หน้าหลัก รีวิวมือถือ - รีวิวโทรศัพท์
TWZ K2 ออกแบบมาในรูปทรง Candy-bar ดีไซน์โค้งมน ตัวเครื่องใช้สีดำสลับกับสีบรอนซ์เงิน มีขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะสมกับเด็ก ที่จะใช้สนทนาได้อย่างพอดี ด้านหน้า - ลำโพงสนทนาติดตั้งอยู่ส่วนบนสุด ถัดลงมาเป็นจอแสดงผล ขาว/ดำ เมื่อเปิดเครื่องใช้งานจะแสดงระดับสัญญาณโทรศัพท์, สถานะแบตเตอรี่, สัญลักษณ์การใช้งานเครื่อง, ชื่อเครือข่าย, วันที่ และ เวลา
ปุ่มควบคุม 5 ทิศทาง แบบก้านควบคุม (Joystick) มีไฟพื้นหลังสีฟ้า ใช้เป็นปุ่มทางลัดเข้าเมนูต่างๆ ได้รวดเร็ว (โยกขึ้นจะเข้าสู่เมนูข้อความ, โยกลงเข้าสู่สมุดโทรศัพท์, โยกซ้ายดูสถานะดาวเทียม GPS, โยกขวาเข้าสู่หน้าจอการโทรออก และ กดลงไปตรงๆ เพื่อเปิดเมนูหลัก) ข้างปุ่มควบคุมทิศทาง มีปุ่มโทรออกกับปุ่มวางสาย ซึ่งทำหน้าที่คล้ายปุ่มซอฟต์คีย์ไปด้วยในตัว อีกทั้งปุ่มวางสายยังใช้เปิดหรือปิดเครื่องด้วย ส่วนไมโครโฟนสำหรับสนทนา ติดตั้งอยู่ใต้ปุ่มควบคุมทิศทาง ด้านหลัง - มีลำโพงเสียงติดตั้งอยู่ส่วนบนสุด จะเห็นเป็นช่องตะแกรงเล็กๆ 2 ช่อง ถัดลงมาเป็นฝาหลัง ถอดออกโดยการเลื่อนลงทางด้านล่าง ภายในมีช่องวางแบตเตอรี่ วางทับช่องเสียบซิมการ์ด
ด้านบน - มีช่องร้อยสายคล้องคอ ด้านล่าง - มีช่องเสียบชุดหูฟัง กับ ช่องเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่
ด้านข้าง - ทั้ง 2 ข้างมีปุ่ม SOS เหมือนกัน เพราะเวลาใช้งานให้กดทั้ง 2 ปุ่มพร้อมกัน โดยกดค้างไว้ประมาณ 2 วินาที เพื่อส่งข้อความฉุกเฉิน
การโทรออก และ รับสาย การโทรออกไปยังหมายเลขที่ไม่ได้บันทึกไว้ในสมุดโทรศัพท์ ให้โยกปุ่มควบคุมทิศทางไปด้านขวามือ จอแสดงผลจะขึ้นตัวเลข 0 ถึง 9 รวมไปถึง *, # และ + ใช้ปุ่มควบคุมทิศทางเลื่อนไปยังตัวเลขที่ต้องการ และกดลงไปตรงๆ เพื่อเลือกเลขนั้น เสร็จแล้วกดปุ่มโทรออก ส่วนการรับสายทำได้สะดวกเหมือนโทรศัพท์มือถือทั่วไป คือ เมื่อมีสายเรียกเข้า ให้กดปุ่มรับสาย (หูฟังสีแดง) ได้ทันที
สมุดโทรศัพท์ บันทึกรายชื่อเก็บไว้ในตัวเครื่องได้ 50 รายชื่อ วิธีการเพิ่มรายชื่อทำได้ 2 วิธี อย่างแรกเลยคือการส่งคำสั่งผ่านข้อความ SMS จากโทรศัพท์มือถือเครื่องหลัก มายังตัวเครื่อง TWZ K2 อีกวิธีหนึ่งที่น่าจะสะดวกที่สุด คือการคัดลอกรายชื่อในซิมการ์ด มาเก็บไว้ในตัวเครื่อง เมื่อทำการคัดลอกรายชื่อเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปที่เมนู Phonebook จะพบกับรายชื่อทั้งหมด เลื่อนดูรายชื่อโดยการโยกปุ่มควบคุมทิศทาง ไปทางซ้ายหรือทางขวา และโทรออกด้วยปุ่มหูโทรศัพท์สีเขียว
การโทรออกฉุกเฉิน เจ้าของเครื่องควรตั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญไว้ 3 หมายเลขในเมนู Restriction Settings จากนั้นใส่รหัสป้องกันเครื่อง (ตัวเลข 4 หลัก) เข้าี่เมนู Emergency call และกำหนดหมายเลขโทรศัพท์ได้ 3 หมายเลข เมื่อผู้ใช้มีเหตุฉุกเฉิน สามารถกดปุ่ม SOS ทั้ง 2 ปุ่ม ที่ด้านข้างของตัวเครื่อง โดยกดค้างไว้พร้อมกันจนเครื่องสั่น โทรศัพท์ก็จะส่งข้อความขอความช่วยเหลือ ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ ที่ได้บันทึกไว้ใน Emergency call
จำกัดการโทรเข้า และ โทรออก TWZ K2 ออกแบบมาสำหรับเด็กเล็ก ผู้ปกครองหรือเจ้าของเครื่องควรตั้งค่า Restriced Caller เพื่อป้องกันการโทรเข้าของคนแปลกหน้า จึงควรกำหนดไว้เป็น From phonebook คือสามารถโทรเข้าได้เฉพาะหมายเลขที่อยู่ในสมุดโทรศัพท์เท่านั้น
วิธีจำกัดการโทรออกก็เช่นกัน ตั้งค่าได้ที่ Call Blocker เพื่อป้องกันการโทรออกไปยังหมายเลขโทรศัพท์อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่้ในสมุดโทรศัพท์
ระบบป้องกันการพลัดหลง ในวันหยุดหากคุณพาลูกไปเที่ยว ก็วางใจได้ด้วยระบบ GPS Geofence ที่สามารถป้องกันการพลัดหลงได้เป้นอย่าง โดยให้บุตรหลานพก TWZ K2 ติดตัวไปด้วยเสมอ และเปิดใช้งาน GPS Geofence โดยกำหนดระยะห่างได้ตั้งแต่ 100 เมตร ไปจนถึง 2 กิโลเมตร ระบบนี้จะทำหน้าที่ ตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวเครื่อง TWZ K2 กับเครื่องหลัก หากบุตรหลานคุณเกิดพลัดหลง หรืออยู่ห่างจากคุณตามระยะที่กำหนด ตัวเครื่องจะส่งข้อความกลับมายังเครื่องหลัก เพื่อแจ้งให้ทราบถึงพิกัดทันที
Review on 11 November 2008 |
Siamphone Dot Com : Mobilephone Catalog Online (Thailand) © Copyright 2001-2008, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 [ ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว ] หมายเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7100703000240 Website & Phone Review : webmaster @ siamphone.com , Magazine : supreecha @ mobilemag.in.th For Information & Sponsor Ads : information @ siamphone.com |