื่องเล่นเพลง แบ่งหมวดหมู่เพลงตาม รายการเพลง, ล่าสุด, ศิลปิน, อัลบั้ม, ชื่อเพลง, แนวเพลง บางหมวดหมู่จะแสดงผลในรูปแบบตาราง และบางหมวดหมู่ก็มีรูปหน้าปกเพลงประกอบ
ในหน้าเครื่องเล่นเพลง แสดงข้อมูลชื่อเพลง, ชื่อศิลปิน, หน้าปกเพลง, แถบเวลาเล่นที่ปรับเลื่อนได้, ปุ่มย้อนกลับ, ปุ่มเล่น-หยุดเพลง, ปุ่มข้ามเพลง, สลับเพลง, เล่นซ้ำ, ชอบ-ไม่ชอบเพลง
สามารถตั้งค่าอีควอไลเซอร์ในเมนูเพิ่มเติม โดยมีโหมดอีควอไลเซอร์ให้เลือก (Normal, Classical, Dance, Flat, Folk, Folk, Heavy Metal, Hip Hop, Jazz, Pop, Rock, FX Booster, ผู้ใช้กำหนดเอง)
เครื่องเล่นวิดีโอ รองรับไฟล์วิดีโอ MPEG4/H.263/H.264 สามารถเรียกใช้เครื่องเล่นวิดีโอผ่านแอพฯ Gallery โดยจะมีเครื่องหมายสามเหลี่ยม (Play) กำกับอยู่ ในหน้าเครื่องเล่นวิดีโอจะแสดงข้อมูลภาพวิดีโอโดยสามารถแตะบนภาพเพื่อเล่น-หยุด, มีปุ่มแชร์วิดีโอผ่าน Bluetooth, Picasa, Youtube และอื่นๆ, มีแถบเวลาเล่นที่สามารถปรับเลื่อนได้, ปรับความละเอียดพอดีหน้าจออัตโนมัติในแนวตั้งและแนวนอน
กล้องถ่ายรูป LG Nexus 4 มาพร้อมกล้องถ่ายรูปความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ออโต้โฟกัสพร้อมไฟแฟลช และรองรับทัชโฟกัส มีกล้องหน้าความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล การใช้งานโหมดกล้องถ่ายรูปจะมีส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นการใช้งานผ่านทัชสกรีน หากผู้ใช้แตะบนหน้าจอหนึ่งครั้งจะเป็นการโฟกัสไปที่จุดๆ นั้น (touch focus) สามารถเรียกเมนูหรือปรับตั้งค่าต่างๆ โดยการแตะบนหน้าจอและเลื่อนนิ้วไปรอบๆ ทิศทาง หรือหากต้องการซูมก็ใช้นิ้วมือจีบเข้า-ออกบนหน้าจอ Photo Sphere โหมดบันทึกภาพถ่ายรอบทิศทาง 360 องศา คล้ายกับทรงกลม ช่วยให้เก็บรายละเอียดที่อยู่รอบตัวมาไว้ในภาพเดียว ใช้วิธีการบันทึกภาพทีละจุดในรอบๆ ตัวผู้ใช้และผสานรวมเป็นภาพเดียวกัน สามารถแชร์ภาพที่ได้จากฟังก์ชั่น Photo Sphere ไปยัง Google+ และ Google Map ตัวอย่างภาพถ่ายในบางมุม (ไม่ครบ 360 องศา) ด้วยฟังก์ฺชั่น Photo Sphere คุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่ง
คุณสมบัติในการบันทึกวิดีโอ
ข้อมูลผู้ใช้ ร่วมแสดงความเห็นกับ LG Nexus 4 แคตตาล็อกตัวเครื่อง : http://www.siamphone.com/spec/lg/nexus_4.htm
|
Siamphone Dot Com : Mobilephone Catalog Online (Thailand) © Copyright 2001-2008, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 [ ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว ] หมายเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7100703000240 Website & Phone Review : webmaster @ siamphone.com , Magazine : supreecha @ mobilemag.in.th For Information & Sponsor Ads : information @ siamphone.com |